ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ชื่อไฟล์สระอำแยกกัน
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
เอาแต่เนื้อ
บรรทัด 1:
{{รายการต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธํารง.jpg‎|thumb|เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)]]
 
'''เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง''' หรือชื่อจริงว่า '''เพ็ง เพ็ญกุล''' เป็นข้าราชการชาวไทย มีชื่อเสียงจากการเป็นต้นสกุล "เพ็ญกุล" การตั้งโรงละครอย่างตะวันตกโดยใช้ชื่อว่า ''ปรินซ์เธียร์เตอร์ (Prince Theatre)'' และการริเริ่มแสดงละครโดยเก็บค่าชม
'''เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ''' ท่านเป็นต้นราชินิกุล "เพ็ญกุล" เป็นคนโปรดใน [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งท่านมีความสามารถ ทางด้านการละคร โดยเป็นผู้ริเริ่มการแสดงละคร แบบเก็บเงิน หรือตีตั๋วเป็นครั้งแรก และตั้งชื่อโรงละคร แบบฝรั่งว่า "Prince Theatre" รวมทั้งละครของท่าน ยังก่อให้เกิดคำว่า "วิก" อีกด้วย
 
เพ็งชื่อเดิมว่า วันเพ็ง เพราะเกิดในวันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนหก เพ็งเป็นบุตรของหลวงจินดาพิจิตร (ด้วง) ศิษย์ร่วมสำนักกับ[[เจ้าฟ้ามงกุฎ]]ที่อารามสมเด็จพุฒาจารย์ (ขุน) เพ็งมีพี่น้องอีกสี่คน ตนเองเป็นคนสุดท้อง ต่อมา เจ้าฟ้ามงกุฎทรงขอรับไปเลี้ยงและทรงออกนามว่า "พ่อเพ็ง" ครั้นเสด็จทรงราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎแล้ว โปรดให้เพ็งเป็นหัวหมื่นมหาดเล็กที่ตำแหน่งเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เดิมชื่อ วันเพ็ง หรือวันเพ็ญ เนื่องจากท่านเกิด ในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 โดยต่อมาเรียกกันเพียงสั้น ๆ ว่า "เพ็ง" เป็นบุตรของหลวงจินดาพิจิตร (ด้วง) เมื่อ ครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงเป็น เจ้าฟ้ามงกุฏ เสด็จไปศึกษา ในสำนักพระพุฒาจารย์ (ขุน) ซึ่งนายด้วง (หลวงจินดาพิจิตร) บวชเป็นสามเณรอยู่ สมเด็จพุฒาจารย์ (ขุน) จึงมอบหมายให้สามเณรด้วง ถวายการดูแล เจ้าฟ้ามงกุฏ จนเกิดความสนิทสนมกัน
ต่อ มา นายด้วงลาอุปสมบท ไปมีภรรยา และเข้ารับราชการ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็น หลวงจินดาพิจิตร มีบุตรธิดา 5 คน คนสุดท้ายคือ "วันเพ็ง" เมื่อหลวงจินดาพิจิตร มีโอกาสเข้าเฝ้า เจ้าฟ้ามงกุฏ เด็กชายเพ็งจึงตามไปด้วย ทรงทอดพระเนตรเห็น จึงออกพระโอษฐ์ ขอเด็กชายเพ็งวัย 13 ปี จาก[[หลวงจินดาพิจิตร]] เพื่อรับเลี้ยง เป็นบุตรบุญธรรม โดยทรงเรียก "พ่อเพ็ง" เรื่อยมา เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พ่อเพ็งเป็น "เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี" หัวหมื่นมหาดเล็ก
 
ต่อมาภายหลังทำ[[สนธิสัญญาเบาว์ริง]]แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎโปรดให้มีคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรียังสหราชอาณาจักร ทรงตั้ง[[พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)]] เป็นราชทูต และเจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นอุปทูต เมื่อกลับคืนมายังกรุงเทพมหานครแล้ว จึงโปรดเลื่อนเจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นพระบุรุษรัตนราชวัลลภ ในคราวที่พระองค์ประชวรใกล้จะสิ้นนั้น พระบุรุษรัตนราชวัลลภก็ได้เฝ้าดูพระราชหฤทัยด้วย
เนื่อง จาก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงล่าอาณานิคม ของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งอังกฤษ ได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2398 โดยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระ บรมราชินี ได้อัญเชิญพระสาส์น และเครื่องราชบรรณาการ มาถวาย แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังมีการลงนามร่วมกัน ใน "[[สนธิสัญญาบาวริ่ง]]" อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2400 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นราชทูต และเจ้าหมื่นสรรเพชรภักดี เป็นอุปทูต นำพระราชสานส์ และคุมเครื่องบรรณาการ ออกไปเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศอังกฤษ ภายหลังจากเสร็จกิจ ในฐานะอุปทูต เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "พระบุรุษรัตนราชวัลลภ"
 
ครั้น[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์]]เสวยราชย์เป็นรัชกาลถัดมา ก็โปรดให้พระบุรุษรัตนราชวัลลภเป็นสมุหพระสุรัสวดีที่บรรดาศักดิ์พระยาราชสุภาวดี และใน พ.ศ. 2417 ก็พระราชทานบรรดาศักดิ์เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง สกูลวงศ์อรเอกดิเรกยศ มธุรพจนสุนทรธรรมยุติยานุวัติ บุรุษรัตนทุวาธิราชนิกรวรยุคลบาท บรมนาถสวามิภักดิสนิท วิสิฐคุณศรีรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ มีสถานะเทียบเท่าสมุหนายก แต่ว่าการกรมพระสุรัสวดีอย่างเดิม
ต่อมารัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี เป็น "พระยาราชสุภาวดี สมุหพระสุรัสวดี"
เนื่อง จากในสมัยนั้น ระบบไพร่มีความซับซ้อนมาก ไพร่จะต้องสังกัด กับมูลนาย ทำให้ไม่สามารถ ย้ายถิ่นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพได้ และนำไปสู่ปัญหาอื่น เช่น ในเวลาที่บ้านเมืองถูกคุกคาม จากจักรวรรดินิยม ไพร่อาจขอขึ้นทะเบียนสังกัด เป็นคนในบังคับต่างชาติได้
ด้วย เหตุนี้ พระองค์จึงทรงดำริให้ ไพร่มีหน้าที่ ต่อราชการ เท่าเทียมกัน โดยให้มีการแลกตัวเลก ซึ่งจะให้มีฐานะเสมอกัน (ตัวเลกหมายถึงไพร่) โดยขณะนั้น พระยาราชสุภาวดี สมุหพระสุรัสวดี ทำหน้าที่ ดูแลกรมพระสุรัสวดี ซึ่งเป็นเพียงกรมเล็ก ๆ ที่มีหน้าที่สักเลก ในเขตความรับผิดชอบเท่านั้น (งานสักเลก เป็นงานหลัก ของกรมมหาดไทย, กรมพระกลาโหม และกรมท่า) ในปี พ.ศ. 2417 จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีเป็น "เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง สกูลวงศ์อรเอกดิเรกยศ มธุรพจนสุนทรธรรมยุติยานุวัติ บุรุษรัตนทุวาธิราชนิกรวรยุคลบาท บรมนาถสวามิภักดิสนิท วิสิฐคุณศรีรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ" เท่าเทียมกับ[[สมุหนายก]] [[สมุหพระกลาโหม]] และกรมท่า เพื่อให้มีอำนาจ ในการจัดระเบียบ การควบคุมกำลังคน และการสักเลกมากกว่าเดิม รวมทั้งการเกณฑ์ไพร่ มาทำราชการ ในกรณีพิเศษ เช่น การปราบปรามโจรผู้ร้าย การปราบกบฏ เป็นต้น
 
{{โครงชีวประวัติ}}
'''นิราศหนองคาย'''
 
[[ไฟล์:นิราศหนองคาย.jpg‎]] [[ไฟล์:ยกทัพปราบฮ่อ.jpg]]
กองทัพที่เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นแม่ทัพ ยกกำลังจากกรุงเทพ ฯ ไปยังหนองคาย
 
นิราศหนองคายเป็นวรรณกรรมยุคต้นรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ.2418 บันทึกประวัติศาสตร์การยกทัพ
การเกณฑ์ทัพ การพักพล รวมทั้งเส้นทางระหว่างเดินทัพจากกรุงเทพ เพือปราบการชุมนุม ของพวกฮ่อ
(ชาวจีนอพยพ เข้ามาทำมาหากิน ในภาคเหนือ ของประเทศไทย) ที่ทุ่งเชียงคำ เพื่อหมายจะตีเมืองหลวงพระบาง
ทางการ จึงจัดกำลังเข้าปราบปราม โดยแบ่งเป็น 4 กอง ซึ่งหนึ่งในนั้น มีกองทัพของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)
เป็นแม่ทัพ และยกกำลัง มาจากกรุงเทพฯ ไปหนองคาย โดยสามารถ ปราบปราม[[พวกฮ่อ]] ให้ล่าถอยไปได้
 
'''การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว'''
 
พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2394 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน จุลศักราช 1213 พระชนมายุขณะเมื่อขึ้นครองราชย์ 47 พรรษา และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ตรงกับเดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 1230 ขณะพระชนมายุ 64 พรรษา สิริรวมเวลาเสวยราชย์ 17 ปี 5 เดือน 29 วัน
 
พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระสุขภาพพลานามัยดียิ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระอาการป่วยและเป็นผลให้เสด็จสวรรคตเกิดจากไข้ป่าที่ทรงไปติดเชื้อมา ในช่วงเดือนที่เสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ ได้ 5 วัน ทรงประชวรไข้จับ
 
เรื่อง เกี่ยวกับการประชวรและสวรรคตของพระองค์ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เขียนเล่าไว้ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มประชวรเป็นไข้ ทรงสะบัดร้อนสะบัดหนาว เป็นคราว ๆ พระเสโท (เหงื่อ) ซึมซาบมากกว่าที่เคยทรงพระประชวรไข้ในครั้งก่อน ๆ ได้เสวยพระโอสถเพื่อแก้พระอาการก็ไม่ดีขึ้น จับสั่นไปทั้งพระกายาในเวลากลางคืน ทรงกระหายน้ำและเสวยพระยาหารไม่ลง หลังจากนั้นพระอาการแปรไปทางอุจจาระธาตุ พระบังคนตกเป็นพระโลหิตลิ่ม เหลว ไปพระบังคนครั้งใดก็มีพระโลหิตเจืออยู่ทุก ๆ ครั้ง (วิบูล วิจิตรวาทการ 2544 : 293)
 
จากบันทึกของหมอบลัดเล ที่ตีพิมพ์ในหนังสือ Siam Then (บทแปลภาษาไทยโดย มงคล เดชนครินทร์) บันทึกไว้ว่า “ในวันที่ 29 สิงหาคม 2411 ข้าพเจ้าได้รับหมายรับสั่งเรียกตัวให้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับ นายแพทย์วิลเลี่ยม แคมป์เบลล์ (Dr. William Campbell) ซึ่งเป็นแพทย์ประจำสถานกงสุลอังกฤษ เมื่อเราทั้งสองเข้าเฝ้าก็ได้พบว่าพระองค์บรรทมอยู่และไม่ทรงประสงค์ให้ผู้ ใดรบกวน เราถึงถอยออกมาและได้รับการขอร้องให้ถวายการรักษาพยาบาลแก่เจ้าฟ้า จุฬาลงกรณ์ ซึ่งประชวรด้วยพระอาการไข้มาหลายวันแล้ว ข้าพเจ้าและนายแพทย์แคมป์เบลล์ได้ตรวจดูพระอาการแล้วก็พบว่าทรงมีไข้อย่าง อ่อน และพระองค์เองก็ไม่ทรงรู้สึกว่าจำเป็นต้องรับการพยาบาลตามที่เราได้กราบทูล เสนอแนะ อย่างไรก็ตาม พระอาการประชวรของพระเจ้าอยู่หัวดูจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าพระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายแพทย์แคมป์เบลล์และข้าพเจ้ากราบบังคมทูลถวายคำแนะนำ เพื่อรักษาพยาบาลก็ตาม ที่จริงแล้วพระองค์ทรงมั่นพระทัยในวิชาการของพระองค์เองมากกว่า ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2411 ข้าพเจ้าได้เข้าไปหาท่านสมุหกลาโหมเพื่อขออนุญาตเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว ท่านได้ให้คำตอบในเชิงปฏิเสธแก่ข้าพเจ้า แต่รับว่าจะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบว่า ข้าพเจ้ามาที่พระตำหนักและปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะขอเฝ้าอีกครั้งหนึ่ง ท่านสมุหกลาโหมได้นัดให้ข้าพเจ้าไปพบท่านที่ท้องพระโรง และบอกแก่ข้าพเจ้าว่าท่านได้กราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวถึงเรื่องที่ ข้าพเจ้าขอเข้าเฝ้าแล้ว ในระหว่างนั้นได้มีพนักงานมา กราบเรียนท่านสมุหกลาโหมว่า พระเจ้าอยู่หัวยังประชวรรุนแรงอยู่ และมีพระราชประสงค์ให้ข้าพเจ้ารออยู่ก่อน ข้าพเจ้าจึงได้รออยู่ และในระหว่างนั้นก็ได้สนทนาซักถามพระอาการโดยละเอียดจากหมอหลวงที่ได้เข้าไป ถวายการรักษาอย่างสม่ำเสมอ หมอหลวงบอกข้าพเจ้าว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงลุกขึ้นประทับนั่งไม่ได้ และพระอาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ยังคงมีพระสติสัมปชัญญะดีอยู่ หลังจากที่ข้าพเจ้าได้รออยู่นานกว่า 1 ชั่วโมง ท่านสมุหกลาโหมก็มาบอกแก่ข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าไม่ได้เสียแล้ว ” (มงคล เดชนครินทร์ 2547 : 31)
 
พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่า การประชวรครั้งนี้เห็นจะเป็นที่สุดของพระชนมายุสังขาร จึงทรงพยายามจัดการเรื่องต่าง ๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะสวรรคต พระมหากษัตริย์นั้นเวลาจะเสด็จสวรรคตทรงมีความห่วงใย อยู่ 2 ประการ
 
1. ความสงบปลอดภัยของบ้านเมือง เพราะพระเจ้าแผ่นดินเป็นมันสมองและหัวใจของประเทศชาติ เมื่อสิ้นพระมหากษัตริย์ ความโกลาหล แย่งชิงราชสมบัติในพระราชวงศ์หรือขุนนางที่มีอำนาจจะเกิดขึ้น
2. พระโอรสธิดาและพระราชวงศ์ทั้งหลาย เมื่อสิ้นบุญพระเจ้าแผ่นดิน (พระราชบิดา) อาจมีผู้อื่นมาแย่งชิงอำนาจ ฆ่าล้างลูกหลานหมดทั้งโคตร เพื่อจะได้ไม่เป็นอันตรายต่อกษัตริย์พระองค์ใหม่
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน พระองค์ทรงทราบดีว่า ข้าราชการที่มีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้นคือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ พระองค์จึงส่งพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ที่เฝ้าพยาบาลอยู่ไปบอกแก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ความว่า
“ข้าให้เรียนคุณศรีสุริยวงศ์ ข้าเป็นคนลูกมากรากดก แล้วลูกก็ยังเล็กเด็กอยู่ ไหน ๆ คุณศรีสุริยวงศ์ก็ได้อุปถัมภ์บำรุงข้ามา ถ้าข้าไม่มีตัวแล้ว ขอให้คุณศรีสุริยวงศ์อุปถัมภ์บำรุงลูกข้าเหมือนอย่างตัวข้า ขออย่าให้มีภัยอันตรายเป็นที่กีดขวางด้วยการแผ่นดิน ถ้าจะมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ” (วิบูล วิจิตรวาทการ 2544 : 298-299)
 
เจ้าคุณศรีสุริยวงศ์จึงกราบทูลว่า ท่านได้สั่งให้ทหารล้อมวงตั้งกองรักษาพระบรมมหาราชวังและพระตำหนักสวนกุหลาบ (เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบ) เรียบร้อยแล้ว โดยมีพระยาฤทธิไกรและพนักงานกรมพระตำรวจนอกซ้ายขวา รวมทั้งทหารอย่างยุโรปประจำหน้าที่ทุกแห่งไป พระองค์จึงทรงดำรัสให้เจ้าหญิงโสมาวดี แจ้งแก่ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ว่า การจะเลือกพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ขอให้เอาความมั่นคงของประเทศเป็นจุดสำคัญ พระองค์มิได้ตั้งพระทัยให้โอรสองค์ใหญ่มีสิทธิ์เป็นรัชทายาทแต่ผู้เดียว กษัตริย์ต่อไปจะเป็นพระน้องยาเธอหรือพระหลานเธอก็ได้ เพราะเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ยังทรงพระเยาว์นัก จะบังคับบัญชาราชการเมืองได้หรือ ขอให้คิดปรึกษาประชุมกันให้ดี พระองค์มีความปรารถนาเดียวคือ ต้องการให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขต่อไปเท่านั้น จากนั้นพระองค์ทรงให้พระศรีสุนทรโวหารเขียนกระแสรับสั่งของพระองค์เป็นลาย ลักษณ์อักษรว่า “ผู้ซึ่งจะครองราชสมบัติต่อไปนั้น ขอให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากัน แล้วแต่จะเห็นว่าเจ้านายพระองค์ใด จะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอก็ดี พระเจ้าลูกยาเธอก็ดี พระเจ้าหลานเธอก็ดี เมื่อเห็นพร้อมกันว่าองค์ใดจะปกครองแผ่นดินได้ ก็ให้ถวายราชสมบัติแก่พระองค์นั้น” ข้อความดังกล่าวนี้ รับสั่งให้อ่านต่อหน้าที่ประชุมเสนาบดี
 
หลัง จากนั้นจึงพระราชทานสิ่งของสำคัญบางอย่างให้แก่พระราชวงศ์ที่ใกล้ชิด ทรงให้ตลับทองคำลงยาใส่ทองคำบางตะพานหนัก 5 ตำลึง สำหรับลงยันต์ด้วยพระดินสอเพชรกับนาฬิกาใหญ่มีเข็มดูวันเดือนปีทุ่มโมง พระปทุมทำด้วยศิลาแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหามาลากรมขุนบำราช ปรปักษ์ และพระราชทานนาฬิกาใหญ่มีแก้วเลี่ยมครอบ มีเข็มดูวันเดือนปี มีปรอทดูร้อนดูหนาว ให้แก่กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ส่วนพระเจ้าลูกยาเธอที่ยังไม่มีวัง พระราชทานเงินองค์ละ 30 ชั่งทุกพระองค์จะได้สร้างวังได้ ทรงพระราชทานพระหีบทำด้วยงากรอบทองคำประดับเพชรทับทิมมรกต ราคา 200 ชั่งใส่เงินอีก 1000 ชั่งแก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ในบันทึกของหมอบลัดเล กล่าวถึง การพระราชทานของที่ระลึกอันมีค่าแก่พระราชวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่เช่นกัน
ต่อ มาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เจ้าพนักงานนำพระธำมรงค์และพระประคำเครื่องไปมอบให้แก่เจ้าพระยาศรีสุริย วงศ์ พระประคำนี้เป็นสมบัติมาแต่สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นของศักดิ์สิทธิ์ซึ่งผู้ครองแผ่นดินเท่านั้นจะเก็บไว้ได้ การมอบพระประคำเครื่องให้แก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์นี้เป็นการให้เกียรติ และเชื่อพระทัยในความจงรักภักดี เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงนำพระธำมรงค์และพระประคำไปถวายแก่สมเด็จพระเจ้าลูก ยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
 
ในวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ เวลาบ่าย 3 โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้พระราชโกษา กรมพระภูษามาลาเข้าเฝ้า เพื่อสั่งเสียเรื่องการแต่งพระองค์และพิธีต่าง ๆ ทรงแสดงความประสงค์ให้เลือกเครื่องประดับที่เป็นของส่วนพระองค์ ให้แจกส่วนสำคัญของพระกายาต่อพระโอรสธิดา ทรงตรัสแก่พระราชโกษาความว่า
 
“... เมื่อข้าไม่มีตัวตนแล้ว เจ้าจะทำในสรีรร่างกายของข้า สิ่งใดไม่เป็นที่ชอบใจอยู่แต่ก่อน ขออย่าได้ทำ เป็นต้นว่า แหวนที่ใส่ปากผี เอาเชือกผูกแหวนแขวนห้อยไว้ที่ปาก กลัวผีจะกลืนแหวนเข้าไป อย่างนี้จงอย่าได้ทำแก่ข้าเลย แต่อย่าให้เสียธรรมเนียม แหวนที่จะใส่ปากนั้น ให้เอาเชือกผูกแหวนที่เข็มกลัดคอเสื้อ เพชรที่ข้าได้ว่าขอไว้นานแล้ว เมื่อจะตายจะเอากลัดไปด้วย ราคาก็ไม่มากนัก เพียง 50 ชั่งเศษ แล้วจะได้ทำพระฉลองพระองค์ด้วย เข็มขัดที่จะคาดนั้นอย่าให้เอาของแผ่นดิน ให้เอาของเดิมของข้า ที่สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ซื้อหลวงพิทักษ์มนตรีนั้น แหวนที่จะใส่นั้นได้จัดมอบไว้แล้ว ให้ไปถามพ่อกลางดูเถิด สังวาลเครื่องต้นเอาสายที่ข้าทำใหม่ อย่าให้เอาสายสำหรับแผ่นดิน ให้เอาของที่ข้าทำใหม่ การอื่น ๆ นอกนั้นก็ให้ไปปรึกษาพ่อกลางดูเถิด แต่อย่าให้เกี่ยวข้องเป็นของแผ่นดิน ของแผ่นดินนั้นเจ้าแผ่นดินใหม่ท่านจะได้ใส่เลียบพระนคร เมื่อเอาโกศลงเปลื้องเครื่องให้ค้นดูในปาก ฟันมีก็ให้เอาไว้ให้หมด จะได้แจกลูกที่ยังไม่ได้ให้พอกัน ถ้าฟันไม่พอกัน ให้ถอดเอาเล็บมือ ถ้าเล็บมือไม่พอ ให้ถอดเอาเล็บตีน แบ่งปันกันไปกว่าจะพอ” (วิบูล วิจิตรวาทการ 2544 : 294)
 
ใน เย็นวันนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้พระศรีสุนทรโวหาร (ฟัก) เข้าเฝ้า เพื่อจดพระราชนิพนธ์คำขอขมาและลาพระสงฆ์เป็นภาษาบาลีซึ่งมีการแปลไว้ (สุภาพรรณ ณ บางช้าง, “พระราชนิพนธ์ขอขมาลาพระสงฆ์ก่อนสิ้นพระชนม์ของรัชกาลที่ 4”, ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 7 ฉบับที่ 9, กรกฎาคม 2529) ในบันทึกของหมอบลัดเล กล่าวถึงว่าพระองค์ได้โปรดให้อาลักษณ์เขียนพระราชนิพนธ์ชิ้นสุดท้ายตามพระ ราชกระแสรับสั่ง พระราชนิพนธ์นี้ เป็นคำภาษาบาลีสำหรับขอขมาลาพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ใจความสำคัญมีอยู่ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรแก่การยึดมั่นถือมั่น ทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงแท้ พระองค์ทรงพร้อมที่จะรับความเป็นไปตามสัจธรรมนี้ไม่ช้า
 
“… อนึ่งบุรุษมายึดมั่นสิ่งไรไว้จะเป็นผู้หาโทษมิได้ สิ่งนั้นไม่มีเลยในโลก ดีฉันมาศึกษาการยึดมั่นอยู่ว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงใช่ตัวตน ย่อมเป็นไปตามปัจจัย สิ่งนั้นใช่ของเรา ส่วนนั้นไม่เป็นของเรา ส่วนนั้นมิใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ ความตายใด ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ความตายนั้นไม่น่าอัศจรรย์ เพราะความตายนั้นเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งหลาย ขอพระผู้เป็นเจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วเถิด ดีฉันขอลา ดีฉันไหว้ สิ่งใดดีฉันได้ผิดพลั้ง สงฆ์จงอดสิ่งทั้งปวงนั้นแก่ดีฉันเถิด
เมื่อกาย ของดีฉันแม้กระสับกระส่ายอยู่ จิตของดีฉันจะไม่กระสับกระส่าย ดีฉันมาทำความไปตามคำสั่งของพระพุทธเจ้าศึกษาอยู่ด้วยประการดังนี้”
เมื่อ ทรงตระหนักว่าใกล้จะสิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เจ้าพระยาภูทราภัยและพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เข้าเฝ้า เพื่อรับสั่งราชการเป็นครั้งสุดท้าย แล้วรับสั่งลา ว่า
 
“วันนี้พระ จันทร์เต็มดวงเป็นวันเพ็ญ อายุของฉันจะดับในวันนี้แล้ว ท่านทั้งหลายกับฉันได้ช่วยทำนุบำรุงประคับประคองกันมา บัดนี้กาลมาถึงฉันแล้ว ฉันจะขอลาท่านทั้งหลาย ด้วยฉันออกอุทานวาจาไว้เมื่อบวชอยู่นั้นว่า วันใดเป็นวันเกิด อยากจะตายในวันนั้น วันฉันเกิดเป็นวันเพ็ญ เดือน 11 วันมหาปวารณา เมื่อป่วยไข้จะตายให้สิทธิ์ ณ วิทาริก อันเตวาสิกยกลงไป จะขอตายในท่ามกลางสงฆ์ เมื่อเวลาที่พระสงฆ์กระทำวินัยกรรมมหาปวารณา ก็บัดนี้เห็นจะไม่ได้พร้อมตามความที่ปรารถนาไว้ เพราะเป็นคฤหัสถ์เสียแล้ว ฉันจะขอลาท่านทั้งหลายไปจากภพนี้ในวันนี้แล้ว ฉันขอฝากลูกของฉันด้วย อย่าให้มีภัยอันตรายเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน ถ้าจะมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งแก่ลูกของฉันต่อไปด้วยเถิด”
 
“ฉัน จะขอพูดด้วยการแผ่นดิน ยังหาได้สมาทานศีล 5 ประการไม่ ฉันเป็นคนป่วยไข้ จะขอสมาทานศีล 5 ประการเสียก่อน แล้วจึงจะพูดด้วยการแผ่นดิน” จึงทรงตั้งนโม 3 จบ ทรงสมาทานศีล 5 และตรัสภาษาอังกฤษ การตรัสภาษาอังกฤษเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระสติยังดีอยู่ไม่ฟั่นเฟือน
 
“ตัว ท่านกับฉันได้ช่วยกันทำนุบำรุงแผ่นดินมา ได้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมาจนสิ้นตัวฉัน ถ้าสิ้นตัวฉันแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงช่วยกันทำนุบำรุงการแผ่นดินต่อไปให้เรียบร้อย สมณพราหมณ์อาณาประชาราษฎรจะได้ที่พึ่งอยู่เย็นเป็นสุข แต่ต้องรับฎีการ้องทุกข์ของราษฎรให้เหมือนฉันที่เคยรับมาแต่ก่อน
 
อนึ่งผู้ที่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไปภายหน้าให้พร้อมกันเลือกหาเอาเถิด จะเป็นพี่ก็ตาม จะเป็นน้องก็ตาม จะเป็นลูกก็ตาม จะเป็นหลานก็ตาม สุดแต่จะเห็นพร้อมกัน ท่านพระองค์ใดมีปรีชาญาณควรจะรักษาแผ่นดินได้ ก็ยกขึ้นเป็นเจ้า จะได้ทำนุบำรุงแผ่นดินและพระราชวงศานุวงศ์และราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุขต่อไป อย่าหันเหียนตามพระกระแสพระเจ้าแผ่นดินก่อนเลย เอาแต่ความดีความเจริญเป็นที่ตั้ง” (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 171-172)
 
หลังจากเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เจ้าพระยาภูทราภัย และพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว คณะผู้เข้าเฝ้าได้กลับออกมาพักอยู่ในท้องพระโรงเพื่อรอดูว่าพระอาการประชวร จะเป็นเช่นไรต่อไป ไม่มีท่านใดในคณะผู้เข้าเฝ้าคาดคิดเลยว่าพระเจ้าอยู่หัวใกล้จะเสด็จ สวรรคตอยู่แล้ว เพราะขณะที่มีพระราชกระแสรับสั่งนั้นพระสุรเสียงยังชัดเจนแจ่มใส พระสติสัมปชัญญะก็สมบูรณ์ดี เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เองถึงกล้าลงเรือกลับไปพักผ่อนเพื่อบรรเทาความอ่อน เพลียที่บ้านท่าน ซึ่งอยู่ทางอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ แต่แล้วก่อนถึงเวลา 21 นาฬิกาเล็กน้อย ก็มีผู้ไปตามท่านที่บ้านพร้อมทั้งแจ้งข่าวว่า “พระเจ้าอยู่หัวกำลังจะสวรรคต” ถึงตอนนั้นเหตุการณ์ก็สายเกินไปเสียแล้ว เพราะกว่าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จะลงเรือกลับไปถึงพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตไปแล้วเมื่อหลายนาทีก่อนหน้า นั้น (มงคล เดชนครินทร์ 2547 : 32-33)
 
เหตุการณ์ขณะเสด็จสวรรคตนั้น เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ได้บันทึกไว้อย่างละเอียด มีใจความดังนี้
 
“ครั้น เวลา 2 ทุ่ม 6 บาท จึงรับสั่งเรียกพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภว่า พ่อเพ็งเอาโถมารองเบาให้พ่อที พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภจึงเข็ญเอาโถพระบังคนขึ้นไปบนพระแท่น ถวายลงพระบังคนแล้วก็พลิกพระองค์ไปข้างทิศตะวันออก รับสั่งบอกว่าจะตายเดี๋ยวนี้แล้ว แล้วพลิกพระองค์หันพระพักตร์สู่เบื้องตะวันตก ก็รับสั่งบอกอีกว่า จะตายเดี๋ยวนี้แล้ว แล้วก็ทรงภาวนาว่า อรหังสัมมา สัมพุทโธ ทรงอัดนิ่งไปแล้วผ่อนอัสสาส ปัสสาส เป็นคราว ๆ ยาวแล้วผ่อนสั้นเข้าทีละน้อย ๆ ทรงพระสุรเสียงมีสำเนียงดัง โธ โธ ทุกครั้ง สั้นเข้า โธ ก็เบาลงทุกที ตลอดไปจนยามหนึ่งก็ดังครอกเบา ๆ พอระฆังยามหอภูวดลทัศไนย์ย่ำก่าง ๆ นกตุ๊ดก็ร้องขึ้นตุ๊ดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่สวรรคต”
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
(1) [[นิราศหนองคาย]] โดย หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์)
 
(2) ละครพันทางhttp://www.thaidances.com/data/6.asp
 
(3) รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน. วรรณคดีการเมืองกับสังคมรัตนโกสินทร์.เม็ดทรายพริ้นติ้ง.2546
 
(4) สิทธิ ศรีสยาม (จิตร ภูมิศักดิ์). นิราศหนองคายวรรณคดีที่ถูกสั่งเผา.เจริญวิทย์การพิมพ์.2518
 
(5) วิทยากร เชียงกูล และคณะ.สารานุกรมแนะนำหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน.เคล็ดไทย.2542
 
(6) บันทึกของหมอบลัดเล ที่ตีพิมพ์ในหนังสือ Siam Then (บทแปลภาษาไทยโดย มงคล เดชนครินทร์) ราชสกุล‎
 
{{เรียงลำดับ|มหินทรศักดิ์ธำรง}}