ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าเซโจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 45:
พระเจ้าเซโจทรงเห็นกษัตริย์พระองค์ก่อนเป็นตัวอย่างของการที่กษัตริย์ตกอยู๋ใต้อำนาจของขุนนาง พระเจ้าเซโจเชื่อว่ากษัตริย์ได้รับอาณัติจากสวรรค์ให้มาปกครองประชาชน<ref>http://www.koreaaward.com/kor/history/131</ref> จึงทรงพยายามขยายอำนาจของกษัตริย์มิให้ถูกจำกัดโดยพวกขุนนาง ทันทีหลังจากขึ้นครองราชสมบัติ ทรงยุบสภา''อีจอง'' หรือสภาองคมนตรี (의정부, 議政府) อันเป็นสภาสูงสุดรองจากกษัตริย์ และทรงนำเอาหกกระทรวง (육조, 六曹) เข้ามาควบคุมโดยตรง
 
พระเจ้าเซโจทรงกักขัง''แทซังวัง''เอาไว้ในพระราชวังเพื่อจับตาดูอย่างใกล้ชิด ขณะที่ขุนนางทั้งหลายในจีพยอนจอนต่างพากันเห็นพ้องต้องกันว่าการยึดอำนาจของพระเจ้าเซโจนั้นเป็นไปโดยขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง และวางแผนก่อการกบฏเพื่อยึดอำนาจคืนให้กับ''แทซังวัง'' คณะผู้ก่อการประกอบด้วยขุนนางหกคน ในค.ศ. 1456 ราชทูตราชวงศ์หมิงมาเยือนขุนนางทั้งหกจึงพยายามจะใช้โอกาสนี้ในการยึดอำนาจ<ref>http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C09/E0902.htm</ref>แต่ไม่สำเร็จถูกพระเจ้าเซโจทรงจับได้ พระเจ้าเซโจทรงให้ประหารขุนนางทั้งหก ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องเป็น ''ขุนนางผู้พลีชีพทั้งหก'' (사육신, 死六臣) รวมทั้งครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องเป็นการสังหารหมู่ที่โหดร้าย และทำให้พระเจ้าเซโจทรงตัดสินพระทัยยุบจีพยอนจอน อันเป็ฯเป็นที่ซ่องสุมของขุนนางที่ต่อต้านพระองค์ไปเสีย และต่อมาในค.ศ. 1457 ทรงให้ลดพระเกียรติยศของ''แทซังวัง''ลงเป็น องค์ชายโนซาน (노산군, 魯山君) และเนรเทศไปมณฑลคังวอน รวมทั้งปลดพระราชมารดาขององค์ชายโนซานที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว คือ พระมเหสีฮย็อนดอก (현덕왕후, 顯德王后) ออกจาตำแหน่ง เพราะวิญญาณของนางตามหลอกหลอนองค์ชายรัชทายาทพระโอรสของพระเจ้าเซโจ จนประชวรและสิ้นพระชนม์ ได้รับพระนามว่า องค์ชายรัชทายาทอีกยอง (의경세자, 懿敬世子)
 
เหตุการณ์การกบฏของหกขุนนางทำให้เกิดกลุ่มนักปราชญ์ขึ้นมาใหม่ คือ นักปราชญ์กลุ่มซาริม (사림파, 士林派) คือ กลุ่มขุนนางที่ถูกเนรเทศและกีดกันจากวงราชการด้วยภัยทางการเมือง หรือเลือกที่จะจงรักภักดีต่อกษัตริย์พระองค์เดียว อาศัยอยู่ตามป่าเขาอันห่างไกลตำหนิราชสำนักเรื่องการบริหารบ้านเมืองต่างๆ เช่น ''กลุ่มขุนนางผู้รอดชีวิตทั้งหก'' (생육신, 生六臣) ซึ่งยึดหลักไม่รับใช้สองเจ้า (불사이군, 不事二君) ขณะที่ในราชสำนักขุนนางที่สนับสนุนพระเจ้าเซโจในการขึ้นครองบัลลังก์เช่น ฮันมยองฮี และ ชินซุกจู (신숙주, 申淑舟) เรืองอำนาจ เรียกว่า กลุ่มขุนนางเก่า หรือฮุนกู (훈구파, 勳舊派) และในอนาคตขุนนางกลุ่มซาริมจะพยายามกลับคืนเข้าสู่ราชสำนักอีกครั้ง ทำให้ประวัติศาสตร์เกาหลีในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้าเป็นเรื่องของการพยายามกลับคืนสู่ราชการของขุนนางซาริมและการต่อต้านจากกลุ่มขุนนางเก่า