ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุปรากร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 34:
* 5. บทร้องประเภทสอง สาม สี่ และมากกว่านี้ของตัวละคร (Duo, Trio, and Other Small Ensembles) บทร้องที่มีคนร้องสองคนแทนที่จะเป็นคนเดียวในลักษณะของอาเรียเรียกว่า [[ดูโอ]] (Duo) ถ้าเป็น 3 คนร้องเรียกว่า [[ทรีโอ]] (Trio) สี่และห้าคนร้องเรียกว่า [[ควอเต็ต]] (Quartet) และ[[ควินเต็ต]] (Quintet) และอาจมีมากกว่าห้าคนก็ได้ เช่น บทร้อง 6 คน (Sextet) “Lucia” จากเรื่อง Rigoletto เป็นบทร้องที่มีชื่อเสียงของโอเปร่ามาก
* 6. [[วงขับร้องประสานเสียง|บทร้องประสานเสียง]] (Chorus) ในโอเปร่าบางเรื่องที่มีฉากประกอบด้วยผู้เล่นเป็นจำนวนมาก มักจะมีการร้องประสานเสียงเสมอ บทร้องประสานเสียงจากโอเปร่าที่มีชื่อเสียง เช่น “The Anvil Chorus” จาก II Irovatore, “The Pilgrim’s Chorus” จาก “Tannhauser, The Triumphal Chorus” จาก Aida
* 7. [[วงออร์เคสตรา|ออร์เคสตรา]] (Orchestra) วงออร์เคสตรานอกจากจะเล่นโอเวอร์แล้วเชอร์แล้ว ยังใช้ประกอบการร้องในลักษณะต่าง ๆ ในโอเปราตลอดเรื่องในบางครั้งออร์เคสตราจะบรรเลงโดยไม่มีผู้ร้องเพื่อต่อเนื่องการให้การร้องหรือรีซิเททีฟแต่ละตอนต่อเนื่องหรือสร้างอารมณ์ในเนื้อเรื่องให้เข้มข้นขึ้น บางครั้งวงออร์เคสตราจะมีบทบาทในโอเปร่ามากทีเดียว เช่น โอเปร่า ที่แต่งโดยวากเนอร์ มักจะเน้นการบรรเลงของวงออร์เคสตราเสมอ
* 8. ระบำ (Dance) ในโอเปร่าแทบทุกเรื่องมักจะมีบางตอนของฉากใด ฉากหนึ่งที่มีระบำประกอบ โดยทั่วไปการเต้นรำมักเป็นการแสดง[[บัลเลต์]]ที่สวยงาม ซึ่งเป็นของคู่กันโอเปราแบบฝรั่งเศส (French Opera) บางครั้งอาจจะเป็นระบำในลักษณะอื่น ๆ เช่น ระบำพื้นเมือง การเต้นรำแบบต่าง ๆ เช่น วอล์ทซ (Waltz) เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องของโอเปร่า
* 9. องก์ และฉาก (Acts and Scenes) โอเปร่าก็เช่นเดียวกับละครทั่ว ๆ ไป มีการแบ่งเป็นตอน ๆ เรียกว่า องก์ และแบ่งย่อยลงไปเป็นฉาก เช่น คาร์เมน (Carmen) เป็นโอเปร่า ประกอบด้วย 4 องก์ เป็นต้น