ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศสยาม เมษายน พ.ศ. 2476"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
เนรเทศต้องมีคำสั่งเป็นทางการ
บรรทัด 7:
{{คำพูด|...ในคณะรัฐมนตรี ณ บัดนี้ เกิดการแตกแยกเป็น ๒ พวก มีความเห็นแตกต่างกัน ความเห็นข้างน้อยนั้นปรารถนาที่จะวางนโยบายเศรษฐกิจไปในทางอันมีลักษณะเป็นคอมมิวนิสต์ ความเห็นข้างมากนั้นเห็นว่านโยบายเช่นนั้นเป็นการตรงกันข้ามแก่ขนบประเพณีชาวสยาม และ เป็นที่เห็นได้โดยแน่นอนทีเดียวว่านโยบายเช่นนั้น จักนำมาซึ่งความหายนะแก่ประชาราษฎร และเป็นมหันตภัยแก่ความมั่นคงของประเทศ...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลานี้เล่า ก็ประกอบขึ้นด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ สภานี้มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ จนกว่าจะมีสภาใหม่โดยราษฎรเลือกตั้งสมาชิกขึ้นมา สภาประกอบด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นมาชั่วคราวเช่นนี้ หาควรที่ไม่จะเพียรวางนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงของเก่าอันมีใช้อยู่ประดุจการพลิกแผ่นดิน ส่วนสภาในเวลานี้จะอ้างว่าไม่ได้ทำ หรือยังไม่ได้ทำกฎหมายอันมีลักษณะไปในทางนั้นก็จริงอยู่ แต่เป็นที่เห็นได้โดยชัดเจนแจ่มแจ้งว่าสมาชิกเป็นจำนวนมากคน มีความปรารถนาที่จะทำเช่นนั้น และมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อรัฐมนตรีอันมีจำนวนข้างน้อยในคณะรัฐมนตรี...}}
 
สำหรับตัวพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเองนั้น ไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ คณะนายทหารที่สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ ฯ จึงขู่ฝ่ายที่สนับสนุนนายปรีดีว่า จะพกปืนเข้าที่ประชุมสภา ฯ และยกพวกไปล้อมบ้านพักของนายปรีดี เป็นเหตุให้ต้องใช้พระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ '''รัฐประหารเงียบ''' พร้อมบีบบังคับด้วยการเนรเทศให้นายปรีดีย้ายไปอยู่ที่[[ประเทศฝรั่งเศส]] และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกมาใช้ด้วย มีการกวาดล้างจับกุมชาว[[เวียดนาม]]ที่สงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันคณะกรรมการ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย|พรรคคอมมิวนิสต์สยาม]]ก็ถูกจับและถูกจำคุก ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏร์เอง อาทิ นายปรีดี พนมยงค์ พันโท [[แปลก พิบูลสงคราม|หลวงพิบูลสงคราม]] เป็นต้น
 
เหตุความขัดแย้งขึ้นยังคงดำเนินต่อมา นำไปสู่การปิด[[หนังสือพิมพ์]]บางฉบับ จนทำให้เกิดเหตุ[[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหารในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476]] ซึ่งคณะนายทหารคณะราษฎรได้รัฐประหารรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เรียกตัวนายปรีดีกลับมา และเนรเทศพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไป[[ปีนัง]]แทนด้วย[[รถไฟ]] และถึงแก่กรรมที่นั่นในที่สุด สำหรับพระยาทรงสุรเดช นี่เป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งที่นำไปสู่การกล่าวหาในเหตุการณ์[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]]ต่อไป