ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประยูร ภมรมนตรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
}}
 
'''รองอำมาตย์เอก พลโท ประยูร ภมรมนตรี''' เป็นหนึ่งใน[[คณะราษฎร|คณะผู้ก่อ]][[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] ฝ่ายพลเรือน อดีต[[รายนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทย|รัฐมนตรีว่าการ]][[กระทรวงสาธารณสุข]] และอดีต[[รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย|รัฐมนตรีว่าการ]][[กระทรวงศึกษาธิการ]] เป็นบุตรของ พันตรี แย้ม ภมรมนตรี ทูตทหารประจำ[[จักรวรรดิเยอรมัน]] กับมารดาที่เป็น[[ชาวเยอรมัน]] ซึ่งเป็นครูสอนภาษาเยอรมันให้กับนักเรียนในจักรวรรดิเยอรมันขณะนั้น<ref name="สองฝั่ง">''2475: สองฝั่งประชาธิปไตย'' , [[สารคดี]]: [[ทีวีไทย]] [[วันพฤหัสบดี|พฤหัสบดี]]ที่ [[26 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2555]]</ref> ชื่อ แพทย์หญิงแอนเนลี ไฟร์<ref>Hello Mukdahan. ''[http://www.hellomukdahan.com/district/sarit-thanarat-history-03.php ประวัติจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์].'' เรียกดูเมื่อ 9 เมษายน 2556</ref>
 
พลโทประยูร ภมรมนตรี เป็นผู้เสนอจัดตั้งโรงแรมขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความเจริญของกรุงเทพมหานคร หลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เมื่อปี พ.ศ. 2496 และได้จดทะเบียนเป็นบริษัทของรัฐบาลไทย คือ [[บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด]] หรือ '''"โรงแรมเอราวัณ"'''<ref>[http://www.sahathaihotel.com/เกี่ยวกับบริษัท/ประวัติบริษัท.html ประวัติบริษัท]</ref>
บรรทัด 57:
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น พลโทประยูร ได้เข้าร่วมด้วย ด้วยถือเป็นคณะราษฎรสายพลเรือน โดยถือเป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองคู่กับ[[หลวงประดิษฐมนูธรรม]] หรือนายปรีดี พนมยงค์ เนื่องจากไปศึกษายัง ณ [[ประเทศฝรั่งเศส]]เหมือนกัน จึงถือได้ว่าเป็นคณะราษฎรคู่แรกก็ว่าได้<ref>หน้า 15, ''อำนาจ ๒'' โดย [[รุ่งมณี เมฆโสภณ]] ([[กรุงเทพมหานคร]], [[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2555]]) ISBN 978-616-536-070-1</ref>
 
ในระหว่างที่คณะราษฎรทั้งหมดได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย และพลโทประยูร ยังได้เป็นผู้ที่ชักชวนและเชื่อมนายทหารชั้นผู้ใหญ่และบุคคลอื่น ๆ ให้มาเข้าร่วมด้วยกับคณะราษฎร<ref name="สองฝั่ง"/> และเมื่อมีการวางแผนการปฏิวัติ ทั้งหมดก็ได้หารือแผนการทั้งหมดที่บ้านพักของ พลโทประยูรบ้าง และบ้านพักของ[[พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)|พระยาทรงสุรเดช]]บ้าง สลับกันไป โดยในเช้าวันที่ทำการเปลี่ยนแปลงนั้น พลโทประยูรรับหน้าที่ตัดสาย[[โทรศัพท์]]และสาย[[โทรเลข]] ที่สำนักงานใหญ่กรมไปรษณีย์โทรเลข เชิง[[สะพานพระพุทธยอดฟ้า]] ฝั่งพระนคร โดยปฏิบัติการคู่กับ[[หลวงโกวิทอภัยวงศ์]] หรือนายควง อภัยวงศ์ ในฐานะที่ทั้งคู่รับราชการใน[[กรมไปรษณีย์โทรเลข]] จึงถือเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยเริ่มกันตั้งแต่เวลา 04.00 น. และต้องให้เสร็จทันในเวลา 05.00 น. ท่ามกลางการคุ้มครองของทหารเรือและพลเรือนกลุ่มหนึ่งของคณะราษฎรราว 10 คนเท่านั้น<ref>[http://www.dailynews.co.th/article/349/120815 24 มิถุนายน (3), คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดย [[นรนิติ เศรษฐบุตร]] จาก[[เดลินิวส์]]]</ref> และจากนั้น พลโทประยูร ยังเป็นผู้ทำการควบคุมองค์ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] จาก[[วังบางขุนพรหม]]ในฐานะองค์ประกัน ให้เข้าประทับยัง[[พระที่นั่งอนันตสมาคม]]ด้วย ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงมีปฏิสันธานบางประการกับ พลโทประยูรด้วยถึงการกระทำในครั้งนี้ <ref>[http://www.ryt9.com/s/bmnd/1303850 คอลัมน์: เรื่องเด่นประเด็นร้อน: บทเรียน24 มิถุนายน 2475 จาก[[บ้านเมือง]]]</ref>
 
จากนั้น พลโทประยูร ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น[[รายนามรัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง|คณะกรรมการราษฎร]]และยังได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ในเวลาต่อมาอีกหลายกระทรวงด้วยกัน