ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โซล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 227:
 
==ประวัติศาสตร์==
[[Fileไฟล์:Korean art-Donggwoldo-Changdeokgung and Changgyeonggung-Dong-A University-01.jpg|left|thumb|300px|''[[ดงควอนโด]]'', ภาพวาดทิวทัศน์ของพระราชวังชางด๊อกกุง]]
โซลเริ่มมีผู้ตั้งรกรากอยู่ตั้งแต่สมัย[[อาณาจักรแพ็กเจ]] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 527 ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณเขตแดนของโซลในปัจจุบัน โดยยังมีหลักฐานคงอยู่เช่น พุงนับโทซ็อง หรือ มงช็อนโทซ็อง และต่อมากลายมาเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์โชซ็อนในปี พ.ศ. 1937 และมีความพยายามที่จะทำให้เป็นเมืองที่ทันสมัยในปลายศตวรรษที่ 19 และโซลเป็นเมืองแรกในเอเชียตะวันออกที่มีไฟฟ้า รถราง น้ำประปา โทรศัพท์ และระบบโทรเลขในเวลาเดียวกัน<ref>{{cite web|url=http://orias.berkeley.edu/summer2007/Summer2007Summaries.htm |title=Summer Institute Summaries |publisher=Orias.berkeley.edu |date= |accessdate=2012-02-10}}</ref> ระหว่างที่เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โซลมีชื่อว่า คย็องซ็อง (경성, ความหมาย "เมืองหลวง"; {{lang-ja|{{nihongo||京城|[[Keijo|Keijō]]}}}}) ภายหลังจากที่ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2488 เกาหลีได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "โซล" (ซึ่งมีความหมายว่า "เมืองหลวง" ในภาษาเกาหลี) ในปี พ.ศ. 2492 โซลได้แยกออกจากจังหวัดคย็องกี และมีฐานะเป็น "นครพิเศษโซล" ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ระหว่าง[[สงครามเกาหลี]] โซลถูกยึดครองโดยทหารเกาหลีเหนือ และเมืองก็ได้ถูกทำลายเสียหายเกือบทั้งหมด และเมืองก็สามารถยึดกลับคืนมาได้โดยกำลังของสหประชาชาติในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2494 ตั้งแต่ตอนนั้น ขอบเขตของเมืองก็ขยายไปยังพื้นที่เขตการปกครองรอบข้างของกิมโป, โกยัง, ควันจู, ซิฮึง, และเมืองชนบทยังจู และขอบเขตเมืองในปัจจุบันได้กำหนดขึ้นในปี พ.ศ. 2538
 
==ภูมิศาสตร์==
[[Fileไฟล์:Korea-Seoul-Cheonggyecheon-2008-01.jpg|thumb|left|[[คลองช็องกเยช็อน]]]]
[[Fileไฟล์:Frame_house_along_Seikei-Sen.JPG|thumb|left|[[คลองช็องกเยช็อน]] ในอดีต]]
[[Fileไฟล์:Seoul, South Korea.JPG|thumb|โซลเมื่อมองจากอวกาศ]]
โซลอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเกาหลีใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 605.25 [[กม.²]]<ref name="seoul1">{{cite web|url=http://stat.seoul.go.kr/Seoul_System5.jsp?stc_cd=412|title=Seoul Statistics (Land Area)|publisher=Seoul Metropolitan Government|accessdate=24 March 2010}}</ref> มีรัศมีประมาณ 15 กิโลเมตร โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนอย่างคราว ๆ เป็นฝั่งเหนือและฝั่งใต้ โดยใช้[[แม่น้ำฮัน]]เป็นตัวแบ่ง แม่น้ำฮันและบริเวณรอบ ๆ มีส่วนสำคัญต่อประวัติศาสตร์เกาหลี ในยุค[[ราชอาณาจักรทั้งสามของเกาหลี]]ก็มีการต่อสู้กันและมีความพยายามอย่างหนักที่จะควบคุมพื้นที่นี้ ที่ซึ่งแม่น้ำสามารถใช้เป็นเส้นทางในการค้าขายกับจีน (ผ่าน[[ทะเลเหลือง]]) แม่น้ำฮันไม่สามารถที่จะใช้เดินเรือได้อีกต่อไป เพราะว่า[[ชะวากทะเล]]ตั้งอยู่บนพรมแดนระหว่างสองเกาหลี พร้อมด้วยการระงับพลเรือนไม่ให้เข้าไปในเขตนั้น โซลถูกกั้นขอบเขตด้วยภูเขา 8 ลูก ตลอดจนบริเวณพื้นที่สูงกว่าบริเวณที่ราบแม่น้ำฮันและพื้นที่ตะวันตก
 
บรรทัด 345:
โซลแบ่งออกเป็น [[การแบ่งเขตการปกครองของเกาหลีใต้#คู (เขต)|''คู'']] (구; 區) (เขต)<ref name="Administrative Districts" /> แต่ละคูก็มีขนาดพื้นที่แตกต่างกันออกไป (ตั้งแต่ 10 จนถึง 47 กม.²) และมีประชากร (ตั้งแต่น้อยกว่า 140, 000 จนถึง 630, 000 คน) ซงพาเป็นเขตที่มีประชากรเยอะที่สุด ขณะที่ซอโช เป็นเขตที่มีพื้นที่มากที่สุด รัฐบาลของแต่ละคูดูแลหลากหลายหน้าที่ และรัฐบาลนครพิเศษจะดูแลในเขตอำนาจอื่น ๆ ในแต่ละคูก็จะแบ่งการปกครองออกเป็น[[การแบ่งเขตการปกครองของเกาหลีใต้#ทง (แขวง)|''ทง'']] (dong; 동; 洞) หรือแขวง บางคูอาจมีเพียงไม่กี่ทง ในขณะที่คูอื่น ๆ เช่น ชงโน จะมีจำนวนแขวงอย่างมากมาย คูทั้งหมดในโซลประกอบไปด้วย 522 ทง (행정동)<ref name="Administrative Districts">{{cite web|url=http://english.seoul.go.kr/gover/organ/organ_03adm.htm |title=Administrative Districts |publisher=Seoul Metropolitan Government|archiveurl = http://web.archive.org/web/20080220203429/http://english.seoul.go.kr/gover/organ/organ_03adm.htm <!-- Bot retrieved archive --> |archivedate =20 February 2008 }}</ref> ทง (dong) นั้นยังสามารถแบ่งการปกครองย่อยลงไปอีกเป็น ''ทง'' (tong; 통; 統) ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 13,787 แห่ง และทง (tong) ก็สามารถแบ่งย่อยออกไปเป็น ''พัน'' มีจำนวนทั้งหมด 102, 796 พัน
 
[[Fileไฟล์:Map Seoul districts de.png|thumb|250px|right|เขตในโซล]]
 
{|
บรรทัด 387:
==การคมนาคม==
[[Fileไฟล์:SMSC EMU3000 VVVF 301.jpg|right|thumb|[[โซล เมโทร]] 3000ซีรียส์ EMU โดย [[Variable-frequency drive|วีวีวีเอฟ คอนโทรล]]]]
โซลเป็นเมืองหนึ่งในโลกที่มีโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนในขั้นสูงและมีการขยายระบบอยู่ตลอดเวลา ระบบนี้มีมาตั้งแต่สมัย[[จักรวรรดิเกาหลี]] เมื่อมีถนนสำหรับรถวิ่งสายแรกและทางรถไฟเชื่อต่อระหว่างโซลกับอินช็อน ถนนสายที่สำคัญที่สุดของโซลคือถนนสายชงโนจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยระดับรถไฟใต้ดินสายหนึ่งในช่วงต้นทศวรรษที่ 70 ถนนสายอื่นที่มีชื่อเสียงที่อยู่ในใจกลางเมืองโซลประกอบไปด้วยถนน[[อึลจิโร]], [[เทเฮรันโน]], [[เซชงโน]], [[ชุงมุโร]], [[อูลกงโน]]และ[[โทกเยโร]] โซลมีรถไฟไต้ดินสายหลัก 9 สายทอดยาวมากกว่า 250 กิโลเมตร กับอีกหนึ่งสายที่วางแผนการก่อสร้าง
 
===รถโดยสารประจำทาง===
[[Fileไฟล์:Seoul City Bus470.jpg|right|thumb| บัส 470]]
ระบบรถโดยสารประจำทางของโซลดำเนินการโดยรัฐบาลนครพิเศษโซล มีรถบัสให้บริการอยู่ 4 ประเภทใหญ่ ๆ โดยบริการทั่วทั้งเมือง โซลมีสถานีรถโดยสารระหว่างเมืองและรถด่วนขนาดใหญ่ โดยจะเชื่อมต่อระหว่างเมืองทั่วทั้งประเทศเกาหลีใต้ สถานีรถด่วนโซล (The Seoul Express Bus Terminal), สถานีกลางเมือง (Central City Terminal)และสถานีโซลนัมบูตั้งอยู่ใน[[เขตซอโช]] ยิ่งไปกว่านั้น สถานีรถบัสโซลตะวันออกใน[[เขตควังจิน]]และสถานีซังบงใน[[เขตชุงนัง]]ก็ดำเนินการอยู่ในฝั่งตะวันออกของเมือง และเพื่อลดภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมือง ทางรัฐบาลนครพิเศษก็มีแผนเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางที่ใช้น้ำมันดีเซลกว่า 7, 000 คันไปใช้แก๊สธรรมชาติในปี 2553<ref>[http://www.bernama.com/bernama/v3/news_lite.php?id=337462 "Seoul More Enjoyable For a Day"]. Retrieved 30 July 2008.</ref>
 
บรรทัด 425:
|url=http://www.koreatimes.co.kr/www/news/nation/2010/07/113_66455.html }}</ref>เมื่อสิ้นสุดเดือยมิถุนายน 2554 ชาวเกาหลี 10.29 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโซล ซึ่งลดลง .24% จากเมื่อสิ้นสุดปี 2553 ในเดือนมิถุนายน 2554 มีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่อยู่ในกรุงโซล 281, 780 คน โดยเป็นชาวจีน 186, 631 คน (66%) ซึ่งถือสัญชาติเกาหลีแล้ว โดยมีอัตราเพิ่มขึ้น 8.84% จากเมื่อสิ้นปี 2553 และเพิ่มขึ้น 12.85% เมื่อนับจากเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งพลเมืองชาวจีนถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้ถือสัญชาติเกาหลีชาวเกาหลี โดย 29, 901 คนอาศัยอยู่ในกรุงโซล กลุ่มชาวต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้ถือสัญชาติเกาหลีกลุ่มต่อมาเป็นชาวอเมริกันมีจำนวน 9, 999 คน และกลุ่มต่อมาเป็นชาวไต้หวันมีจำนวน 8, 717 คน<ref>"[http://koreatimes.co.kr/www/news/nation/2011/09/117_94610.html Korean Chinese account for nearly 70% of foreigners in Seoul]." ''[[The Korea Times]]''. September 11, 2011. Retrieved on September 19, 2011.</ref>
 
[[ศาสนาคริสต์]]และ[[ศาสนาพุทธ]]เป็นสองศาสนาหลักที่มีผู้คนนับถือในกรุงโซล ส่วนศาสนาอื่นก็ประกอบไปด้วย[[เชมัน]]และ[[ลัทธิขงจื๊อ]] โดยขงจืื้อขงจื้อเป็นที่แพร่หลายในโซลในเรื่องของปรัชญาทางสังคมมากกว่าเป็นเรื่องทางศาสนา
 
==การศึกษา==
บรรทัด 431:
===มหาวิทยาลัย===
 
[[Fileไฟล์:Kyung Hee Univ. Central Library and Museum.JPG|thumb|[[มหาวิทยาลัยคยองฮี]]]]
มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศเกาหลีใต้ล้วนตั้งอยู่ในกรุงโซล ประกอบไปด้วย [[มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา]], [[มหาวิทยาลัยจุงอัง]], [[มหาวิทยาลัยฮันกุกสำหรับนักศึกษาต่างชาติ]], [[มหาวิทยาลัยฮันยัง]], [[มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติเกาหลี]], [[มหาวิทยาลัยเกาหลี]], [[มหาวิทยาลัยกุกมิน]], [[มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล]], [[มหาวิทยาลัยครูแห่งชาติโซล]], [[มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติโซล]], [[มหาวิทยาลัยซอกัง]], [[มหาวิทยาลัยซองคยูนกวัน]], [[มหาวิทยาลัยคยองฮี]], [[มหาวิทยาลัยดงกุก]]และ[[มหาวิทยาลัยยอนเซ]]
 
บรรทัด 440:
==ทิวทัศน์เมือง==
[[Fileไฟล์:Seoul from the sky.jpg|thumb|center|500px|โซลเมื่อมองจากท้องฟ้า]]
[[Fileไฟล์:Inside Seoul World Cup Stadium.jpg|thumb|center|500px|[[สนามกีฬาโซลเวิลด์คัพ]]]]
[[Fileไฟล์:Korea-Hi Seoul Festival-2006-01.jpg|thumb|center|500px|[[เทศกาล ไฮ! โซล]] คอนเสริตที่ [[โซล พลาซ่า]]]]
 
[[Fileไฟล์:Seoul at Dusk.jpg|thumb|center|500px|โซลในตอนพลบค่ำ มุมมองจากสวนนัมซาน]]
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โซล"