ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเปรู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
เอาต้นแบบมาจากลิงค์วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่แน่ใจในการสะกดภาษาไทยแต่มีอ้างอิง
ป้ายระบุ: เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org
บรรทัด 18:
| leader_title2 = [[รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเปรู|รองประธานาธิบดี]]
| leader_name1 = [[โอยันตา อูมาลา]]
| leader_name2 = Marisol Espinoza <ref>http://en.wikipedia.org/wiki/Vice_President_of_Peru</ref>
| leader_name2 =
| area_rank = 20
| area_magnitude = 1 E11
บรรทัด 63:
== ภูมิศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Peru veg 1970.jpg|thumb|แผนที่แสดงเขตพืชพรรณที่แตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ]]
เปรูมีพื้นที่ 1,285,220 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดกับ[[ประเทศเอกวาดอร์|เอกวาดอร์]]และ[[ประเทศโคลอมเบีย|โคลอมเบีย]]ทางเหนือ [[ประเทศบราซิล|บราซิล]]ทางตะวันออก [[ประเทศโบลิเวีย|โบลิเวีย]]ทางตะวันออกเฉียงใต้ [[ประเทศชิลี|ชิลี]]ทางใต้ และ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]ทางตะวันตก ประเทศเปรูมี[[เทือกเขาแอนดีส]]พาด ผ่านขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แบ่งประเทศออกเป็นสามภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ พื้นที่ชายฝั่งหรือโกสตา (costa) ทางตะวันตก เป็นที่ราบแคบและแห้งแล้งยกเว้นบริเวณหุบเขาซึ่งเกิดจากแม่น้ำตามฤดูกาล เขตที่สูงหรือเซียร์รา (sierra) เป็นภูมิภาคบนเทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ราบสูง[[อัลตีปลาโน]] (Altiplano) เช่นเดียวกับ[[อวสการัน]] (Huascarán) จุดที่สูงที่สุดของประเทศ 6,768 เมตร<ref>AndesHandbook, [http://www.andeshandbook.cl/eng/default.asp?main=cerro.asp?codigo=54 ''Huascarán'']. เรียกข้อมูลวันที่ 12 สิงหาคม 2550. {{en icon}}</ref> ส่วนที่สามคือเขตป่ารกทึบหรือเซลบา (selva) เป็นที่ราบกว้างขวาง ปกคลุมด้วย[[ป่าดิบชื้นแอมะซอน]] เกือบร้อยละ 60 ของพื้นที่ประเทศอยู่ในส่วนนี้<ref>Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, ''El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico'', p. 16. {{es icon}}</ref>
 
แม่น้ำแม่ น้ำส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีส และไหลลงสู่เขตลุ่มน้ำสามแห่งของเปรู แม่น้ำที่ไหลไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นสูงชันและสั้น ไหลอย่างไม่สม่ำเสมอ ในขณะที่สายที่ไหลไปทาง[[แม่น้ำแอมะซอน]]นั้นยาวกว่า มีกระแสน้ำมากกว่า และสูงชันน้อยกว่าเมื่อไหลออกจากเขตที่สูง ส่วนแม่น้ำที่ไหลไปยัง[[ทะเลสาบตีตีกากา]]ส่วนใหญ่จะสั้นและมีกระแสน้ำมาก<ref>Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, ''El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico'', p. 31. {{es icon}}</ref> แม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับต้น ๆ ของเปรูได้แก่ [[แม่น้ำอูกายาลี]] [[แม่น้ำมาราญอน]] [[แม่น้ำปูตูมาโย]] [[แม่น้ำยาบารี]] [[แม่น้ำอัวยากา]] [[แม่น้ำอูรูบัมบา]] [[แม่น้ำมันตาโร]] และ[[แม่น้ำแอมะซอน]]<ref>Instituto Nacional de Estadística e Informática, ''Perú: Compendio Estadístico 2005'', p. 21. {{es icon}}</ref>
 
เปรูไม่ได้มีเฉพาะภูมิอากาศแบบเขตร้อนเหมือนประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรทั่วไป อิทธิพลของเทือกเขาแอนดีสและ[[กระแสน้ำฮุมโบลดท์]]ทำให้ทำ ให้เปรูมีความหลากหลายทางภูมิอากาศ เขตชายฝั่งมีอากาศอบอุ่น ปริมาณน้ำฝนต่ำ และความชื้นสูง ยกเว้นส่วนเหนือสุดที่ร้อนกว่าและฝนตกมากกว่า<ref>Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, ''El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico'', pp. 24-25. {{es icon}}</ref> โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์[[เอลนีโญ]] บริเวณชายฝั่งตอนเหนือจะมีฝนตกหนักมาก<ref> {{cite web |url=http://www.dfg.ca.gov/marine/elnino.asp|title=El Niño Information}}. เรียกข้อมูลวันที่ 28 มิถุนายน 2551. {{en icon}}</ref> เขตที่สูง มีฝนตกบ่อยในฤดูร้อน อุณหภูมิและความชื้นลดลงตามความสูง<ref>Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, ''El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico'', pp. 25-26. {{es icon}}</ref> ส่วนเขตป่ารกทึบมีจุดสำคัญที่ฝนตกหนักและอุณหภูมิสูง ยกเว้นส่วนใต้สุดที่มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฝนตกตามฤดูกาล<ref>Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, ''El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico'', pp. 26-27. {{es icon}}</ref> จากภูมิประเทศและภูมิอากาศที่หลากหลาย ทำให้เปรูมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยจนถึงปี พ.ศ. 2546 พบพืชและสัตว์แล้วถึง 21,462 ชนิด ในจำนวนนั้น 5,855 เป็นสปีชีส์เฉพาะถิ่น<ref>Instituto Nacional de Estadística e Informática, ''Perú: Compendio Estadístico 2005'', p. 50. {{es icon}}</ref>
 
== ประวัติศาสตร์ ==
บรรทัด 74:
ปรากฏร่องรอยของมนุษย์กลุ่มแรกในบริเวณประเทศเปรูตั้งแต่ประมาณ 10,000 ปีก่อนพุทธศักราช<ref>[[Tom Dillehay]] et al, "The first settlers", p. 20.</ref> [[อารยธรรมการัล]]ซึ่งเป็นสังคมที่เก่าแก่ที่สุดในเปรูเจริญขึ้นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในระหว่าง 2,500 ถึง 1,300 ปีก่อนพุทธศักราช<ref>Jonathan Haas et al, "Dating the Late Archaic occupation of the Norte Chico region in Peru", p. 1021.</ref>
 
จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลืออยู่มากมายในประเทศเปรู แสดงให้เห็นว่ามีอารยธรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนอินคา [[อารยธรรมชาบิน]]เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดอารยธรรมหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ ศูนย์กลางอยู่บริเวณชายฝั่งตอนกลางของเปรู โบราณสถานที่สำคัญคือ [[ชาบินเดอวนตาร์]] ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ[[ลิมา|กรุงลิมา]]
 
ในยุคต่อมา [[อารยธรรมโมเช]]พัฒนาขึ้นบริเวณชายฝั่งตอนเหนือของเปรู และภายหลังพัฒนากลายเป็น[[อารยธรรมชีมู]] ส่วนทางตอนใต้ของเปรู [[อารยธรรมนัซกา]]ได้ถือกำเนิดขึ้นบริเวณชายฝั่งในช่วงระยะเวลาเดียวกับอารยธรรมโมเช ร่องรอยอารยธรรมที่สำคัญคือ[[เส้นนัซกา]] นอกจากนี้ ยังมี[[อารยธรรมตีวานากู]] ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ใกล้กรุง[[ลาปาซ]]ในประเทศโบลิเวีย และ[[อารยธรรมอัวรี]]ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณ[[แคว้นไออากูโช]] ทางตอนใต้ของเปรู<ref> {{cite web |url=http://www.mnsu.edu/emuseum/prehistory/latinamerica/south/satable.html|title=South American Sites & Culures}} Minnesota State University Mankato {{en icon}}</ref>
บรรทัด 81:
{{ดูเพิ่มที่|จักรวรรดิอินคา}}
[[ไฟล์:Inca-Spanish confrontation.JPG|thumb|left|การต่อสู้ระหว่างสเปนกับอินคา]]
อาณาจักรอินคาก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ประมาณกลาง[[พุทธศตวรรษที่ 18]] แต่เริ่มมีอำนาจขึ้นเมื่อประมาณปี [[พ.ศ. 1981]] ในสมัยของปาชากูตี กษัตริย์องค์ที่ 9 อินคาค่อย ๆ ขยายอาณาเขตออกไปจากศูนย์กลางที่เมือง[[กุสโก]]ทั้ง โดยวิธีทางการทูตและการสู้รบ จักรวรรดิขยายใหญ่จนถึงที่สุดในยุคของอวยนา กาปัก กษัตริย์องค์ที่ 11 ครอบคลุมบริเวณชายฝั่งตะวันตกของ[[ทวีปอเมริกาใต้]] ตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของ[[ประเทศโคลอมเบีย]]ไปจนถึงตอนกลางของ[[ประเทศชิลี]] รวมทั้งบริเวณ[[ประเทศโบลิเวีย]] และตอนเหนือของ[[ประเทศอาร์เจนตินา]]
 
ก่อนที่อวยนา กาปักจะสวรรคต ได้ทรงแบ่งดินแดนอินคาให้แก่[[อาตาอวลปา]]และ[[อวสการ์]] พระราชโอรสทั้งสอง แต่พระราชโอรสทั้งสองไม่พอพระทัย ต้องการปกครองแผ่นดินแต่เพียงพระองค์เดียว จึงเกิดการสู้รบเพื่อแย่งแผ่นดินกันขึ้น ในที่สุดอาตาอวลปาก็เป็นฝ่ายชนะ
 
ในขณะที่ดินแดนอินคากำลังวุ่นวายด้วยสงครามแย่งชิงอำนาจและ[[โรคระบาด]] [[ฟรันซิสโก ปีซาร์โร]] นักสำรวจ[[ชาวสเปน]]กับ กำลังพลเพียง 167 คน ได้เดินทางมาเข้าพบอาตาอวลปาขณะที่กำลังพักผ่อนหลังเสร็จสงครามและจับ พระองค์เป็นตัวประกัน ชาวอินคามอบทองคำและเงินเป็นจำนวนมากให้แก่ปีซาร์โรเพื่อเป็นค่าไถ่ให้ปล่อยตัวปล่อย ตัวจักรพรรดิของตน แต่ปีซาร์โรกลับไม่ยอมรักษาคำพูดและประหารพระองค์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2075<ref>Terence N. D'Altroy, ''The Incas'', Blackwell Publishing, 2002</ref>
 
=== การปกครองของสเปน ===
บรรทัด 96:
เปรูพ่ายแพ้ต่อชิลีใน[[สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก (พ.ศ. 2422-2427)|สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก]]ที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2422 ถึง 2427 เสียดินแดน[[แคว้นอารีกา|จังหวัดอารีกา]]และ[[แคว้นตาราปากา|ตาราปากา]]ใน[[สนธิสัญญาอังกอน]]และ[[สนธิสัญญาลิมา|ลิมา]] หลังจากปัญหาภายในประเทศหลังสงคราม เปรูกลับมามีเสถียรภาพภายใต้การนำของ[[พรรคซีบิล]] ซึ่งสิ้นสุดลงหลัง[[เอากุสโต เบ. เลกีอา]]ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ<ref>Ulrich Mücke, ''Political culture in nineteenth-century Peru'', pp. 193–194. {{en icon}}</ref> เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทำให้เลกีอาถูกล้มจากอำนาจ และกำเนิด[[พันธมิตรประชาชนปฏิวัติอเมริกา]] (Alianza Popular Revolucionaria Americana) <ref>Peter Klarén, ''Peru'', pp. 262–276. {{en icon}}</ref> การแข่งขันระหว่างกลุ่มนี้กับกลุ่มชนชั้นสูงและกองทัพเป็นส่วนสำคัญของการเมืองเปรูในอีกสามทศวรรษถัดมา<ref>David Palmer, ''Peru: the authoritarian tradition'', p. 93. {{en icon}}</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2511 กองทัพเปรูนำโดยนายพล[[ควน เบลัสโก อัลบาราโด]] ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากประธานาธิบดี[[เฟร์นันโด เบลาอุนเด]] รัฐบาลใหม่ทำการปฏิรูปครั้งใหญ่ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากเท่าไรนัก<ref>George Philip, ''The rise and fall of the Peruvian military radicals'', pp. 163–165. {{en icon}}</ref> ในปี พ.ศ. 2518 นายพล[[ฟรันซิสโก โมราเลส เบร์มูเดซ]] ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทนเบลัสโก ยุติการปฏิรูปและนำประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง<ref>Daniel Schydlowsky and Juan Julio Wicht, "Anatomy of an economic failure", pp. 106–107. {{en icon}}</ref> หลังยุคของโมราเลสในปี 2523 เปรูประสบปัญหาหนี้ต่างประเทศสูง เงินเฟ้อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ การขนส่งยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และปัญหาการเมืองที่การใช้กำลังอย่างรุนแรง<ref>Peter Klarén, ''Peru'', pp. 406–407. {{en icon}}</ref> ภายใต้การนำของประธานาธิบดี[[อัลเบร์โต ฟูจิโมริ]] พ.ศ. 2533-2543 ประเทศเปรูก็เริ่มฟื้นตัวด้วยการปฏิรูปทางการเมืองและการปราบปรามกลุ่มผู้ ก่อการร้าย แต่ฟูจิโมริก็ถูกกล่าวหาเรื่องอำนาจนิยม การทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้เขาต้องลาออกและหนีออกนอกประเทศหลังจากการเลือกตั้งครั้งปัญหาในปี พ.ศ. 2543<ref>BBC News, ''[http://news.bbc.co.uk/2/hi/americas/1031752.stm Fujimori: Decline and fall]''. 20 พ.ย. 2543 เรียกข้อมูลวันที่ 13 ก.ค. 2551. {{en icon}}</ref> ประชาธิปไตยกลับคืนสู่เปรูอีกครั้งในสมัยของประธานาธิบดี[[อาเลคันโดร โตเลโด]] ซึ่งนับแต่นั้นเป็นต้นมา เปรูพยายามกำจัดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และสามารถรักษาสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีไว้ได้<ref> {{cite web|url=http://www.economist.com/world/americas/displaystory.cfm?story_id=E1_QDGQGQN|title=Survivor Toledo|publisher=The Economist |date=2005-01-09|accessdate=2008-07-31}} {{en icon}}</ref> ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ[[อาลัน การ์ซีอา]]
 
== การปกครอง ==
บรรทัด 104:
รัฐบาลเปรูได้รับการเลือกตั้งโดยตรง และการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีจนถึง 70 ปี<ref>''Constitución Política del Perú'', Article N° 31.</ref> ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2549 [[อาลัน การ์ซีอา]] จาก[[พรรคอาปริสตาเปรู]] ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเหนือ[[โอยันตา อูมาลา]]จาก[[สหภาพเพื่อเปรู]]<ref>Oficina Nacional de Procesos Electorales, [http://www.onpe.gob.pe/resultados2006/2davuelta/onpe/presidente/rep_resumen_pre.onpe ''Segunda Elección Presidencial 2006'']. Retrieved on May 15, 2007. {{es icon}}</ref> สภาปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกจาก[[พรรคอาปริสตาเปรู]] 36 คน [[พรรคชาตินิยมเปรู]] 23 คน [[พรรคสหภาพเพื่อเปรู]] 19 คน [[พรรคเอกภาพแห่งชาติ]] 15 คน [[พันธมิตรเพื่ออนาคต]] 13 คน พันธมิตรรัฐสภา 9 คน และกลุ่มรัฐสภาพิเศษ 5 คน<ref>Congreso de la República del Perú, [http://www.congreso.gob.pe/organizacion/grupos.asp ''Grupos Parlamentarios'']. เรียกข้อมูลวันที่ 5 มกราคม 2551. {{es icon}}</ref>
 
ความ สัมพันธ์กับต่างประเทศของเปรูที่ผ่านมามักเกี่ยวพันกับปัญหาข้อพิพาทพรมแดน กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ตกลงกันได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20<ref>Ronald Bruce St John, ''The foreign policy of Peru'', pp. 223-224. {{en icon}}</ref> ปัจจุบันเปรูมีข้อพิพาทกับชิลีเรื่องน่านน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก<ref>BBC News, [http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/americas/4405402.stm ''Peru-Chile border row escalates'']. เรียกข้อมูลวันที่ 16 พฤษภาคม 2550. {{en icon}}</ref> เปรูเป็นสมาชิกของกลุ่มในภูมิภาคหลายกลุ่ม เป็นสมาชิกก่อตั้งของ[[ประชาคมแอนดีส]] และเป็นสมาชิกของ[[องค์กรรัฐอเมริกา]] กองทัพเปรูประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มีหน้าที่หลักคือดูแลความปลอดภัยของอิสรภาพ เอกราช และบูรณภาพดินแดนของประเทศ<ref>Ministerio de Defensa, ''Libro Blanco de la Defensa Nacional'', p. 90.</ref> กองกำลังของเปรูอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงกลาโหม และประธานาธิบดีในฐานะผู้บัญชาการสูงสุด การเกณฑ์ทหารถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2542 และเปลี่ยนมาใช้การเป็นทหารโดยสมัครใจแทน<ref>''Ley N° 27178, Ley del Servicio Militar'', Articles N° 29, 42 and 45.</ref>
 
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
บรรทัด 163:
== เศรษฐกิจ ==
[[ไฟล์:Peru econ 1970.jpg|right|thumb|แผนที่กิจกรรมเศรษฐกิจของเปรู (พ.ศ. 2513)]]
เปรู เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ เขตภูเขาอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เปรูจึงเป็นผู้ผลิตแร่ธาตุรายใหญ่ของโลก เช่นทองแดง (อันดับ 3 ของโลก) ตะกั่ว (อันดับ 4 ของโลก) เงิน (อันดับ 1 ของโลก) สังกะสี (อันดับ 3 ของโลก) ดีบุก (อันดับ 3 ของโลก) <ref name="Pocket World in Figures 2007 Edition">The Economist, Pocket World in Figures 2007 Edition, 2549 {{en icon}}</ref> น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ส่วนทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกมีสภาพเอื้ออำนวยต่อการประมง<ref name="ข้อมูลประเทศเปรูจากเวิลด์แฟกต์บุก"> {{cite web |url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/pe.html|title=ข้อมูลประเทศเปรูจากเวิลด์แฟกต์บุก|publisher=CIA}}. เรียกข้อมูลวันที่ 21 พฤษภาคม 2551.{{en icon}}</ref> ผลิตภัณฑ์การเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ มันฝรั่ง<ref name="Llamas and mash"> {{cite web |url=http://www.economist.com/world/la/displaystory.cfm?story_id=10766599|title=Llamas and mash||publisher=The Economist |date=2008-02-28}} {{en icon}}</ref> ข้าวโพด ผลไม้ ต้นโคคา และการปศุสัตว์<ref name="ข้อมูลประเทศเปรูจากเวิลด์แฟกต์บุก"/> นอกจากนี้ ทรัพยากรการท่องเที่ยวของเปรู เช่น [[มาชูปิกชู]] [[กุสโก|เมืองกุสโก]] และ[[ป่าดิบชื้น]]บริเวณ[[แม่น้ำแอมะซอน]]สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก<ref> {{cite web |url=http://www.economist.com/world/la/displaystory.cfm?story_id=11017681|title=Ecotourism in Peru|publisher=The Economist |date=2008-04-10}} {{en icon}}</ref>
<ref> {{cite web |url=http://www.economist.com/world/la/displaystory.cfm?story_id=E1_SDNQQQ|title=Tourism in Peru|publisher=The Economist |date=2001-07-19}} {{en icon}}</ref>
 
เปรู มีรายได้ต่อประชากรปี (พ.ศ. 2549) อยู่ที่ 3,374 ดอลลาร์สหรัฐ ร้อยละ 39.3 ของประชากรเป็นคนจน รวมถึงร้อยละ 13.7 ที่อยู่ในระดับจนมาก<ref>ข้อมูลปี พ.ศ. 2550. Instituto Nacional de Estadística e Informática, ''La pobreza en el Perú en el año 2007'', p. 3. {{es icon}}</ref> การบริการมีส่วนร้อยละ 52.9 ของ[[ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ]] ปี พ.ศ. 2550 ตามด้วย[[อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ]]ร้อยละ 23.2 [[อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ]]ร้อยละ 14.2 และ[[ภาษี]]ร้อยละ 9.7<ref>Banco Central de Reserva, [http://www.bcrp.gob.pe/bcr/dmdocuments/Estadistica/Cuadros/Anuales/ACuadro_07.xls Producto Bruto Interno por Sectores Productivos 1950 - 2007]. {{es icon}}</ref> สินค้าส่งออกที่สำคัญของเปรู ได้แก่ [[ทองแดง]] [[ทอง]] [[สังกะสี]] [[ปิโตรเลียม]] [[กาแฟ]] และ[[ผ้า|สิ่งทอ]] ส่วนการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบและ[[สินค้าทุน]]สำหรับอุตสาหกรรม ประเทศคู่ค้าหลักของเปรูได้แก่[[สหรัฐอเมริกา]] [[ประเทศจีน|จีน]] [[ประเทศบราซิล|บราซิล]] [[ประเทศชิลี|ชิลี]] [[ประเทศแคนาดา|แคนาดา]] [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สวิตเซอร์แลนด์]] [[ประเทศญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]] [[ประเทศโคลอมเบีย|โคลอมเบีย]] และ[[ประเทศเอกวาดอร์|เอกวาดอร์]]<ref>ข้อมูลปี 2549. Banco Central de Reserva, [http://www.bcrp.gob.pe/bcr/Memoria-Anual/Memoria-2006.html ''Memoria 2006''], pp. 60-61, 66. Retrieved on July 3, 2007. {{es icon}}</ref>
 
นโยบายเศรษฐกิจของเปรูมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ในช่วงปี พ.ศ. 2511-2518 รัฐบาล[[ควน เบลัสโก อัลบาราโด]]มีการปฏิรูปหลายอย่างเช่น การปฏิรูปที่ดินทางการเกษตร ยึดบริษัทต่างชาติหลายแห่งมาเป็นของรัฐบาล การใช้[[ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน]]และการขยายภาครัฐบาล ถึงแม้การปฏิรูปเหล่านี้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่จะ[[การปรับการกระจายรายได้|ปรับการกระจายรายได้]]และยุติการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจจาก[[ประเทศที่พัฒนาแล้ว]]ได้ก็ตาม<ref>Rosemary Thorp and Geoffrey Bertram, ''Peru 1890–1977'', pp. 318–319.</ref> แต่นโยบายปฏิรูปเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คงอยู่จนปี พ.ศ. 2533 เมื่อรัฐบาลของนาย[[อัลเบร์โต ฟูจิโมริ]]ยกเลิกการควบคุมราคา การแทรกแซงทางการค้า การควบคุม[[การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ]] และดำเนินการแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่<ref>John Sheahan, ''Searching for a better society'', p. 157.</ref> การปฏิรูปเสรีนี้เหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจเปรูมีการเติบโตอย่างมั่นคงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ยกเว้นแต่ช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540<ref>Banco Central de Reserva, [http://www.bcrp.gob.pe/bcr/dmdocuments/Estadistica/Cuadros/Anuales/ACuadro_06.xls ''Producto bruto interno por sectores productivos 1951–2006'']. Retrieved on 2008-07-09. {{es icon}}</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2550 เปรูมีสภาพเศรษฐกิจดีที่สุดในรอบ 40 ปี<ref> {{cite web |url=http://www.economist.com/research/backgrounders/displaybackgrounder.cfm?bg=709221|title=Background of Peru |publisher=The Economist }}. เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2551.{{en icon}}</ref> และเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในทวีป (ประมาณร้อยละ 9.2 ใน พ.ศ. 2550) ซึ่งเป็นผลจากการที่ราคาแร่ธาตุสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ การลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคภายในประเทศยังเติบโตสูงขึ้นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ความร่ำรวยและความเจริญกลับกระจายไม่ทั่วถึงประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่เมืองที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและทางตอนเหนือของ ประเทศมีเศรษฐกิจที่เจริญเติบโต เมืองทางตอนใต้แถบ[[เทือกเขาแอนดีส]]ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็กกลับมีอัตราประชากรยากจนสูงถึงร้อยละ 70<ref> {{cite web |url=http://www.economist.com/world/la/displaystory.cfm?story_id=11332813 |title=Poverty amid progress|publisher=The Economist |date=2008-05-08}}. เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2551. {{en icon}}</ref>
 
 
บรรทัด 200:
ผลผลิตทางการเกษตร
 
หน่อไม้ ฝรั่ง กาแฟ ฝ้าย อ้อย ข้าว มันฝรั่ง ข้าวโพด กล้วยกล้าย(Plantain: กล้าย พบและใช้รับประทานมากในทวีปแอฟริกา) องุ่น ส้ม โกโก้ สัตว์ปีก เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์นม ปลา หมูกินนี
 
อุตสาหกรรม
บรรทัด 252:
เปรูเป็นสังคมพหุชาติพันธุ์ที่เกิดจากการรวมตัวของหลายเชื้อชาติตลอดช่วงห้าศตวรรษ โดย[[ชนพื้นเมืองเปรู]]อาศัยอยู่ในเปรูเป็นเวลานับพันปีก่อนที่สเปนจะเข้าครอบครองใน[[พุทธศตวรรษที่ 21]] ประชากรพื้นเมืองลดลงในช่วงประมาณร้อยปี จากเก้าล้านคนเหลือเพียงประมาณหกแสนคนจาก[[โรคติดต่อ]]<ref>Noble David Cook, ''Demographic collapse: Indian Peru, 1520-1620'', p. 114. {{en icon}}</ref> ชาวสเปนและชาวแอฟริกาจำนวนมากเข้ามาในยุคอาณานิคม หลังได้รับเอกราช มีชาวยุโรปอพยพเพิ่มขึ้น จากอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และสเปน<ref>Mario Vázquez, "Immigration and mestizaje in nineteenth-century Peru", pp. 79-81. {{en icon}}</ref> ชาวจีนเข้ามาในช่วงปลาย[[พุทธศตวรรษที่ 24]] ทดแทนแรงงานทาส และได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของสังคมเปรู<ref>Magnus Mörner, ''Race mixture in the history of Latin America'', p. 131. {{en icon}}</ref>
 
ภาษาทางการของเปรูคือ [[ภาษาสเปน]] ซึ่งเป็นภาษาแม่ของชาวเปรูที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปร้อยละ 80.3 (พ.ศ. 2536) และ[[ภาษาเกชัว]]ซึ่ง มีประชากรร้อยละ 16.5 พูดภาษานี้ (พ.ศ. 2536) มีผู้พูดภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ และภาษาต่างประเทศร้อยละ 3 และร้อยละ 0.2 ของประชากรตามลำดับ<ref>Instituto Nacional de Estadística e Informática, [http://www.inei.gob.pe/biblioineipub/bancopub/Est/Lib0007/CAP0209.HTM ''Perfil sociodemográfico del Perú'']. เรียกข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2550. {{es icon}}</ref> จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2549 ประชากรร้อยละ 85 ระบุว่าตัวเองนับถือ[[โรมันคาทอลิก|นิกายโรมันคาทอลิก]] และร้อยละ 11 นับถือ[[โปรเตสแตนต์|นิกายโปรเตสแตนต์]]<ref> US Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor, [http://www.state.gov/g/drl/rls/irf/2007/90264.htm ''International Religious Freedom Report 2007'']. เรียกข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2551. {{en icon}}</ref> อัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ร้อยละ 88.9 โดยอัตราในชนบท (ร้อยละ 76.1) ต่ำกว่าในเมือง (ร้อยละ 94.8) <ref>Portal Educativo Huascarán, [http://www.huascaran.edu.pe/web/visitante/comunidad/articulos2007/analfabetismo ''El analfabetismo en cifras'']. เรียกข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2550. {{es icon}}</ref> การศึกษาขั้น[[ประถมศึกษา|ประถม]]และ[[มัธยมศึกษา|มัธยม]]เป็น[[การศึกษาบังคับ]]และบริการแบบให้เปล่า (ฟรี) ในโรงเรียนของรัฐ<ref>''Constitución Política del Perú'', Article N° 17.</ref>
 
== วัฒนธรรม ==
[[ไฟล์:Ceviche del Perú.jpg|right|thumb|เซบีเชของเปรู]]
[[ไฟล์:Inti Raymi 2007 Cuzco.jpg|thumb|อินตีไรย์มี จัดขึ้นที่ซักไซย์อัวมัน]]
วัฒนธรรมเปรูมีรากฐานอยู่บนวัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมสเปน<ref>Víctor Andrés Belaunde, ''Peruanidad'', p. 472. {{es icon}}</ref> ศิลปะของเปรูย้อนกลับไปได้ถึงเครื่องปั้นเดิมเผา สิ่งทอ เพชรพลอย และการแกะสลักของวัฒนธรรมยุคก่อนอินคา ชาวอินคายังคงรักษารูปแบบงานเหล่านี้และยังบรรลุผลในด้านสถาปัตยกรรมโดยได้ สร้าง[[มาชูปิกชู]] ในยุคอาณานิคม ศิลปะได้รับอิทธิพลแบบ[[ศิลปะบาโรก|บาโรก]] โดยผสมเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น<ref>Gauvin Alexander Bailey, ''Art of colonial Latin America'', pp. 72-74. {{en icon}}</ref> ในยุคนี้ ศิลปะส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนา ตัวอย่างเช่นโบสถ์จำนวนมาก และจิตรกรรมแบบ[[สำนักกุสโก]]<ref>Gauvin Alexander Bailey, ''Art of colonial Latin America'', p. 263. {{en icon}}</ref> ศิลปะในเปรูซบเซาลงหลังได้รับเอกราช จนมาถึงยุคศิลปะแบบ[[อินดีเคนิสโม]] ซึ่งนำเสนอความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองอเมริกาใต้<ref>Edward Lucie-Smith, ''Latin American art of the 20th century'', pp. 76-77, 145-146. {{en icon}}</ref> วัฒนธรรมโบราณของชาวอินคายังคงอยู่ในเปรูในปัจจุบัน ชาวเปรูยังคงใช้ชีวิตตามแบบบรรพบุรุษ เช่นการใช้[[ภาษาเกชัว]] การประกอบพิธีกรรมทาง[[ศาสนา]]
 
=== อาหาร ===
อาหาร จานหลักของเปรูมีความหลากหลายเพราะมีส่วนผสมที่สามารถหาได้ในประเทศ หลายอย่าง เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อ[[อัลปากา]] และเนื้อ[[กินนี่พิก|หนูตะเภา]] นิยมรับประทานอาหารจานหลักกับมันฝรั่ง (ซึ่งกล่าวกันว่ามีมากถึง 3,500 ชนิด<ref name="Llamas and mash"/>) ข้าวโพด หรือข้าว ในเขตเทือกเขาชาวเปรูมักจะกินซุปเพื่ออบอุ่นร่างกายก่อนออกไปเผชิญความหนาวเย็น อาหารเปรูที่มีชื่อเสียงคือ [[เซบีเช]] ซึ่งมีลักษณะคล้ายยำทะเล โดยนำเนื้อปลาสดหรือกุ้งสดที่หมักในน้ำมะนาวและพริกไทย มาผสมกับหัวหอมซอย
 
เครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ของเปรูคือ ปิสโกซาวร์ (Pisco sour) ซึ่งมีส่วนผสมของเหล้าปิสโก (บรั่นดีที่ทำจากองุ่น) น้ำมะนาว น้ำแข็ง ไข่ขาว และน้ำหวาน ชาวเปรูยังนิยมดื่มเครื่องดื่มจากข้าวโพดสีม่วงที่เรียกว่า ชีชาโมราดา (Chicha morada) อีกด้วย<ref name="Peru">Rob Rachowiecki and Charlotte Beech, Peru, Lonely Planet, 2004, หน้า 42-43 {{en icon}}</ref>
 
ชาว พื้นเมืองนิยมเคี้ยวใบโคคาตากแห้งและดื่มชาโคคามาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาถูกต่อต้านจากนานาชาติ เนื่องจากใบโคคา (ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต[[โคเคน]]) ถูกสหประชาชาติกำหนดให้เป็นยาเสพติดตั้งแต่ พ.ศ. 2504<ref> {{cite web |url=http://www.time.com/time/world/article/0,8599,1722893,00.html|title=Fighting for the Right to Chew Coca|publisher=Time |date=2008-03-17}} {{en icon}}</ref>
 
=== ดนตรีและการเต้นรำ ===
บรรทัด 272:
 
=== เทศกาล ===
เปรู มีเทศกาลมากมายตลอดทั้งปี ซึ่งมีทั้งเทศกาลทางศาสนา เทศกาลเกี่ยวกับประเพณีของอินคา เทศกาลเกี่ยวกับการเกษตร และเทศกาลเพื่อเฉลิมฉลอง เช่น [[คาร์นิวาล]]ที่มีจุดเด่นที่การละเล่นสาดน้ำ [[อินตีไรย์มี]]หรือพิธีเพื่อบูชาพระอาทิตย์ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอินคา [[เซญอร์เดโลสมีลาโกรส]] (ลอร์ดออฟมิราเคิลส์) ซึ่งเป็นพาเรดทางศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น<ref> {{cite web |url=http://www.visitperu.com/festivities.htm|title=Festivals in Peru|publisher=Peru Tourism Bureau}} {{en icon}}</ref>
 
=== กีฬาและการท่องเที่ยว ===