ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แนบ พหลโยธิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
เมื่อเดินทางกลับมาถึง[[ประเทศไทย]] นายแนบเป็นผู้ที่ทาบทาม พันเอก [[พจน์ พหลโยธิน|พระยาพหลพลพยุหเสนา]] จเรทหารปืนใหญ่ ให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย และรับสถานะเป็นหัวหน้าคณะราษฎร เนื่องด้วย นายแนบนั้นมีศักดิ์เป็นหลานชายของ พ.อ.พระยาพหลฯ โดยเป็นบุตรชายของ[[พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน)|พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี]] พี่ชายของ พ.อ.พระยาพหลฯ<ref> ''2475 ตอน สองฝั่งประชาธิปไตย'', [[สารคดี]] ทาง[[ทีพีบีเอส]]: [[26 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2555]]</ref>
 
ก่อนการเปลี่ยนแปลงปกครองไม่นาน นายทวี ซึ่งได้ถูกย้ายไปรับราชการอยู่ยังที่[[จังหวัดขอนแก่น]] จึงไม่มีโอกาสได้ติดต่อกับสมาชิกคนอื่น ๆ นายแนบจึงเป็นผู้ส่ง[[โทรเลข]]ไปหา เพื่อแจ้งวัน-เวลาในการปฏิบัติการ<ref>หน้า 100-102, ''ตรัง'' โดย ยืนหยัด ใจสมุทร. (กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2539]] [[กรุงเทพมหานคร]], [[สำนักพิมพ์มติชน]]) ISBN 974-7115-60-3</ref>
 
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว นายแนบได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง [[คณะกรรมการราษฎร]] และ[[สภาผู้แทนราษฎรไทย (ผู้แทนราษฎรชั่วคราว พ.ศ. 2475)|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] (ส.ส.) อันถือเป็นชุดแรก และยังได้รับตำแหน่ง[[รายนามรัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง |รัฐมนตรี (ลอย)]] อีกด้วย แต่ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 ด้วยการประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภา ของ[[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็น[[รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476|ความขัดแย้งกันระหว่างนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกคณะราษฎร]] ซึ่งนายแนบได้พ้นออกจากตำแหน่งพร้อมกับ[[พระยาประมวญวิชาพูล]], [[หลวงเดชสหกรณ์]], นายตั้ว ลพานุกรม และนายปรีดี พนมยงค์ ก่อนที่จะกลับมารับตำแหน่งอีกครั้งหลังการ[[รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหารเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476]] โดยการนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา<ref>''12 เมษายน'', คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศรษฐบุตร รศ. หน้า 8 บทความ-การ์ตูน. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,192: ศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง</ref>