ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระเบิดเที่ยงแถวตรง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MisterK (คุย | ส่วนร่วม)
MisterK (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 177:
 
=== รอบแบ่งทีมระเบิด ===
รอบนี้จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 8 แผ่นป้าย ด้านหลังจะมีสีส้ม และสีน้ำเงินอย่างละ 3 แผ่นป้าย และป้ายตราดาราหัวหน้าทีมสีส้มและสีน้ำเงิน อีกอย่างละ 1 แผ่นป้าย ดารารับเชิญและผู้ดำเนินรายการร่วมจะเลือกแผ่นป้ายคนละ 1 แผ่นป้าย
เพื่อแบ่งทีมว่าจะอยู่สีใด '''สีเดียวกัน อยู่ทีมเดียวกัน''' และถ้าเปิดเจอป้ายตราหัวหน้าทีม ก็จะได้เป็นหัวหน้าทีมของสีนั้น ๆ โดยถ้าทีมสีใดแพ้ หัวหน้าทีมต้องเข้าโดมระเบิดโดยอัตโนมัติ
 
บรรทัด 196:
 
=== รอบลุ้นระเบิด ===
รอบนี้ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 8 แผ่นป้าย ด้านหลังจะมีสัญลักษณ์แทน "ลูกระเบิด" ซ่อนอยู่ ซึ่งแต่ละป้ายจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องเลือกแผ่นป้ายเพื่อเป็นการ "กำหนดโอกาส" ว่าจะได้เข้าโดมระเบิดมากน้อยแค่ไหน ถ้าจำนวนลูกระเบิดในป้ายที่เลือกน้อย ก็จะมีโอกาสน้อย แต่ถ้าเปิดได้จำนวนลูกระเบิดมาก โอกาสที่จะโดนระเบิดก็มีมากเช่นกัน เกมนี้เริ่มใช้ในรายการตั้งแต่วันที่ [[14 เมษายน]] [[พ.ศ. 2556]]
 
รอบนี้ มีลักษณะอย่างเดียวกันกับรอบ 'วางระเบิด' ของรายการ[[ระเบิดเถิดเทิง]]ในอดีต ซึ่งนับเป็นการกลับมาอีกครั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีเศษของเกมถอดสลักระเบิดที่อยู่คู่กับรายการระเบิดเถิดเทิงมาถึง 13 ปี และนับเป็นการกลับมาอีกครั้งของแผ่นป้ายแบบยืด-หด ที่เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของรายการด้วย อย่างไรก็ดี รอบลุ้นระเบิดมีข้อแตกต่างกับรอบวางระเบิดในอดีต คือ ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะเป็นคนเลือกแผ่นป้ายเอง โดยที่แขกรับเชิญไม่ได้เลือกป้ายให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคน นอกจากนี้ การเปิดแผ่นป้าย ก็จะเปิดทีละคน ไม่ได้เลือกก่อนแล้วค่อยเปิดพร้อมกันด้วย
 
=== รอบโดมระเบิด ===
รอบนี้ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 18 ป้าย ด้านหลังจะมีรูปใบหน้าของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนตามจำนวนลูกระเบิดที่เปิดได้จากรอบลุ้นระเบิด ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้ายเพื่อเลือกผู้ที่จะต้องเข้าโดมระเบิด โดยแขกรับเชิญจะเริ่มต้นเปิดก่อน หากเปิดได้ใครผู้นั้นจะต้องเข้าโดมระเบิด และหากในแผ่นป้ายมีเครื่องหมายบวก ผู้เลือกแผ่นป้ายจะต้องเลือกเปิดต่อไปจนกว่าจะได้รูปหน้าที่ไม่มีเครื่องหมายบวก หลังจากนั้น ผู้ที่ต้องเข้าโดมระเบิดจะต้องเลือกสลักที่จะถอดในโดมระเบิด ซึ่งมีทั้งหมด 4 สลักด้วยกัน หากโดนระเบิด เกมจะจบลงทันที แต่ถ้าไม่โดนระเบิด ผู้ที่เข้าโดมระเบิดนั้นจะได้สิทธิในการเปิดแผ่นป้ายต่อไป และเกมจะวนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้โดนระเบิด ทั้งนี้ หากจบรอบโดนระเบิดแล้ว แขกรับเชิญไม่โดนระเบิด แขกรับเชิญจะได้รับรางวัลเป็นทองคำมูลค่า 10,000 บาท เกมนี้เริ่มใช้ในรายการตั้งแต่วันที่ [[14 เมษายน]] [[พ.ศ. 2556]]
 
รอบนี้ มีลักษณะอย่างเดียวกันกับรอบ 'ถอดสลักระเบิด' ของรายการ[[ระเบิดเถิดเทิง]]ในอดีต ซึ่งนับเป็นการกลับมาอีกครั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีเศษของเกมถอดสลักระเบิดที่อยู่คู่กับรายการระเบิดเถิดเทิงมาถึง 13 ปีด้วย อย่างไรก็ดี ข้อแตกต่างของรอบโดมระเบิดกับรอบถอดสลักระเบิดในอดีตนั้น คือ ประการแรก แขกรับเชิญจะไม่ได้เป็นผู้เลือกแผ่นป้ายเองทุกรอบเหมือนเช่นในเกมถอดสลักระเบิด และจำนวนสลักระเบิด ลดจาก 5 สลักเหลือเพียง 4 สลักเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ ยังมีเรื่องการได้รางวัลของแขกรับเชิญ ซึ่งในเกมถอดสลักระเบิดที่ผ่านมา หากแขกรับเชิญเข้าโดมแต่ละครั้งแล้วไม่โดนระเบิด จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท (หรือมูลค่า 10,000 บาท) ในแต่ละครั้งที่เข้าไป แต่ในรอบโดมระเบิดครั้งนี้ แขกรับเชิญจะต้องรอดจากการโดนระเบิดเสียก่อน จึงจะได้รับรางวัล ฉะนั้น ต่อให้เข้าไปแล้วไม่โดนระเบิด ก็ยังไม่ได้รับรางวัลในทันที