ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกออร์ค คันทอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Robosorne (คุย | ส่วนร่วม)
/* ประวัติวัชรพงษ์ โขวิฑูรกิจ ,ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาล...
Robosorne (คุย | ส่วนร่วม)
/* ประวัติวัชรพงษ์ โขวิฑูรกิจ ,ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาล...
บรรทัด 30:
ขณะเป็นอาจารย์ที่ Halle university นี้เอง คันทอร์ได้รับอิทธิผลของไฮเนซึ่งเป็นอาจารย์อาวุโสประจำมหาวิทยาลัย ทำให้คันทอร์เริ่มเปลี่ยนความสนใจจาก ทฤษฎีจำนวน ไปเป็น [[คณิตวิเคราะห์]] ในปี ค.ศ. 1873 คันทอร์มีผลงานชิ้นสำคัญคือ การพิสูจน์ว่า เซตของจำนวนตรรกยะเป็นเซตนับได้ และในปลายปีเดียวกัน ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่า เซตของจำนวนจริงเป็นเซตที่นับไม่ได้ ซึ่งผลงานทั้งสองนี้ได้รับการตีพิมพ์ในปีถัดมา ในผลงานดังกล่าว คันทอร์ ยังได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ การสมนัยแบบหนึ่งต่อหนึ่งของสมาชิกในเซต เป็นครั้งแรกอีกด้วย ในช่วงปี ค.ศ. 1879 - ค.ศ. 1884 คันทอร์ได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญต่อการพัฒนา[[ทฤษฎีเซต]]อย่างมากถึงหกฉบับลงในวารสาร Mathematische Annalen แต่ถูกนักคณิตศาสตร์บางคนในสมัยนั้นต่อต้าน เพราะมีแนวคิดที่แปลกใหม่จนเกินไป การโจมตีผลงานของคันทอร์ได้ส่งผลกระทบทางจิตใจของคันทอร์ในเวลาต่อมา
 
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1884 คันทอร์ เริ่มมีอาการซึ่มเศร้า และมีอาการเรื้อรังเรื่อยมา จนทำให้เขาเริ่มหันไปสนใจปรัชญาและวรรณคดี ในขณะที่ก็ยังมีผลงานทางด้านคณิตศาสตร์อยู่ นับจากปี ค.ศ. 1899 เป็นต้นมาอาการป่วยของคันทอร์ก็หนักลงเรื่อยๆ จนต้องลาจากการสอนเป็นระยะเพื่อรักษาตัว ในปี ค.ศ. 1911 คันทอร์ได้รับเกียรติในฐานะนักวิชาการต่างชาติไปร่วมงานเฉลิมฉลอง 500 ปี ของ [[มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์]] (University of St. Andrews) แห่ง[[สก็อตแลนด์]] จากนั้นอีกปีหนึ่ง คันทอร์ก็ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนี้เช่นกัน แต่ก้ไม่สามารถเดินทางไปรับได้เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ คันทอร์เกษียณในปี ค.ศ. 1913 และมีอาการป่วยเรื้อรังตลอดเวลา ในปี ค.ศ. 1915 University of Halle มีแผนจะจัดงานฉลองอายุครบ 70 ให้แก่คันทอร์ แต่ก้ต้องยกเลิกเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คันทอร์เสียชีวิตเมื่อ 6 มกราคม ค.ศ. 1918 ที่ประเทศเยอรมนี ด้วยอาการหัวใจวาย รวมอายุได้ 72 ปี
 
[[ดาฟิด ฮิลแบร์ท]] ได้กล่าวยกย่อง คันทอร์ไว้ว่า