ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หุย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
สังคายนาวิกิพีเดียไทยรอบ 2 +เก็บกวาดด้วยสจห.เก็บกวาด Removed 1 sitelink(s) migrated to an item on [[WP:WDATA|Wikida...
บรรทัด 1:
{{ตรวจลิขสิทธิ์}}
{{รอการตรวจสอบ}}
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{Infobox Ethnic group
| group = หุย حُوِ ذَو <br />{{lang|zh|回族}} (Huízú)
| image = [[ไฟล์:Hui man at Daqingzhen Si.jpg|250px]]
| caption = ชาวหุยหน้ามัสยิดต้าชิงเจิน
| poptime = =10&nbsp;ล้านคน<ref>[http://www.china.org.cn/english/features/EthnicGroups/136917.htm China - The Hui Ethnic Group]</ref>
| regions = [[เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย]] [[มณฑลกานซู]] [[มณฑลชิงไห่]] [[เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์]] [[ปักกิ่ง]] [[เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน]] [[มณฑลเหอเป่ย]] [[มณฑลยูนนาน]] <br />{{flagicon|China}} [[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]
|languages languages = [[ภาษาจีน]]
|religions religions = [[ศาสนาอิสลาม]]
}}
}}http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=oUeQmUtUUXk
'''ชาวหุย''' ([[ภาษาจีน|จีน]]:回族;[[พินอิน]]:Huízú, [[ภาษาอาหรับ|อาหรับ]]:هوي) เป็น[[มุสลิม]]กลุ่มหนึ่งใน[[ประเทศจีน]] มีประชากร 9.82 ล้านคน มีประชากรเพียงหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมดใน[[เขตปกครองตนเองหุยหนิงเซี่ย]] ชาวหุยก็คือชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวหุยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ทุรกันดารทางตอนใต้ของเขตปกครองตนเอง ถึงแม้ว่าชาวหุยจะเป็นมุสลิม นับถือ[[อิสลาม]] แต่ในปัจจุบันการแยกความแตกต่างของชาวหุยกับชาวจีน[[ฮั่น]]โดยใช้ศาสนาค่อนข้างจะยากอยู่ ชาวหุยที่เป็นผู้ชายจะสวมหมวกสีขาว ส่วนผู้หญิงชาวหุยบางคนในปัจจุบันยังคงใส่ม่านบังหน้า ชาวหุยหลายคนที่ไม่คิดว่าคำว่า "[[เมกกะ]]" มีความสำคัญแต่อย่างใด แต่ใน[[ประเทศไทย]]ชาวจีนที่นับถืออิสลาม จะเรียกว่า ''"[[จีนฮ่อ]]"'' ใน[[พม่า]]จะเรียกว่า ''"ปันทาย"'' (Panthay) และชาวจีนมุสลิมที่อยู่ในเอเชียกลางจะถูกเรียกว่า ''"ดันกัน"'' (Dungans;дунгане) เป็นที่รู้กันดีในประเทศจีนว่า ชาวหุย หรือ ชาวจีนมุสลิม เป็นกลุ่มชนที่อดทนและกล้าหาญอย่างยิ่ง บรรพบุรุษของพวกเขาฟันฝ่าภยันตรายข้ามน้ำข้ามทะเลจากคาบสมุทรอารเบียและแผ่นดินเปอร์เซียมาค้าขายยังจักรวรรดิจีน เมื่อพวกเขาตั้งรกรากสืบลูกหลานในประเทศจีนแล้ว ศิลปวัฒนธรรมของจีนอย่างหนึ่งที่ชาวหุยนิยมชมชอบเป็นพิเศษคือ ศิลปะการป้องกันตัวของจีนที่เรียกว่า กังฟู หรือ วูซู หรือ อู่ซู่ เช่น กังฟูประเภท ซุยเจียว (Shuai Chiao หรือ มวยปล้ำจีน), เผ่าเฉวียน (Pao Quan), ทงเป่ยเฉวียน (Tong Bei Quan), ลิ่วเหอเฉวียน (Liu He Quan), ไท่จี๋เฉวียน (Tai Tzu Chang Quan), ปาจี๋เฉวียน (Baji Quan), พิกั้วเฉวียน (Piqua Quan)
 
ชาวหุยพยายามฝึกปรือจนเป็นเลิศในด้านกังฟู และในที่สุดพวกเขาก็พัฒนาสไตล์กังฟูของตัวเองขึ้นมาจนโด่งดังถึงทุกวันนี้เช่น ชาเฉวียน (Cha Quan), หัวเฉวียน (Hua Quan), ถานถุ้ย 10 ท่า (10 Routine Tan Tui หรือ Tom Toy), ลิ่วลู่ต้วนเฉวียน (Liu Lu Duan Quan), โถ่ยเฉวียน (Toi Quan), หยงชานเฉวียน (Yong Chan Quan) ซึ่งสไตล์เหล่านี้ชาวหุยปรับปรุงมาจากวูซูดั้งเดิมต่างๆต่าง ๆ ของทางเหนือ
'''ชาวหุย''' ([[ภาษาจีน|จีน]]:回族;[[พินอิน]]:Huízú,[[ภาษาอาหรับ|อาหรับ]]:هوي) เป็น[[มุสลิม]]กลุ่มหนึ่งใน[[ประเทศจีน]] มีประชากร 9.82 ล้านคน มีประชากรเพียงหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมดใน[[เขตปกครองตนเองหุยหนิงเซี่ย]] ชาวหุยก็คือชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวหุยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ทุรกันดารทางตอนใต้ของเขตปกครองตนเอง ถึงแม้ว่าชาวหุยจะเป็นมุสลิม นับถือ[[อิสลาม]] แต่ในปัจจุบันการแยกความแตกต่างของชาวหุยกับชาวจีน[[ฮั่น]]โดยใช้ศาสนาค่อนข้างจะยากอยู่ ชาวหุยที่เป็นผู้ชายจะสวมหมวกสีขาว ส่วนผู้หญิงชาวหุยบางคนในปัจจุบันยังคงใส่ม่านบังหน้า ชาวหุยหลายคนที่ไม่คิดว่าคำว่า "[[เมกกะ]]" มีความสำคัญแต่อย่างใด แต่ใน[[ประเทศไทย]]ชาวจีนที่นับถืออิสลาม จะเรียกว่า ''"[[จีนฮ่อ]]"'' ใน[[พม่า]]จะเรียกว่า ''"ปันทาย"'' (Panthay) และชาวจีนมุสลิมที่อยู่ในเอเชียกลางจะถูกเรียกว่า ''"ดันกัน"'' (Dungans;дунгане) เป็นที่รู้กันดีในประเทศจีนว่า ชาวหุย หรือ ชาวจีนมุสลิม เป็นกลุ่มชนที่อดทนและกล้าหาญอย่างยิ่ง บรรพบุรุษของพวกเขาฟันฝ่าภยันตรายข้ามน้ำข้ามทะเลจากคาบสมุทรอารเบียและแผ่นดินเปอร์เซียมาค้าขายยังจักรวรรดิจีน เมื่อพวกเขาตั้งรกรากสืบลูกหลานในประเทศจีนแล้ว ศิลปวัฒนธรรมของจีนอย่างหนึ่งที่ชาวหุยนิยมชมชอบเป็นพิเศษคือ ศิลปะการป้องกันตัวของจีนที่เรียกว่า กังฟู หรือ วูซู หรือ อู่ซู่ เช่น กังฟูประเภท ซุยเจียว (Shuai Chiao หรือ มวยปล้ำจีน), เผ่าเฉวียน (Pao Quan), ทงเป่ยเฉวียน (Tong Bei Quan), ลิ่วเหอเฉวียน (Liu He Quan), ไท่จี๋เฉวียน (Tai Tzu Chang Quan), ปาจี๋เฉวียน (Baji Quan), พิกั้วเฉวียน (Piqua Quan)
 
ชาวหุยพยายามฝึกปรือจนเป็นเลิศในด้านกังฟู และในที่สุดพวกเขาก็พัฒนาสไตล์กังฟูของตัวเองขึ้นมาจนโด่งดังถึงทุกวันนี้เช่น ชาเฉวียน (Cha Quan), หัวเฉวียน (Hua Quan), ถานถุ้ย 10 ท่า (10 Routine Tan Tui หรือ Tom Toy), ลิ่วลู่ต้วนเฉวียน (Liu Lu Duan Quan), โถ่ยเฉวียน (Toi Quan), หยงชานเฉวียน (Yong Chan Quan) ซึ่งสไตล์เหล่านี้ชาวหุยปรับปรุงมาจากวูซูดั้งเดิมต่างๆ ของทางเหนือ
 
ก่อนจะมีการคิดค้นอาวุธปืนขึ้นมา การสู้รบและป้องกันตัวในประเทศจีนจะใช้วิชากังฟูเป็นหลัก ผู้นำชาวหุยมักเรียกร้องให้ชาวหุยฝึกหัดกังฟูให้เชี่ยวชาญ พวกเขาถือว่าการฝึกกังฟูเป็นการ “ฝึกตนเพื่อพระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งช่วยให้ชาวหุยมีวินัยและกล้าหาญโดยเฉพาะพวกเขาต้องอยู่รอดให้ได้ในดินแดนที่มิใช่ปิตุภูมิของตนเอง
 
และจนกระทั่งทุกวันนี้ ในงานฉลอง 3 เทศกาลสำคัญของชาวหุยทั้งวันไบรัมเล็ก (วันออกบวชเล็ก, ตรุษอิดิลฟิตรีย์) วันกุรบ่าน (วันออกบวชใหญ่, ตรุษอิดิลอัดฮา) และ วันเมาลิด ชาวหุยจะจัดการแข่งขันวูซู หรือไม่ก็แสดงวูซูโชว์ที่มัสยิดเสมอๆเสมอ
 
ชาวหุยเป็นนักสู้ที่ห้าวหาญ ในอดีตพวกเขาจำนวนมากรับราชการทหาร และสามารถไต่เต้าเป็นนายพลหรือแม่ทัพมากมาย และเช่นกันที่ชาวหุยจะจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิอย่างที่สุด แม้พวกเขาจะเป็นลูกหลานชาวต่างชาติก็ตาม
บรรทัด 25:
แม้ราชสำนักจีนได้จำกัดการค้าและการตั้งบ้านเรือนของชาวมุสลิมไว้ในจัตุรัสชาวต่างชาติเท่านั้น แต่ก็อนุญาตให้พ่อค้ามุสลิมแต่งกายได้อย่างอิสระ รับประทานอาหารและปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างเสรี พ่อค้ามุสลิมจำนวนมากยึดประเทศจีนเป็นสถานที่ค้าขายและเริ่มก่อร่างสร้างครอบครัวที่นี่ พวกเขาจำนวนมากหัดพูดภาษาจีนและตั้งถิ่นฐานในประเทศจีนอย่างถาวร พ่อค้าบางคนแต่งงานกับสาวชาวฮั่นที่เปลี่ยนมารับอิสลาม ลูกหลานที่สืบเชื้อสายต่อมาจากพวกเขาจึงพูด[[ภาษาจีน]] และได้วางรากฐานชุมชนจีนมุสลิมที่กระจัดกระจายออกไปทั่วประเทศจีน
 
หลายศตวรรษผ่านไป ชาวมุสลิมถูกกลืนเข้าไปในสังคมจีน หลังจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ รัฐบาลได้แบ่งมุสลิมออกเป็น 10 เชื้อชาติ กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือ ชาวหุย ซึ่งต่างจากต่างจากชนกลุ่มน้อยอื่นๆอื่น ๆ ตรงที่ไม่มีภาษาเป็นของตัวเอง ชาวหุยพูดภาษาจีนกลางของชาวฮั่น พวกเขาเหมือนกับชนกลุ่มน้อยมุสลิมกลุ่มอื่นๆอื่น ๆ ตรงที่นับถืออิสลามเท่านั้น<ref>[http://www.chinesemuslimthailand.com/content.php?page=content&category=&subcategory=5&id=371 ชาวหุยคือใคร? Who are the Hui?]</ref>
 
ชาวหุยมักถูกมองในเรื่องของความไม่เคร่งครัดเกี่ยวกับพิธีการทางศาสนา [[อิมาม|อิหม่ามหญิง]] หรือ ''อะฮง'' มีให้เห็นเป็นจำนวนมากใน[[เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย]] ชาวหุยเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแต่งกายแบบอิสลามมากขึ้นทั้งชายและหญิง แต่อย่างไรก็ตามในประเทศจีนได้ห้ามมิให้อิหม่ามจากต่างประเทศเข้ามาสอนศาสนาเพื่อความมั่นคงของรัฐ<ref>[http://www.chinesemuslimthailand.com/content.php?page=content&category=&subcategory=54&id=704 การค้าช่วยฟื้นฟูอิสลามในหนิงเซี่ย]</ref><ref>[http://www.csmonitor.com/World/Asia-Pacific/2008/0916/p06s04-woap.html?page=1 Chinese Muslims join global Islamic market]</ref>
 
== ความจงรักภักดีของชาวหุยต่อจักรวรรดิจีน ==
หลังจากกองทัพมองโกลเข้ายึดครองประเทศจีน ก่อตั้งราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368) ชาวจีนฮั่นวางแผนโค่นล้มราชวงศ์ของชาวมองโกลหลายครั้ง และเป็น จูหยวนจาง ชาวนาผู้นำทัพชาวจีนขับไล่มองโกลออกไปจากแผ่นดินจีนได้ จูหยวนจางผู้เป็นปฐมจักรพรรดิราชวงศ์หมิงไม่เคยประกาศว่าพระองค์เป็นมุสลิม แต่แม่ทัพใกล้ชิดของพระองค์ทั้ง 6 คนเป็นมุสลิมแน่นอน ซึ่งได้แก่ ชางอี้ว์ชุน (Chang Yuchun), หูต้าไห่ (Hu Dahai), หมู่อิง (Mu Ying), หลันอี้ว์ (Lan Yu), เฟิงเซิง (Feng Sheng), และ ติงเต้อซิง (Ding Dexing) ซึ่งแม่ทัพทั้ง 6 คนเป็นปรมาจารย์วูซูชื่อดังของยุคนั้น แม่ทัพชางอี้ว์ชุนเป็นผู้คิดค้นวูซูที่โด่งดังคือ ไค่ผิงเฉียงฟา (Kai Ping Qiang Fa) หรือการต่อสู้ด้วยทวน วูซูประเภทนี้ยังคงสอนกันอยู่ในเมืองจีนจนกระทั่งทุกวันนี้ ส่วนแม่ทัพเฟิงเซิงมีผลงานโดดเด่นจนจูหยวนจางโปรดเกล้าให้เป็น “มหาอำมาตย์เฟิงแห่งราชวงศ์ซ่ง”
 
ส่วนปรมาจารย์กังฟูมุสลิมที่โด่งดังอีกคนหนึ่งก็คือ เจิ้งเหอ ยอดแม่ทัพเรือแห่งราชวงศ์หมิง
 
ช่วงบ้านเมืองวุ่นวายในช่วงปลายราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644) เมื่อชาวแมนจูเข้ารุกรานจักรวรรดิจีนระลอกแล้วระลอกเล่า และท้ายที่สุดเข้ายึดครองแผ่นดินจีนได้ ชาวหุยได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับชาวฮั่นในการต่อต้านราชวงศ์ชิงหลายครั้ง หม่าโส่วอิง (Ma Shou Ying) ชาวหุยมุสลิมร่วมมือกับ หลี่จื้อเฉิง (Li Zi Cheng หรือ King Cheng) ในการนำกองทัพชาวจีนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนมุสลิมต่อต้านกองทัพแมนจู หม่าถูกเรียกว่า “เหล่าหุยหุย” (Lao Hui Hui) หรือ “หุยอาวุโส” และกองทหารของเขาถูกเรียกว่า “กองทหารเหล่าหุยหุย” (Lao Hui Hui Battalion) แม้ช่วงที่แมนจูยึดครองประเทศจีนได้แล้ว ชาวหุยก็ไม่หยุดต่อต้านราชวงศ์แมนจูเพื่อฟื้นฟูราชวงศ์หมิง เพราะราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์จีนแท้ๆแท้ ๆ มิใช่ชาวต่างชาติที่มายึดครองเช่นชาวแมนจู
 
ในปีค.ศ. 1862 ตูเหวินซิ่ว (Di Wen Xiu) เคยนำทัพชาวหุยในมณฑลยูนนานต่อต้านจักรพรรดิถ่งจื่อ (Tong Zhi) แห่งราชวงศ์ชิง และเขาสามารถยึดพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ได้มากมาย
 
และเพราะการที่ชาวหุยมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จีนสูงเช่นนี้แหละ ตลอดสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1911) ชาวหุยจึงไม่ได้รับความปรานีจากแมนจูเลย หากชาวหุยแสดงให้เห็นเพียงนิดว่ากระด้างกระเดื่องต่อผู้ปกครองชาวแมนจู พวกเขาจะถูกแมนจูปราบอย่างเหี้ยมโหด ชาวหุยยังถูกห้ามมิให้เดินไปไหนด้วยกันเกิน 3 คน ห้ามพกพาอาวุธ ส่วนชาวหุยคนใดประกอบอาชญากรรมแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจโดนข้อหาหนักถึงขั้นเป็นกบฏต่อแผ่นดิน และถูกตราหน้าว่าเป็น “หุยกบฏ” การลงโทษเช่นนี้ก็เพื่อต้องการให้ชาวหุยได้รับความอับอาย ในขณะเดียวกันก็เพื่อข่มขู่มิให้พวกเขาลุกฮือขึ้นมาต่อต้านราชวงศ์ชิงอีก แต่การปราบปรามดังกล่าวกลับทำให้ชาวหุยมีความมุ่งมั่นยิ่งกว่าเดิม!
 
== บทบาทของชาวหุยต่อกังฟูจีน ==
บรรทัด 47:
นอกจากนี้ “หุยหุยซือปาโจว” (Hui Hui Shi ba Zhou หรือ การฝึกการต่อสู้ 18 หมัดมวยของชาวหุย) ยังขึ้นชื่อว่าเป็นการฝึกการต่อสู้ที่ดีที่สุด
 
กานเฟิงชี (Gan Feng Chi) ผู้นำชื่อก้องในการต่อต้านราชวงศ์ชิงได้รวมการฝึก 18 หมัดมวยของชาวหุยไว้ในหนังสือดังของเขาชื่อ หัวเฉวียนจงเจี้ยงฟา (Hua Quan zong Jiang Fa หรือ การสนทนาเรื่องหมัดมวยท่าสวยงาม)
 
ปรมาจารย์วูซูชาวหุยชื่อดังมีจำนวนมากทีเดียว พวกเขาชนะการแข่งขันมากมาย และก็เก่งวูซูหลายๆหลาย ๆ แบบ เช่น
 
หวังจื่อผิง (Wang Zi Ping ค.ศ. 1881-1973) เป็นปรมาจารย์วูซูประเภท ชาเฉวียน เขาคว่ำคู่ต่อสู้ชาวต่างชาติในการแข่งขันชกมวยมานับไม่ถ้วนทั้งนักมวยชาวรัสเซีย อเมริกัน ญี่ปุ่น และเยอรมนี โดยเฉพาะนักมวยชาวรัสเซียผู้ได้ฉายาว่า “ชายผู้แข็งแกร่งที่สุดในโลก” ถูกหวังจื่อผิงคว่ำจนเสียมวยในการแข่งขันชกมวยที่เซ็นทรัลพาร์ค กรุงปักกิ่ง ปีค.ศ. 1918
 
ปรมาจารย์หวังมีชื่อเล่นว่า หยอนอาน (Yon An) เป็นชาวหุยมุสลิมจากเมืองชางโจว มณฑลเหอเป่ย เขาเกิดในตระกูลวูซู ตอนเด็กๆเด็ก ๆ เขาเรียนวูซูจากญาติผู้พี่ ต่อมาศึกษาวูซูประเภท หัวเฉวียน (Hua Quan) จาก ซาเปาสิง (Sha Bao Xing) และ หม่าหยุนหลง (Ma Yun Long) และเรียนวูซูประเภทชาเฉวียนจาก อิหม่าม หยางหงซิ่ว (Yang Hong Xiu) ต่อมาในปีค.ศ. 1928 หลังจากมีการก่อตั้งสถาบันกลางศิลปะการป้องกันตัวแห่งประเทศจีน หวังจื่อผิงได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีของคณะเส้าหลิน ต่อมาเขาเป็นรองประธานสมาคมวูซูประเทศจีน
 
ในปีค.ศ. 1960 หวังซึ่งเป็นบอดี้การ์ดส่วนตัวของ โจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีจีนสมัยนั้นได้ติดตามโจวเอินไหลไปในการเยือนประเทศพม่า และหวังได้แสดงศิลปะการต่อสู้ของจีนในครั้งนั้นด้วย ซึ่งน่าทึ่งอย่างยิ่งกับความแข็งแกร่งของร่างกายในวัย 80 เช่นนั้น ความแข็งแกร่งของเขาทำให้หวังได้ชื่อว่าเป็น “ราชาพันปอนด์” หวังเป็นหนึ่งในยอดปรมาจารย์วูซูของจีนแห่งศตวรรษที่ 20
 
หม่าฟงถู (Ma Fengtu ค.ศ. 1888-1973) เป็นปรมาจารย์วูซูชาวหุยอีกคนหนึ่ง เขาเป็นนายพลในกองทัพของ เฟิงอี้ว์เซียง (Feng Yuxiang) และเป็นบิดาของ หม่าเสียนต้า 1 ใน 4 ของ ต้วนระดับ 9 ของยุคปัจจุบัน ในปีค.ศ. 1919 หม่าฟงถูได้ก่อตั้งสมาคมนักรบผู้รักชาติแห่งประเทศจีน
 
หม่าอิงถู (Ma Yintu ค.ศ. 1898-1956) น้องชายของหม่าฟงถู ก็เป็นปรมาจารย์วูซูชาวหุยอีกคนหนึ่ง เขาชนะเลิศการแข่งขันวูซูแห่งชาติครั้งที่ 1 ในปีค.ศ. 1929 หม่าอิงถูเป็นอาจารย์ของ จางเหวินกวาง (Zhang Wenguang) ยอดวูซูชาวหุยผู้ครองตำแหน่ง ต้วนระดับ 9 อีกคนหนึ่ง (ต้วนระดับ 9 หรือปรมาจารย์วูซูขั้นสูงสุดของจีนในปัจจุบันมีเพียง 4 คน)
 
จางเหวินกวาง เป็นปรมาจารย์วูซูประเภทชาเฉวียน เขาชนะการข่งขันมานับไม่ถ้วน ในปีค.ศ. 1936 จางนำทีมกังฟูของชาติจีนไปแสดงโชว์เผยแพร่สู่สายตาชาวโลกในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 11 ต่อมาจางเป็นรองประธานสมาคมวูซูแห่งประเทศจีน ปัจจุบันจางเป็น 1 ใน 4 ของต้วนระดับ 9 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของกังฟูจีน เขาเป็นบุคลากรสำคัญที่สุดคนหนึ่งของวงการกังฟูยุคปัจจุบัน จางยังคงสอนกังฟูอยู่ที่มหาวิทยาลัยพลศึกษาปักกิ่ง สุดยอดมหาวิทยาลัยกีฬาของจีน
 
แม้แต่วัดเส้าหลินก็ยังรับเอาวูซูประเภท ถานถุ้ย (Tun Tui หรือ Tom Toy) หรือ ขาสปริง (Spring Leg) ของชาวหุยมาให้นักเรียนวูซูฝึก เพื่อให้ใช้ขาได้คล่องแคล่ว นอกจากนี้แล้วโรงเรียนกังฟูทางเหนือและทางใต้ก็รับเอาวูซูถานถุ้ยของชาวหุยไปฝึกด้วย ในวงการกังฟูของจีนมักมีคำพูดติดปากว่า “หากถานถุ้ยของคุณดีละก้อ กังฟูของคุณก็ต้องดีตามไปด้วย”
บรรทัด 67:
กังฟูถานถุ้ยของชาวหุยได้รับความนิยมไปทั่วประเทศจีน ทำให้เกิดคำพูดว่า “จากนานจิงไปจนถึงปักกิ่ง กังฟูที่เตะเก่งที่สุดต้องเป็นพวกหุยมุสลิมเท่านั้น” ทั้งกังฟูประเภทชาเฉวียนและหัวเฉวียนที่โรงเรียนกังฟูประเภทหมัดยาวของทางเหนือชอบฝึกกันนั้นมาจากการพัฒนาของชาวหุยทั้งสิ้น กังฟูอีกหลายประเภทที่พัฒนาโดยชาวหุยได้แก่
 
ปาจี๋เฉวียน (Ba Ji Quan หมัดแปดปรมัตถ์ หรือ แปดสุดยอด) สืบทอดมาโดย อู๋จง (Wu Zhong) ยอดกังฟูมุสลิมอีกคนหนึ่ง ปาจี๋สายตระกูลอู๋ยังสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้ ทายาทผู้สืบทอดปาจี๋สายตระกูลอู๋ในปัจจุบันคือ อู๋เหลียนจื่อ (Wu LianZhi)
ลิ่วเหอ (Liu He หกประสาน)
ลิ่วเหอเฉวียน (Liu He Quan)
เหอเป่ย สิ่งอี้เฉวียน (Hebei Xing I Quan)
ทงเป่ยเฉวียน (Tong Bei Quan)
พิกั้วเฉวียน (Pi Qua Quan)
ลิ่วเหอปาฟา (Liu He Ba Fa)
อย่างไรก็ตาม กำเนิดของกังฟูประเภท ชา-หัวเฉวียน และถานถุ้ย ยังมีทั้งความขัดแย้งและความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง
บรรทัด 79:
จากบันทึกของตระกูลชา กังฟูชาเฉวียนได้รับความนิยมสูงและเป็นศิลปะการต่อสู้ของทางเหนือของจีนที่เก่าแก่มากทีเดียว กังฟูชาเฉวียนถือกำเนิดขึ้นในยุคเดียวกับที่เส้าหลินเริ่มพัฒนาขึ้นมา กังฟูชาเฉวียนเน้นเรื่องความไว การเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว สามารถหยุดลงอย่างฉับพลันทันที และแน่นิ่งอยู่ในท่านั้น ผู้ฝึกกังฟูท่านี้ต้อง “วูบหนึ่งเคลื่อนไปคล้ายลมพัดไหว อีกวูบหนึ่งตรึงกับที่แน่นิ่ง”
 
ชาเฉวียนถือกำเนิดขึ้นมาในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) เรื่องมีอยู่ว่า พระจักรพรรดิได้ส่งกองทัพไปยังภาคตะวันออกเพื่อขับไล่ผู้รุกรานจากต่างแดน เมื่อกองทัพเคลื่อนถึงเมืองกวานเสียน (Guanxian ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซันตง) นายพลคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวหุยมุสลิมชื่อว่า หัวจงฉี (Hua Zong Qi) เกิดบาดเจ็บขึ้นมา เขาจึงต้องพักรักษาตัวอยู่ที่นั่น ในขณะที่กองทัพยังคงมุ่งหน้าต่อไป หัวซงฉีได้รับการดูแลรักษาพยาบาลของชาวนาในหมู่บ้าน เมื่อหายป่วยดีแล้ว นายพลหัวจึงตอบแทนชาวบ้านเหล่านั้นด้วยการสอนกังฟูให้ หัวเรียกกังฟูประเภทนี้ว่า เจียนซื่อเฉวียน (Jianzi Quan หรือ Framed Boxing)
 
ผู้คนชื่นชอบความสามารถด้านวูซูของนายพลหัวมาก เลยมาสมัครเป็นสาวกฝึกกังฟูกันมากมาย ต่อมาชั้นเรียนกังฟูของนายพลหัวชักจะขยายใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆเรื่อย ๆ ท่านนายพลเลยให้ ชาหยวนอี้ (Cha Yuan Yi) ศิษย์เอกของท่านเดินทางมาจากบ้านเกิดเพื่อมาช่วยสอนด้วย ชาหยวนอี้ก็เป็นยอดวูซู แต่เจี้ยนซี่เฉวียนของเขาแตกต่างจากของนายพลหัวเล็กน้อย แบบนายพลหัวจะเคลื่อนไหวเยอะมากเลยถูกเรียกว่า ต้าเจี่ยเฉวียน (Da Jia Quan หรือ Big Fram Boxing) ในขณะที่แบบของชาหยวนอี้จะเร็วและเคลื่อนไหวอย่างรัดกุมกว่า เลยถูกเรียกว่า เซี่ยวเจี่ยเฉวียน (Xiao Jia Quan หรือ Small Frame Boxing) แต่ทั้งสองก็ถือเป็นวูซูประเภทเดียวกัน
 
ต่อมาชาวบ้านเลยเรียกกังฟูประเภทนี้เสียใหม่ว่า “กังฟูชา-หัว” แบบของนายพลหัวมี 4 ท่า (Routines หรือ Forms) ซึ่งมีการเคลื่อนไหวช้า ยาวนานและสมบูรณ์แบบ ชื่อของทั้ง 4 ท่า เรียกกันง่ายๆง่าย ๆ ว่า หัวเฉวียนที่ 1-4 ส่วนแบบของชามี 10 ท่า มีความยาวและความยากง่ายต่างกันออกไป ท่าของชายังคงฝึกหัดกันอยู่จนทุกวันนี้ในโรงเรียนกังฟูหมัดยาวทางเหนือของจีน โดยเฉพาะท่าที่ 4 และ 5 ซึ่งทั้งสองท่าเป็นท่าที่มีอิทธิพลอย่างมากในการฝึกกังฟูชาเฉวียน (หมัดยาว) ในประเทศจีนทุกวันนี้ ซึ่งนำเทคนิคต่างๆต่าง ๆ มาจากกังฟูของชาวหุย
 
ในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (ค.ศ. 1736-95) ราชวงศ์ชิง กังฟูแบบชา-หัวแบ่งเป็น 3 สำนัก ทั้งหมดตั้งอยู่ที่เมืองกวานเสียน มณฑลซันตง
 
(1) แบบจาง (Zhang Style) ปรมาจารย์คือ จางฉี (Zhang Qi) จากหมู่บ้านจางหยิน เมืองกวานเสียน กังฟูแบบนี้จะเร็ว คล่องแคล่ว ว่องไว และกระทัดรัด
 
(2) แบบหยาง (Yang Style) ปรมาจารย์คือ อิหม่ามหยางหงซิ่ว (Yang Hong Xiu) จากทางใต้ของเมืองกวานเสียน แบบนี้จะออกหมัดตรงๆตรง ๆ ง่าย ง่ายๆ และเผด็จศึกอย่างสวยงาม
 
(3) แบบหลี่ (Li Style) ปรมาจารย์คือ หลี่เอิ้นจีว์ (Li Enju) จากจี๋หนิง แบบนี้มีพลังมาก ต่อเนื่องและแน่วแน่
 
ลักษณะทั่วไปของกังฟูแบบชา-หัวมีการเคลื่อนไหวและเทคนิคที่สวยงาม ง่าย เด่นชัด ต่อเนื่อง และมีจังหวะในการเผด็จศึก มีการออกหมัดที่แข็งแกร่งทรงพลังอย่างรวดเร็ว และใช้พลังอย่างมีประโยชน์ที่สุด ในการต่อสู้จะใช้ทั้งหมัดและขาในคราวเดียวกันเพื่อจัดการกับคู่ต่อสู้ การออกหมัดต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเคลื่อนตัวที่คล่องแคล่ว เพื่อตบตาหรือหลอกคู่ต่อสู้ และจัดการกับคู่ต่อสู้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด
 
== กำเนิดกังฟูประเภทถานถุ้ย ==
กังฟูถานถุ้ยหรือ ขาสปริง (Spring legs) ใหม่กว่าแบบชาเฉวียนหลายศตวรรษ พัฒนาขึ้นมาในสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368—1644) ชาวหุยนิยมกังฟูถานถุ้ยแบบ 10 ท่า (10 routines) มากที่สุด
 
กังฟูถานถุ้ยพัฒนาขึ้นมาโดยชาวหุยจาก ซินเจียง ชื่อ ชาซางเอ้อ (Cha Shang Yir ค.ศ. 1568-1644) ชื่อมุสลิมของเขาคือ ชามีร์ หรือ จามิล (Chamir หรือ Jamil) ช่วงที่ชามีร์อยู่ในวัยกลางคน ชายฝั่งทะเลตะวันออกของจีนทั้งฝูเจี้ยนและเจ้อเจียงถูกยึดครองไว้โดยโจรสลัดชาวญี่ปุ่น พระจักรพรรดิจึงส่งกองทัพไปยึดดินแดนคืน ชามีร์เข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพด้วย ทหารทั้งกองทัพต้องเดินเท้าได้วยความยากลำบาก ข้ามภูเขาและแม่น้ำหลายแห่ง ชามีร์ก็ล้มป่วยลงเพราะเผชิญทั้งความหนาวเหน็บและเปียกชื้น เขาต้องพักรักษาตัวที่เมืองกวานเสียน มณฑลซันตง
 
เขารักษาตัวที่นั่นหลายเดือน และหายป่วยในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เขาสังเกตว่าชาวบ้านเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว และตอนนี้กำลังฝึกขี่ม้าและยิงธนูอยู่ ชามีร์ต้องการตอบแทนบุญคุณชาวบ้านที่ช่วยรักษาอาการป่วยของเขา จึงสอนกังฟูถานถุ้ย 10 ท่าที่เขาฝึกมานานแรมปีให้กับชาวบ้าน ชาวบ้านทั้งหลายก็เลยฝึกถานถุ้ยจากชามีร์ ต่อมาชาวบ้านเรียกกังฟูประเภทนี้ว่า ชาเฉวียน (Cha Quan) ตามชื่อของชามีร์
 
ตอนแรกกังฟูประเภทนี้มี 28 ท่า (28 routines) ตั้งชื่อแต่ละท่าตามลำดับตัวอักษรอาหรับทั้ง 28 ตัว ซึ่งเป็นธรรมเนียมปกติของชาวหุยมุสลิม ต่อมาทั้ง 28 ท่าก็ถูกย่นย่อเหลือเป็นถานถุ้ย 10 ท่า ที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน
 
ทุกวันนี้ ท่าถานถุ้ยจะถูกบรรจุในหลักสูตรของโรงเรียนกังฟูเกือบทุกโรงเรียน และถานถุ้ย 12 ท่าซึ่งถูกพัฒนาโดยสมาคมจิงอู๋ (Jing Wu) ได้กลายมาเป็นถานถุ้ยที่มีชื่อเสียงที่สุดและฝึกฝนกันแพร่หลายทั้งโลกในปัจจุบัน และยังถือว่าเป็นแบบฝึกหัดเบื้องต้นสำหรับผู้เริ่มฝึกกังฟู นอกจากนี้ยังเป็นรากฐานในการฝึกกังฟูแต่ละประเภท ทั้งเทคนิคและการเคลื่อนไหวของถานถุ้ยสามารถเห็นได้จากกังฟูประเภทหมัดยาวทั้งหลาย ดังนั้นหากฝึกถานถุ้ยจนเชี่ยวชาญแล้ว ก็สามารถฝึกกังฟูจีนทั่วๆทั่ว ๆ ไปได้ง่าย และสามารถก้าวหน้าและเรียนรู้กังฟูประเภทอื่นได้ไม่ยาก
 
== ดูเพิ่ม ==
บรรทัด 112:
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{โครง}}
 
[[หมวดหมู่:หุย]]
[[หมวดหมู่:ชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาอิสลามในประเทศจีน]]
{{โครง}}
 
[[mn:Хотон үндэстэн]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/หุย"