ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูนศุข พนมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{Infobox Person
| name = ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
| image = Poonsuk Phanomyong.jpg
| caption =
| birth_name = พูนศุข ณ ป้อมเพชร์
| birth_date = [[2 มกราคม]] [[พ.ศ. 2455]]
| birth_place = [[จังหวัดสมุทรปราการ]] [[ประเทศสยาม]]
| death_date = [[12 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2550]] (95 ปี)
| death_place = [[กรุงเทพมหานคร]] [[ประเทศไทย]]
| residence =
| nationality = ไทย
| known_for = ภริยานายกรัฐมนตรี
| employer =
| occupation =
| height =
| term =
| parents = มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) <br /> คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา
| spouse = [[ปรีดี พนมยงค์|ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์]]
| children = 6 คน
| relatives = [[เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)]]
| signature =
| website =
| footnotes =
}}
'''ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์''' ([[2 มกราคม]] [[พ.ศ. 2455]] - [[12 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2550]]) เป็นภริยาของ [[ปรีดี พนมยงค์|ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์]] รัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ท่านเป็นแบบอย่างของภริยานักการเมืองที่ใช้ชีวิตสมถะ เรียบง่าย เข้มแข็ง กล้าหาญ และให้อภัยเสมอ
บรรทัด 31:
'''ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์''' (สกุลเดิม: [[ณ ป้อมเพชร์]]) เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ตรงกับรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในจวนเจ้าเมือง จ.สมุทรปราการ เป็นธิดาคนที่ 5 ของ [[พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)|มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร)]] อธิบดี[[กรมราชทัณฑ์]]คนแรกของประเทศ<ref>[http://www.sarakadee.com/feature/2000/04/poonsook.htm ช่วงหนึ่งแห่งชีวิต ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์] นิตยสารสารคดี เมษายน พ.ศ. 2543</ref> กับ คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ธิดาของนายดี และนางนิล สุวรรณศร) ได้รับพระราชทานนาม "พูนศุข" จาก[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง]]
 
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ มีศักดิ์เป็น "หลานตา" ของ [[เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)|มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)]] นับเนื่องด้วยมารดาของท่าน คือ คุณหญิงชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (เพ็ง สุวรรณศร) เป็นบุตรีของหลวงแก้วสัสดี (ดี สุวรรณศร) กับนางนิล สุวรรณศร (สุขุม) ซึ่งเป็นพี่สาวของเจ้าพระยายมราช อีกด้านหนึ่ง ท่านผู้หญิงพูนศุขก็มีศักดิ์เป็น "หลานป้า" ของท่านผู้หญิงตลับ สุขุม (พี่สาวของพระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา) ผู้เป็นภริยาของเจ้าพระยายมราช ชีวิตในวัยเด็กของท่านผู้หญิงพูนศุขจึงมีความสนิทสนมและคุ้นเคยกับญาติทาง "บ้านศาลาแดง" เป็นอย่างดี
 
ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา (รวมตัวท่านด้วย) จำนวน 12 คน ดังนี้
บรรทัด 41:
* ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ สมรสกับ [[ปรีดี พนมยงค์|ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์]] นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของประเทศไทย
* นางอัมพา สุวรรณศร (มีศักดิ์เป็นยายของ ผศ.ดร.[[พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ]] ภริยานาย[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย) สมรสกับ ศาสตราจารย์ประมูล สุวรรณศร
* นางเพียงแข สุนทร-วิจารณ์ สมรสกับ ศาสตราจารย์เย็น สุนทร-วิจารณ์
* นางสาวนวลจันทร์ ณ ป้อมเพชร์
* เด็กหญิงเภา ณ ป้อมเพชร์
* นางอุษา สุนทรวิภาต
บรรทัด 53:
ท่านผู้หญิงพูนศุข สมรสกับ นายปรีดี พนมยงค์ ญาติฝ่ายบิดา ดุษฎีบันฑิตหนุ่มทางกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุมากกว่า 11 ปีเมื่อปี พ.ศ. 2472 ขณะมีอายุได้ 17 ปี และยังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยม 7 ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ หลังจากสมรสได้เพียง 3 ปี ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]] มาเป็นระบอบ[[ประชาธิปไตย]] โดยนายปรีดี ผู้เป็นสามีเป็นหนึ่งในผู้ก่อการร่วมด้วย ด้วยเหตุที่เป็นภริยาของผู้ที่เคยเป็นผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเคยเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 หัวหน้า[[ขบวนการเสรีไทย]] [[รัฐบุรุษอาวุโส]] ผู้ประศาสน์การ[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุข เข้าไปอยู่ในหลายเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์การเมืองไทยโดยปริยาย ถูกกลั่นแกล้ง จนต้องระหกระเหินและเผชิญชะตากรรมไม่ต่างไปจากสามี
 
ท่านมีบุตร-ธิดา กับนายปรีดี พนมยงค์ รวมทั้งหมด 6 คน คือ
 
* นางสาวลลิตา พนมยงค์
* [[ปาล พนมยงค์|นายปาล พนมยงค์]] สมรสกับ นางเลิศศรี พนมยงค์ (จตุรพฤกษ์)
* นางสาวสุดา พนมยงค์
* [[ศุขปรีดา พนมยงค์|นายศุขปรีดา พนมยงค์]] สมรสกับ นางจีรวรรณ พนมยงค์ วรดิลก (น้องสาว [[สุวัฒน์ วรดิลก|สุวัฒน์]] และ [[ทวีป วรดิลก]])
* นางดุษฎี บุญทัศนกุล สมรสกับ นายชาญ บุญทัศนกุล
* นางวาณี สายประดิษฐ์ สมรสกับ นายสุรพันธ์ สายประดิษฐ์ (บุตรชาย [[กุหลาบ สายประดิษฐ์]] หรือ "ศรีบูรพา")
 
== เผชิญมรสุมทางการเมือง ==
เมื่อเกิดการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490|รัฐประหารในคืนวันที่ 8 พ.ย. 2490]] คณะรัฐประหารได้นำรถถังบุกยิงถล่มใส่ในบ้านทำเนียบท่าช้าง เพื่อที่จะกำจัดนายปรีดี แต่นายปรีดีได้หลบหนีลงเรือไปก่อนที่คณะรัฐประหารจะบุกเข้ามา และเป็นโชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุขต้องดูแลลูกๆลูก ๆ เพียงลำพัง โดยต้องรับหน้าที่เป็นพ่อและแม่ในคราวเดียวกัน เพราะสามีต้องหนีภัยการเมืองไปต่างประเทศ
 
เมื่อตามจับนายปรีดีไม่ได้ คณะรัฐบาลในขณะนั้นก็หันมาจับท่านผู้หญิงพูนศุข และนายปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตแทน เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2495 ด้วยข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ต้องถูกควบคุมตัวในสถานที่กักกันเป็นเวลานาน 84 วัน นับเป็นการประสบกับมรสุมทางการเมืองครั้งร้ายแรง ท้ายที่สุดภายหลังอัยการสั่งไม่ฟ้องเอาผิด เพราะไม่มีหลักฐาน ก็ได้รับการปล่อยตัว
 
== พบกับรัฐบุรุษอาวุโสอีกครั้ง ==
หลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว ท่านผู้หญิงพูนศุขได้ตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทย ไป[[ประเทศฝรั่งเศส]] [[อังกฤษ]]และ[[ประเทศสวีเดน|สวีเดน]] กระทั่งได้รับข่าวสารจากสามี ก่อนจะตามไปอยู่ด้วยกันที่[[ประเทศจีน]] หลังจากที่ต้องพลัดพรากจากกันนานถึง 5 ปี และอยู่ร่วมกันที่[[ปักกิ่ง|กรุงปักกิ่ง]]เป็นเวลา 16 ปี จึงได้ย้ายไปอยู่บ้านพักหลังเล็กๆเล็ก ๆ ที่ชาน[[ปารีส|กรุงปารีส]] ประเทศฝรั่งเศส จวบจนกระทั่งนายปรีดี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2530 ท่านผู้หญิงพูนศุขจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการถาวร
 
== อนิจกรรม ==
[[ไฟล์:ท่านผู้หญิงพูนศุข.jpg|250px|thumb|ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์]]
ท่านผู้หญิงพูนศุขถึงแก่อนิจกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา 02:04 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ที่[[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]]
หลังจากได้เข้ารักษาอาการโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม<ref>[http://prachatai.com/05web/th/home/8043 สิ้น"ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์"], [[ประชาไท]], 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550, เรียกดูเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550</ref> สิริอายุ 95 ปี 4 เดือน
 
การจัดพิธีไว้อาลัยเป็นไปตามคำสั่งเสียทุกประการ ซึ่งท่านผู้หญิงพูนศุข ได้เขียน "คำสั่ง" กำชับ ด้วยลายมือตนเอง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2541 ขณะมีอายุ 86 ปี 9 เดือน ทั้งสิ้น 10 ข้อ
 
=== คำสั่งถึงลูกๆลูก ๆ ทุกคน ===
เมื่อแม่สิ้นชีวิต ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
:# นำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เมื่อหมอตรวจว่าหมดลมหายใจแล้ว
:# ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆใด ทั้งสิ้น ทั้งสิ้น
:# ประกาศทางวิทยุ และลงหนังสือพิมพ์เพื่อแจ้งข่าวให้ญาติมิตรทราบ
:# ไม่มีการสวดอภิธรรม ทั้งนี้ไม่รบกวนญาติมิตรที่ต้องมาร่วมงาน
:# มีพิธีไว้อาลัยที่[[สถาบันปรีดี พนมยงค์]] โดยนิมนต์พระที่แม่นับถือแสดงธรรมกถา (เช่นเดียวกับที่จัดให้ปาล) และทำบัตรสำหรับหนังสือที่ระลึก
:# ไม่รบกวนญาติมิตร ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ หรือเงินช่วยทำบุญ
:# เมื่อโรงพยาบาลคืนศพมาก็ทำการฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย
:# ให้นำอัฐิและอังคารไปลอยที่[[แม่น้ำเจ้าพระยา|ปากนํ้าปากน้ำเจ้าพระยา]]ซึ่งเป็นสถานที่แม่เกิด
:# หากมีเงินบ้างก็ขอให้บริจาคเป็นทานแก่มูลนิธิต่างๆต่าง ๆ ที่ทำสาธารณกุศล
:# ขอให้ลูกทุกคนปฏิบัติตามที่แม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นผู้หวังดีทั้งหลาย ลูกๆลูก ๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งแม่ จงมีความสุข ความเจริญ
; พูนศุข พนมยงค์
; เขียนไว้ที่บ้านเลขที่ ๑๗๒ สาธร ๓ เมื่อวันที่ ตุลาคม ๒๕๔๑
; แม่มีอายุครบ ๘๖ ปี ๙ เดือน<ref>[http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=48&s_id=15&d_id=15 คำแถลงการณ์ของทายาทท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์], สถาบันปรีดี พนมยงค์</ref>
 
ท่านผู้หญิงพูนศุข เคยกล่าวถึงความรู้สึกของตัวท่านเองว่า "เมื่อฉันรำลึกถึงความหลังคราใด ก็รู้สึกซาบซึ้งที่นายปรีดีได้เสียสละและไม่เห็นแก่ตัว... และอดภูมิใจไม่ได้ว่าเป็นภริยานักการเมืองที่มุ่งบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร โดยมิเคยฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือกอบโกยผลประโยชน์เพื่อตัวเองและครอบครัวเลย... เหตุการณ์มากมายหลายอย่างได้เข้ามาสู่ชีวิตของฉัน ล้วนสอนให้ฉันได้เข้าใจในสัจจะของโลกอย่างแจ่มชัด... ฉันตั้งอยู่ในเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต อโหสิกรรมกับทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ถือโกรธเคืองแค้นใดๆใด ๆ อีก... นั่นคือความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตของฉันแล้ว"
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
* [[ไฟล์:Order of Chula Chom Klao - 2nd Class upper (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]] ชั้น[[ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ]] (ท.จ.ว.) <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/1799.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์], ตอนที่ ๐ ง, เล่ม ๕๖, ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒, หน้า ๑๗๙๙</ref>
* [[ไฟล์:King_Rama_IV_Royal_Cypher_Medal_ (Thailand) _ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญรัตนาภรณ์]] รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1) <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/3020.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์], เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ง, ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑, หน้า ๓๐๒๐ </ref>
 
== เบ็ดเตล็ด ==
บรรทัด 111:
{{เริ่มกล่อง}}
{{สืบตำแหน่ง
| สี1 = Skyblue
| สี2 =
| สี3 = Skyblue
| รูปภาพ =
| ตำแหน่ง = [[รายนามคู่สมรสนายกรัฐมนตรีของไทย|คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย]]
| จำนวนตำแหน่ง =
| ก่อนหน้า = [[เลขา อภัยวงศ์|คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์]]
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป = [[แฉล้ม สุมาวงศ์]]<br>[[ระเบียบ สุมาวงศ์]]<br>[[บรรจง สุมาวงศ์]]
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = [[24 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2489]] - [[23 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2489]]
}}
{{จบกล่อง}}