ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
[[ไฟล์:Genocide victim.jpg|thumb|right]]
 
'''พันธุฆาตในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา''' คือเหตุการณ์ที่[[ชนพื้นเมือง]][[ชาวทุตซี]] (Tutsi) และชนพื้นเมือง[[ชาวฮูตู]] (Hutu) ถูก[[การสังหารหมู่|สังหารหมู่]]ไปประมาณ 800,000-1,071,000 คนใน[[ประเทศรวันดา]] โดยกลุ่มผู้กระทำการสังหารหมู่คือกลุ่ม[[ทหารบ้าน]]หัวรุนแรงชาวฮูตู ได้แก่กลุ่มอินเตราฮัมเว (Interahamwe เป็น[[ภาษากินยาร์วันดา]]แปลว่า "ผู้ที่สู้ด้วยกัน") และกลุ่มอิมปูซูมูกัมบิ (Impuzamugambi แปลว่า "ผู้ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน") โดยจะมี 2 กลุ่มนี้เป็นผู้กระทำการสังหารหมู่เสียเป็นส่วนใหญ่ ในช่วงเวลา 100 วันตั้งแต่วันที่ [[6 เมษายน]]ไปจนถึงกลางเดือน[[กรกฎาคม]]ในปี [[พ.ศ. 2537]] (1994)
 
เหตุการณ์[[การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์|ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์]]ในรวันดาถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญทาง[[ประวัติศาสตร์]] ไม่เพียงเพราะจำนวนคนที่ถูกสังหารเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับเวลาอันสั้น แต่ยังเป็นเพราะว่าเหตุการณ์นี้ได้แสดงถึงความไม่มีประสิทธิภาพขององค์การ[[สหประชาชาติ]] (โดยเฉพาะสมาชิกสำคัญแห่ง[[โลกตะวันตก]]คือ[[สหรัฐอเมริกา]]และ[[ฝรั่งเศส]]) ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ แม้จะมีข่าวคราวมาก่อนว่าจะมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริงก็ตาม รวมไปถึงการนำเสนอข่าวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกเมื่อเหตุการณ์ได้เกิดขึ้น ที่แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงและความโหดร้ายทารุณของการสังหารหมู่ กระนั้น [[ประเทศโลกที่หนึ่ง]]ส่วนใหญ่รวมไปถึงประเทศฝรั่งเศส, [[เบลเยียม]] และสหรัฐอเมริกา กลับมีท่าทีนิ่งเฉยต่อเหตุการณ์สังหารหมู่ โดยปฏิเสธที่จะออกมากระทำการแทรกแซง หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อกลุ่มผู้กระทำการสังหารหมู่ ส่วน[[ประเทศแคนาดา]]ยังคงทำหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาความสงบในรวันดาจนถึงทุกวันนี้