ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผ่นเสียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
แรกสุดเป็นกระบอกอัดเสียงเคลือบ[[ขี้ผึ้ง]]แบบ[[เอดิสัน]] ซึ่งในเมืองไทย (สยาม) ใช้บันทึก[[เพลงไทยเดิม]] ตั้งแต่ราวปลายรัชกาลที่ 4 ต่อมาเริ่มมีการบันทึกเสียงลง '''''แผ่น[[ครั่ง]]''''' ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่เป็นเพลงเรื่องบรรเลงด้วย[[วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์]] ที่กำลังได้รับความนิยมในสมัยนั้น <ref>ประวัติแผ่นเสียงในประเทศไทย ,เว็บไซด์ วปถ.3 ,จ.นครราชสีมา</ref> ซึ่งมักไม่จบในหน้าเดียว จึงต้องบันทึกต่อกันเป็นชุดหลายแผ่น
 
โดยทั่วไปมีขนาด 10-12 นิ้ว สปีด 78 รอบ/นาที บันทึกและเล่นกลับได้หน้าละไม่เกิน 3-5 นาที เนื่องจากมีลักษณะค่อนข้างหนาและหนัก ตกแตกง่ายอย่างจานกระเบื้อง บางทีจึงมักเรียกกันว่า จานเสียง คุณภาพเสียงออกทางแหลมแตกพร่ารวมทั้งรบกวนจากหัวเข็มโลหะที่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อย
 
แผ่นครั่งในเมืองไทย เช่น ''ปาเต๊ะ ,อาร์ซีเอ วิคเตอร์ (ที่เรียกติดปากว่า ตราหมาหน้าเหลือง,เขียว หรือ แดง ตามป้าย ) ,พาร์โลโฟน ,โคลัมเบีย ,เดคก้า ,บรันซวิค ,แคปิตอล ,ฟิลิปส์ ,เอ็มจีเอ็ม ,เทพดุริยางค์ ,โอเดียน ,ศรีกรุง ,กระต่าย ,อัศวิน ,สุนทราภรณ์ ,มงกุฏ ,เทพนคร ,นางกวัก ,กระทิง ,นาคราช ,กรมศิลปากร'' แผ่นที่ใช้เฉพาะในสถานี เช่น ''[[กรมโฆษณาการ]] (แผ่นดิบ ) หรือจำหน่ายบางโอกาส เช่น เนรมิตภาพยนตร์ ฯลฯ''