ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่นากพระโขนง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Redakie (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Shrinetomaenak.jpg|thumb|200px|ศาลแม่นากพระโขนง ในวัดมหาบุศย์ ซอยสุขุมวิท 77 ([[ถนนอ่อนนุช]]) ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ใน[[เขตสวนหลวง]]มิใช่[[เขตพระโขนง]]]]
 
'''แม่นากพระโขนง''' หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า '''แม่นาก''' (บ้างก็สะกดด้วย ค.ควาย) เป็น[[ผีตายทั้งกลม]]ที่เป็นที่รู้จักกันดีของ[[ไทย]] เชื่อว่าเรื่องของนางเกิดขึ้นจริงในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ปัจจุบันมี ศาลแม่นากตั้งอยู่ที่ [[วัดมหาบุศย์]] [[เขตสวนหลวง]] [[กรุงเทพมหานคร]]
 
== เรื่องเล่า ==
บรรทัด 12:
ครั้นเมื่อนายมากกลับมาอยู่ที่บ้าน ผีนางนากก็คอยพยายามรั้งนายมากให้อยู่ที่บ้านตลอดเวลา ไม่ให้ออกไปพบใคร เพราะเกรงว่านายมากจะรู้ความจริงจากชาวบ้าน นายมากก็เชื่อเมีย เพราะรักเมีย ไม่ว่าใครที่มาพบเจอนายมากจะบอกนายมากอย่างไร นายมากก็ไม่เชื่อว่าเมียตัวเองตายไปแล้ว จนวันหนึ่งขณะที่นางนากตำน้ำพริกอยู่บนบ้าน นางนากทำมะนาวตกลงไปใต้ถุนบ้าน ด้วยความรีบร้อน นางจึงเอื้อมมือยาวลงมาจากร่องบนพื้นเรือนเพื่อเก็บมะนาวที่อยู่ใต้ถุนบ้าน นายมากขณะนั้น บังเอิญผ่านมาเห็นพอดี จึงปักใจเชื่ออย่างเต็มร้อย ว่าเมียตัวเองเป็นผีตามที่ชาวบ้านว่ากัน
 
นายมากวางแผนหลบหนีผีนางนาก โดยการแอบเจาะตุ่มใส่น้ำให้รั่วแล้วเอาดินอุดไว้ ตกกลางคืนทำทีเป็นไปปลดทุกข์เบา แล้วแกะดินที่อุดตุ่มไว้ให้น้ำไหลออกเหมือนคนปลดทุกข์เบา จากนั้นจึงแอบหนีไป นางนากเมื่อเห็นผิดสังเกตจึงออกมาดู ทำให้รู้ว่าตัวเองโดนหลอก จึงตามนายมากไปทันที นายมากเมื่อเห็นผีนางนากตามมาจึงหนีเข้าไปหลบอยู่ในดง[[หนาด]] นางนากไม่สามารถทำอะไรได้เพราะผีกลัวใบหนาด นายมากหนีไปพึ่งพระที่วัด นางนากไม่ลดละพยายาม ด้วยความที่เจ็บใจชาวบ้านที่คอยยุแยงตะแคงรั่วผัวตัวเองอีกประการหนึ่ง ทำให้นางนากออกอาละวาดหลอกหลอนชาวบ้านจนหวาดกลัวกันไปทั้งบาง ซึ่งความเฮี้ยนของนางนาก ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ถูกฝังไว้ระหว่างต้นตะเคียนคู่นั่นเอง ในที่สุด นางนากก็ถูกหมอผีฝีมือดีจับใส่หม้อถ่วงน้ำ จึงสงบไปได้พักใหญ่
 
จนกระทั่งตายายคู่หนึ่งที่ไม่รู้เรื่องเพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่ เก็บหม้อที่ถ่วงนางนากได้ขณะทอดแหจับปลา นางนากจึงถูกปลดปล่อยออกมาอีกครั้ง แต่สุดท้ายก็ถูก[[สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)]] สยบลงได้ กะโหลกศีรษะส่วนหน้าผากของนางนากถูกเคาะออกมาทำหัว[[ปั้นเหน่ง]] เพื่อเป็นการสะกดวิญญาณ และนำนางนากสู่สุคติ หลังจากนั้น ปั้นเหน่งชิ้นนั้นก็ตกทอดไปยังเจ้าของอื่น ๆ อีกหลายมือ ตำนานรักของนางนาก นับเป็นตำนานรักอีกเรื่องหนึ่งที่ประทับใจผู้ฟังอย่างไม่รู้จบ กับความรักที่มั่นคงของนางนากที่มีต่อสามี ที่แม้แต่ความตายก็มิอาจพรากหัวใจรักของนางไปได้
 
== ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ ==
[[เอนก นาวิกมูล]] ผู้ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ไทยได้ค้นคว้าเอกสารร่วมสมัยเกี่ยวกับเรื่องแม่นากพระโขนงนี้ พบว่า จาก[[หนังสือพิมพ์]]สยามประเภทฉบับวันที่ [[10 มีนาคม ]] [[พ.ศ. 2442]] ของ [[ก.ศ.ร. กุหลาบ]] น่าจะมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในปลายรัชสมัย[[รัชกาลที่ 3]] ของ อำแดงนาก ลูกสาวกำนันตำบลพระโขนงชื่อ ขุนศรี ที่ตายลงขณะยังตั้งท้อง และทางฝ่ายลูก ๆ ของอำแดงนากก็เกรงว่าบิดาของตน (สามีแม่นาก) จะไป[[แต่งงาน]]มีภรรยาใหม่ และต้องถูกแบ่งทรัพย์สิน จึงรวมตัวกันแสร้งทำเป็นผีหลอกผู้คนที่ผ่านไปมาด้วยการขว้าง[[หิน]]ใส่[[เรือ]]ผู้ที่สัญจรไปมาในเวลากลางคืนบ้าง หรือทำวิธีต่าง ๆ นานา เพื่อให้คนเชื่อว่าผีของมารดาตนเองเฮี้ยน และพบว่าสามีของอำแดงนาก ไม่ใช่ชื่อ มาก แต่มีชื่อว่า นายชุ่ม ทศกัณฐ์ (เพราะเป็น[[นักแสดง]]ในบท [[ทศกัณฐ์]]) และพบว่า คำว่า แม่นาก เขียนด้วยตัวสะกด [[ก|ก ไก่]] (ไม่ใช่ [[ค|ค ควาย]]) <ref>[http://play.kapook.com/vdo/show-63621 [[วิดีโอคลิป]]รายการบางอ้อ ตอน ปั้นเหน่ง แม่นาค จาก[[กระปุกดอตคอม]]]</ref>แต่การที่สามีแม่นากได้ชื่อเป็น มาก เกิดขึ้นครั้งแรกจากบทประพันธ์เรื่อง ''"อีนากพระโขนง"'' ซึ่งเป็นบท[[ละครเพลง|ละครร้อง]] ในปี [[พ.ศ. 2454]] โดย [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์]] <ref>[http://play.kapook.com/vdo/show-63620 วิดีโอคลิปรายการบางอ้อ ตอน ปั้นเหน่ง แม่นาค จากกระปุกดอตคอม]</ref>
 
และ [[กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์]] เคยทรงครอบครองกระดูกหน้าผากของแม่นากนี้ด้วยเช่นกัน โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้นำมาถวาย<ref>เจนจบ ยิ่งสุมล. (ตุลาคม 2553). '''๑๓๐ ปี ไม่มีวันตาย พลเรือเอกพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์'''. สำนักพิมพ์ DK พับลิชิ่ง. ISBN 978-616-7327-07-5. หน้า 45</ref>
 
== ความเชื่อของคนไทย ==
เรื่องราวของแม่นากพระโขนง ปรากฏอยู่ทั่วไปตามความเชื่อของ[[คนไทย]]ร่วมสมัยและตราบจนปัจจุบัน เช่น เชื่อว่าชื่อ[[สี่แยกมหานาค]] ที่[[เขตดุสิต]]ในปัจจุบัน มาจากการที่แม่นากอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย หรือ เชื่อว่าพระรูปที่มาปราบแม่นากได้นั้นคือ [[สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)]] เป็นต้น อีกทั้งยังเชื่อว่า ท่านเป็นคนเจาะกะโหลกที่หน้าผากของแม่นากทำเป็นปั้นเหน่ง เพื่อสะกดวิญญาณแม่นาก และได้สร้างห้องเพื่อเก็บปั้นเหน่งชิ้นนี้ไว้ต่างหาก หรือ[[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] ก็ยังได้เขียนบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อ [[พ.ศ. 2468]] ซึ่งเป็นสมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก ท่านเคยเห็นเรือนของแม่นากด้วย เป็นเรือนลักษณะเหมือน[[เรือนไทยภาคกลาง]]ทั่วไปอยู่ติดริม[[คลองพระโขนง]] มีเสาเรือนสูง มี[[ห้องครัว]]อยู่ด้านหลัง ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว
 
ถึงอย่างไร ความเชื่อเรื่องแม่นากพระโขนง ก็ยังปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทย ณ วัดมหาบุศย์ [[เขตสวนหลวง]] ปัจจุบันนี้ มีศาลแม่นากตั้งอยู่ ซึ่งเป็นที่สักการบูชาอย่างมากของบุคคลในและนอกพื้นที่ โดยบุคคลเหล่านี้จะเรียกแม่นากด้วยความเคารพว่า "ย่านาก" บ้างก็เชื่อกันว่าแม่นากได้ไปเกิดใหม่แล้ว
บรรทัด 31:
 
== การแสดงและบทประพันธ์ ==
เรื่องราวของแม่นากพระโขนง ได้กลายมาเป็นบทประพันธ์ในรูปแบบการแสดงเป็นครั้งแรก เป็นบท[[ละครเพลง|ละครร้อง]] ในปี [[พ.ศ. 2454]] ในชื่อ ''"อีนากพระโขนง"'' โดย [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์]] แสดงที่[[โรงละครปรีดาลัย]] ([[โรงเรียนตะละภัฏศึกษา]]ในปัจจุบัน) ได้รับความนิยมอย่างมากจนต้องเปิดการแสดงติดต่อกันถึง 24 คืน<ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=80826 ตำนาน “ปรีดาลัย”]</ref>
 
ในทางบันเทิง เรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้ถูกสร้างเป็น[[ละครโทรทัศน์]] [[ละครวิทยุ]] และ[[ภาพยนตร์]]หลายต่อหลายครั้ง ในรอบหลายปี โดยเรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้นำมาสร้างภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2470 โดย [[หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์]] แต่พอสร้างแล้วฉายจนฟิล์มเปื่อย ฟิล์มก็หล่นหายสาบสูญไปอย่างน่าเสียดาย<ref>รายการ [[คุณพระช่วย]] ตอน เปิดตำนานแม่นากพระโขนง ตอนที่ ๑ ออกอากาศเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554</ref> อีกทั้งยังสร้างเป็นละครหรือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนก็เคยมาแล้ว เช่น [[ละครเวที]][[โอเปร่า]]อำนวยการแสดงโดย [[สมเถา สุจริตกุล]] ในปี [[พ.ศ. 2545]]
 
== แม่นากพระโขนงในสื่อต่าง ๆ ==
บรรทัด 40:
=== ภาพยนตร์ ===
[[ไฟล์:แม่นาค.jpg|thumb|250px|right|ฉากในภาพยนตร์เรื่อง [[นางนาก]] ([[พ.ศ. 2542]])]]
* นางนาคพระโขนง - [[พ.ศ. 2479]] (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ, กำกับโดย [[หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์]])
* ลูกนางนาค/ลูกนางนาคพระโขนง - [[พ.ศ. 2493]] (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ)
* นางนาคพระโขนง - [[พ.ศ. 2495]] (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ)
บรรทัด 54:
* แม่นาคบุกโตเกียว - [[พ.ศ. 2519]] นำแสดงโดย [[อุเทน บุญยงค์]], [[ภาวนา ชนะจิต]], [[อรสา พรหมประทาน]]
* แม่นาคพระโขนง - [[พ.ศ. 2521]] นำแสดงโดย [[สมบัติ เมทะนี]], [[ปรียา รุ่งเรือง]], [[เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์]]
* นางนาค ภาคพิสดาร - [[พ.ศ. 2528]] นำแสดงโดย [[โน้ต เชิญยิ้ม]], [[สีดา พัวพิมล]]
* แม่นาค 30 - [[พ.ศ. 2530]] นำแสดงโดย [[โน้ต เชิญยิ้ม]], สีดา สุทธิรักษ์, ยอด นครนายก, [[ท้วม ทรนง]], [[เด๋อ ดอกสะเดา]], [[เหี่ยวฟ้า]]
* แม่นาคคืนชีพ - [[พ.ศ. 2533]] นำแสดงโดย [[ลิขิต เอกมงคล]], [[ชุดาภา จันทร์เขตต์]]
* แม่นาคเจอผี[[ปอบ]]- [[พ.ศ. 2535]] นำแสดงโดย [[ตรีรัก รักการดี]], [[ณัฐนี สิทธิสมาน]]
* แม่นาคพระโขนง - [[พ.ศ. 2537]] นำแสดงโดย [[ดาริน กรสกุล]], [[รอน บรรจงสร้าง]]
* [[นางนาก]] - [[พ.ศ. 2542]] นำแสดงโดย [[ทราย เจริญปุระ]], [[วินัย ไกรบุตร]]
* [[นาค รักแท้ / วิญญาณ / ความตาย ]] - [[พ.ศ. 2548]] นำแสดงโดย [[ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์]], [[ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์]]
บรรทัด 66:
 
=== ละครโทรทัศน์ ===
* แม่นาคพระโขนง - [[พ.ศ. 2522]] ออกอากาศทาง [[ช่อง 7]] นำแสดงโดย [[ปริศนา วงศ์ศิริ]], [[ชานนท์ มณีฉาย]]
* แม่นาคพระโขนง - [[พ.ศ. 2532]] ออกอากาศทาง [[ช่อง 3]] นำแสดงโดย [[ตรีรัก รักการดี]], [[เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์]]
* แม่นาคพระโขนง - [[พ.ศ. 2537]] ออกอากาศทาง [[ช่อง 5]] นำแสดงโดย [[ลีลาวดี วัชโรบล]], [[วรุฒ วรธรรม]]
* แม่นาคพระนคร - [[พ.ศ. 2539]] ออกอากาศทาง [[ช่อง 7]] นำแสดงโดย [[กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ]], [[นุติ เขมะโยธิน]]
บรรทัด 74:
 
=== ละครวิทยุ ===
* นางนาคพระโขนง - โดย [[หม่อมหลวงเปลื้อง อิศรางกูร]]
* แม่นาคพระโขนง - โดย [[คณะเกศทิพย์]] (จำนวน 20 ตอน)
* วิญญาณรักของแม่นาค - โดย คณะแก้วฟ้า
* แม่นาคพระโขนง - โดย คณะ[[กันตนา]]
* นางนาก - โดย คณะ ๒๑๓ การละคร
* แม่นาคพระโขนง - โดย คณะรังสิมันต์
* แม่นาคพระโขนง - โดย คณะเสนีย์ บุษปะเกศ
* แม่นาค - โดย คณะมิตรมงคล
* แม่นาคพระโขนง - โดย คณะผาสุกวัฒนารมย์
* แม่นาคพระโขนง - โดย คณะนีลิกานนท์
 
=== ละครเวที ===
บรรทัด 94:
* สยามประเภท - [[พ.ศ. 2442]] โดย [[ก.ศ.ร. กุหลาบ]]
* นากพระโขนงที่สอง - [[พ.ศ. 2467]] โดย [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (หนึ่งในตอนของนิทานทองอิน)
* ดาม นางนากฉบับบางกอกการเมือง - [[พ.ศ. 2470]] โดย [[ขุนชาญคดี]]
* กลอนแปดแม่นาคพระโขนง - หนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ ปี [[พ.ศ. 2475]] โดย [[ประภาศรี]]
* ผีอีนากพระโขนง - นิยาย ปี [[พ.ศ. 2481]]
* นางนาคพระโขนง - นิยายตลกชุด [[สามเกลอ]] ปี [[พ.ศ. 2495]] โดย [[ป. อินทรปาลิต]]
* แม่นากพระโขนง - นิยายภาพ [[พ.ศ. 2503]] โดย [[ประพัฒน์ ตรีณรงค์]]
* นิยายเรื่องแม่นาคพระโขนง - (ไม่มีข้อมูลผู้แต่งและปีพิมพ์)
* การ์ตูน แม่นาคพระโขนง - (ไม่มีข้อมูลผู้แต่งและปีพิมพ์)