ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิริวร แก้วกาญจน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tivawarin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Popplefilm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
| footnotes =
}}
'''ศิริวร แก้วกาญจน์''' ([[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2511]] -) [[จิตรกร]] [[กวี]] และ[[นักเขียน]]ดาวรุ่งชาวไทย ผู้มีผลงานโดดเด่นและเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์มากที่สุดในประเทศไทย
 
'''ศิริวร'''จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง [[จากวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช]]เริ่มเข้าสู่โลกการอ่านอย่างจริงจังตอนเรียนที่วิทยาลัยศิลปะหัตกรรมศิลปหัตถกรรม [[นครศรีธรรมราช]] จากนั้นก็ เข้าไปเป็นทหารอยู่ในกองทัพภาคที่ 4 เป็นเวลา 1 ปี, เข้า[[กรุงเทพฯ]] ปี พ.ศ. 2534 รับจ้างทำงานประติมากรรมอยู่ราวๆ ครึ่งปี จากนั้นก็เข้าไปประจำอยู่ในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์เล่มหนึ่ง พร้อมกับเขียนบทกวีและเขียนรูปไปด้วย ศิริวรเริ่มเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่อลาออกจากงานประจำที่หนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ฉบับดังกล่าว หลังเหตุการณ์[[พฤษภาทมิฬ]] จากนั้นเขาไม่เคยเข้าทำงานประจำที่ไหนอีกเลย
 
ปัจจุบันมีผลงานมาแล้วหลายเล่ม ทั้ง[[บทกวี]] [[ความเรียง]] [[เรื่องสั้น]] และ[[นวนิยาย]] เคยได้รับรางวัลดีเด่น[[งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ]]ปี พ.ศ. 2547 จากรวมเรื่องสั้น ''เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให้เขาฟัง'' รางวัลบทกวีของสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2538 จากบทกวีชื่อ ''ณ ซอกมุมสมัยและใครเหล่านั้น''' และปี พ.ศ. 2539 จากบทกวีชื่อ ''พเนจร''
 
มีผลงานผ่านเข้ารอบสุดท้าย[[รางวัลซีไรต์|รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)]] ประจำประเทศไทย 8 ปีครั้ง (9 เล่ม) คือ ปี พ.ศ. 2547 กวีนิพนธ์ ''ประเทศที่สาบสูญ'' ปี พ.ศ. 2548 รวมเรื่องสั้น ''เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให้เขาฟัง'' ปี พ.ศ. 2549 นวนิยาย ''กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด'' ปี พ.ศ. 2550 กวีนิพนธ์ ''เก็บความเศร้าไว้ให้พ้นมือเด็กเด็ก'' และ ''ลงเรือมาเมื่อวาน'' ปี พ.ศ.2551 รวมเรื่องสั้น ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่นๆ และปี พ.ศ. 2553 กวีนิพนธ์ ''ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง'' ปี พ.ศ.2554 รวมเรื่องสั้น 'ความมหัศจจรย์ครั้งยิ่งใหญ่และเรื่องราวอื่นๆ' และปี พ.ศ.2555 นวนิยาย 'โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า'<ref>[http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9530000099316 6กวีนิพนธ์เข้ารอบตัดเชือกซีไรต์ ปี'53]</ref>
 
ผลงานนวนิยายที่ได้รับการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางคือ เรื่อง กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด (The Murder Case of Tok Imam Storpa Karde) ซึ่งนำเสนอปัญหาเชิงลึกใน 3 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ผ่านมุมมองและเสียงเล่าของตัวละครมากกว่าสิบตัว ที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านปรัชญา ความเชื่อ เชื้อชาติ ความศรัทธา ช่วงวัย และอุดมคติ-อุดมการณ์ (ส่วนหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้ ถูกนำไปคัดย่อเป็นเรื่องสั้น ส่งประกวดรางวัลพานแว่นฟ้า และถูกกล่าวหาว่าเป็นผลงานที่ทำลายความมั่นคงของชาติ จนถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้รับรางวัลจากการประกวดวรรณกรรมของรัฐสภาไทย) ต่อมา นวนิยายเล่มนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย มาร์แซล บารังส์ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ PAJONPHAI