ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาสนวิหารแล็สการ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41:
 
มหาวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็น[[อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส|อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์]] เมื่อปี[[ค.ศ. 1840]]<ref>[http://www.culture.gouv.fr/public/mistral/merimee_fr?ACTION=CHERCHER&FIELD_1=REF&VALUE_1=PA00084433] Base Mérimée - กระทรวงวัฒนธรรมแห่งฝรั่งเศส</ref>
 
==ประวัติ==
มหาวิหารเริ่มก่อสร้างส่วนแรกใน[[บริเวณร้องเพลงสวด]]ในปี[[ค.ศ. 1120]] โดยความสนับสนุนของมุขนายก'''กี เดอ ลง (Guy de Lons)''' ต่อมาได้กลายเป็นสุสานหลวงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และต่อมาได้เสื่อมโทรมลงภายหลังจากการปฏิรูปศาสนาครั้งใหญ่ภายใต้การปกครองของ'''แฌน ดาเบร (Jeanne d'Albret)''' ก่อนที่จะถูกโจมตีอย่างหนักโดยกองกำลังฝ่าย[[โปรเตสแตนท์]]นำโดย '''กาบรีเอลที่ 1 แห่งมงโกเมอรี (Gabriel Ier de Montgommery)'''
 
ต่อมาได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 [[บริเวณร้องเพลงสวด]]เป็นสถาปัตยกรรมแบบ[[สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์|โรมาเนสก์]] [[บริเวณกลางโบสถ์]]เป็น[[โครงสร้างทรงโค้ง|เพดานโค้งแบบครึ่งวงกลม]] บริเวณ[[ทางเดินข้าง]]เป็นเพดานตรงสันโค้งทรงประทุน ยอดหัวเสาตกแต่งเป็นฉากเรื่องราวของ[[หนังสือดาเนียล|ดาเนียล (ผู้เผยพระวจนะ)]] [[การประสูติของพระเยซู]] และ[[อับราฮัม|การเสียสละของอับราฮัม]] [[บริเวณร้องเพลงสวด]]ปูพื้นด้วยงานกระเบื้อง[[โมเสก]]ในสมัย[[คริสต์ศตวรรษที่ 12]] เป็นฉากการล่าสัตว์ อีกทั้งยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเฟรสโก้งานสมัย[[คริสต์ศตวรรษที่ 17]] ในบริเวณใกล้เคียงด้วย
 
==สุสานหลวง==
ตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา มหาวิหารแห่งนี้ได้กลายเป็นสุสานหลวงประจำ[[ราชอาณาจักรนาวาร์|กษัตริย์แห่งนาวาร์]] โดยเริ่มจากพระเจ้าฟร็องซัว เฟบุสแห่งนาวาร์ ในปีค.ศ. 1483 ตามด้วยพระนางคัทเธอรีน พระราชินีแห่งนาวาร์ และพระราชสวามี [[พระเจ้าฌ็องที่ 3 แห่งนาวาร์]] และพระราชบุตรและธิดาอีกหลายพระองค์ รวมถึง[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งนาวาร์]] และพระราชินีมาร์เกอริท แห่งนาวาร์ ซึ่งทั้งสองพระองค์มีฐานะเป็นพระราชอัยกาและอัยยิกาของ[[พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส]]
 
อนุเสาวรีย์ต่างๆที่ใช้ประกอบสุสานหลวงซึ่งสั่งทำโดย[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งนาวาร์]]สันนิษฐานว่าถูกทำลายโดยฝ่ายโปรเตสแตนท์ และทำให้เพดานของสักการสถานแห่งนี้ถล่มลงในปีค.ศ. 1599 ทำให้ในไม่เหลือสภาพให้เห็น แต่หลังจากการขุดสำรวจในปีค.ศ. 1928-1929 ทำให้สามารถพบถึงบริเวณที่ตั้งของหลุมฝังพระศพ<ref>Victor Dubarat, "Découverte des tombeaux des rois de Navarre à Lescar", dans Revue d'histoire de l'Église de France, vol. 17, 1931, pp. 450-463</ref>
 
 
==อ้างอิง==