ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชานิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 4810435 สร้างโดย 71.229.132.241 (พูดคุย)
Kamolt (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 5:
 
[[หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง]]
ประชานิยม¬¬¬¬¬¬¬แท้ ประชานิยมสามานย์
กมล กมลตระกูล
ความหมายของประชานิยม(ไทย)
วาทกรรมประชานิยมกลายเป็นวาทกรรมทางการเมืองที่มีทั้งคนรักและคนชัง ทั้งคนที่รักและคนที่ชังต่างมีความเข้าใจและตีความในความหมายและที่มาอย่างครึ่งๆกลางๆ โดยเฉพาะนักวิชาการจะเกลียดคำนี้เป็นพิเศษ เพราะเข้าใจอย่างครึ่งๆกลางๆเช่นเดียวกัน
คำว่า “ประชานิยม” หากผู้ที่ใช้คำนี้โดยเข้าใจว่าแปลมาจากคำศัพท์ Populism ในภาษาอังกฤษ ก็แสดงถึงความไม่เข้าใจรากศัพท์ ประวัติ และความหมายที่แท้จริงดั้งเดิม และความหมายที่ถูกต้องของฐานความคิดของคำนี้
คำว่า Populism มาจากภาษาลาติน populus ซึ่งหมายถึง people ในความหมายของคำว่า “พลเมือง หรือ “มวลขชน”(mass) มิใช่บุคคลหลายๆคน หรือ ประชาชน (individual) คำๆนี้ใช้ในลักษณะคู่กันกับอีกคำหนึ่งที่มีความหมายตรงกันข้ามว่า Elitism, Aristocracy, Plutocracy ดังนั้น Populism คือ "the people" against "the elites". ( Elitism, Aristocracy, Plutocracy หมายถึง ระบอบอภิชน ที่ประกอบด้วย ชนชั้นปกครอง ชนชั้นสูง ที่อยู่ตรงกันข้ามกับมวลชน เช่น จักรพรรดิ์ ขุนนาง ผู้นำศาสนา นักวิชาการ นายทุน นักการเมือง เป็นต้น )
โดยสรุป มวลชน คือ ประชาชนร้อยละ 99 ที่ไร้ทุนหรือมีทุนน้อย ยากจน ด้อยโอกาส หาเช้ากินค่ำ ส่วนอภิชน คือร้อยละ 1 ของกลุ่มคนที่รวยที่สุดที่อยู่บนยอดปิรามิดของโครงสร้างของสังคม
ดังนั้น คำว่า Populism ซึ่งเป็นอุดมการณ์หรือปรัชญาการเมืองหนึ่ง จึงแปลว่า “ลัทธิมวลชน” คือเป็นอุดมการณ์ที่ยึดถือผลประโยชน์ของมวลชน ความเรียกร้องต้องการของมวลชน และส่งเสริมความเข้มแข็งของมวลชนที่มีจำนวนร้อยละ 99 เป็นแกนกลางในการดำเนินนโยบาย ส่วนนโยบายที่นำมาใช้ เรียกว่า “นโยบายเพื่อมวลชน” หรือ “นโยบายที่มวลชนเรียกร้องต้องการ” จึงจะถูกต้องกับความหมายดั้งเดิม และความหมายที่ใช้กันในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา โดยสรุป คือ เป็นอุดมการณ์ที่ยึดเอา “มวลชนเป็นศูนย์กลาง” และแตกต่างกับลัทธิมาร์กซเลนินเล็กน้อย ที่ยึดชนชั้นกรรมกร ชาวนาเป็นศูนย์กลาง ในขณะที่คำว่ามวลชนได้ครอบคลุมกว้างขวางกว่า รวมถึงผู้ด้อยโอกาส คนรากหญ้า ผุ้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการอิสระ คนรับจ้างและมนุษย์เงินเดือนทุกประเภท รวมทั้งปัญญาชน นักคิด นักเขียน นักวิชาการ ศิลปิน และ ครู ที่ไม่เข้าสังกัดชนชั้นอภิสิทธิ์ชน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ความหมายที่แท้จริงดั้งเดิม ที่หมายถึง "the people" against "the elites". ถูกบิดเบือน ถูกนำมาตีความใหม่ หรือป้ายสีให้มีความหมายเชิงลบโดยชนชั้นอภิสิทธิ์ชน เวลาพูดถึง นโยบาย Populism ที่ถูกแปลว่า “ประชานิยม” ในเชิงการใช้งบประมาณอย่างไร้วินัยทางการเงินเพื่อมอมเมาและสร้างความนิยมจากประชาชน โดยไม่ได้ส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับมวลชน หรือองค์กรภาคประชาชน และภาคประชาสังคมอย่างที่กลุ่มประเทศในลาตินอเมริกาใช้เป็นนโยบาย
ดังนั้น นโยบายที่เรียกว่าประชานิยมในประเทศไทยจึงถูกนักวิชาการและชนชั้นกลางส่วนใหญ่ต่อต้าน เพราะไปเชื่อการบิดเบือนตีความแนวคิดนี้อย่างผิดๆ นโยบายที่ถูกเรียกว่าประชานิยมในประเทศไทยแตกต่างตรงกันข้ามกับนโยบายประชานิยมหรือลัทธิมวลชนในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาอย่างสิ้นเชิง
ถ้าจะแปลคำว่า Populism ว่า ประชานิยม ก็ต้องให้คำนิยามหรือกำหนดกรอบของคำนิยามนี้ให้กินความตามความหมายดั้งเดิมและที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา และแยกแยะออกมาเป็นประชานิยมแท้ กับประชานิยมสามานย์ หรือประชานิยมเทียม อย่างที่ปฏิบัติในประเทศไทยโดยชนชั้นนำที่มีอภิสิทธิ์ เช่น พรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ฯลฯ
นโยบายเพื่อมวลชนหรือประชานิยมแท้ตามลัทธิมวลชน (Populism) มีตัวชี้วัดง่ายๆเปรียบเสมือนกับ ”การนำเบ็ดตกปลาไปให้คนด้อยโอกาส สอนวิธีตกปลา และวิธีการขายให้ได้รับราคาที่เป็นธรรมด้วยการจัดตั้งรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ เพื่อการพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นภาระต่อสังคม แต่เป็นพลังทางสังคมที่มีศักยภาพ”
ส่วนนโยบาย ประชานิยมสามานย์ คือ “การนำปลาไปให้คนด้อยโอกาสกินประคองความหิวเป็นรายมื้อ โดยไม่ให้เบ็ด ไม่สอนวิธีตกปลา ไม่สอนวิธีขาย ไม่สอนวิธีจัดตั้ง แต่ส่งเสริมให้พึ่งพาเป็นคนช่างขอ เป็นทากดูดเลือดจากสังคม โดยพึ่งตนเองไม่ได้”
Lawrence Goodwyn นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงของโลกตะวันตกได้ขยายความ ฐานคิดของ คำว่า populism ในหนังสือ ชื่อ Democratic Promise: The Populist Moment in America argues ไว้ดังนี้
“ ลัทธิมวลชน หรือประชานิยมแท้ คือ ขบวนการทางการเมืองของการจัดตั้งเพื่อสร้างความเข้มแข็งองค์กรภาคพลเมือง สร้างศักยภาพของชาวบ้านหรือมวลชนให้สามารถกำหนดชะตากรรมของชีวิตของตนเอง ของชุมชน และของสังคมโลก โดยการร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่มีภูมิหลังแตกต่างเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน การจัดตั้งองค์กรภาคพลเมืองนี้ต้องขยายถึงองค์กรภาคประชาสังคมที่ไม่เป็นทางการ สหกรณ์วิชาชีพ องค์กรชุมชน สหภาพแรงงาน องค์กรการศึกษานอกระบบ และชมรมศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านทั้งปวง”
(Populism is a “movement politics” of organizing for popular empowerment or civic agency -- the capacities of ordinary people to be architects and agents of their lives, shapers of their communities and the larger world, and collaborators with others from diverse backgrounds on common challenges . This organizing for civic agency necessarily includes many elements beyond formal political parties such as cooperatives, community organizations, trade unions, and popular adult educational and cultural activity.)
ตัวชี้วัดว่า นโยบายใด ของพรรคการเมืองไหนก็ตาม เป็นนโยบายเพื่อมวลชนหรือ นโยบายประชานิยมแท้หรือไม่นั้นต้องเข้าข่ายกรอบนโบายของเสา 3 หลักของเปรองที่จะกล่าวถึงต่อไปและคำอธิบายข้างต้นของ ลอเรนซ์ กู๊ดวิน ที่นำมาอ้างนี้ มิฉะนั้นแล้ว นโยบายนั้นๆ คือ ประชานิยมสามานย์ และพรรคนั้นๆ คือ พรรคมารนิยม หรือ พรรคอภิชนนิยม
อุดมการณ์เพื่อมวลชนหรือลัทธิมวลชนเป็นปรากฏการณ์ที่ได้เกิดขึ้นหรือนำมาใช้ตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกกันมา ตัวอย่างเช่น สปาร์ตาคัส เป็นผู้นำมวลชนที่เป็นทาสเข้าต่อกรกับชนชั้นอภิสิทธิ์ชนชาวโรมันที่เป็นนายทาส พระเยซูก็นับว่าเป็นผุ้นำมวลชนคนจนที่นำมวลชนลุกขึ้นต่อสู้กับอภิสิทธิ์ชนชาวโรมันที่เป็นนายทาส
การปฏิวัติชาวนาในประเทศอังกฤษที่กลายเป็นสงครามกลางเมือง ( 1642-1651) เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ผู้นำการต่อสู้นำเอานโยบาย “เพื่อมวลชน” มาเรียกร้องให้ชาวนา ผู้ประกอบการรายย่อย ช่างฝีมือ คนงาน ลุกขึ้นมาสู้กับระบอบอภิสิทธิ์ชนของกษัตริย์ ขุนนาง และเจ้าที่ดิน ฯลฯ
อุดมการณ์เพื่อมวลชนยุคใหม่
อุดมการณ์เพื่อมวลชนยุคใหม่ เกิดขึ้นในประเทศอาเยนตินา โดย เรียกตามชื่อ ประธานาธิบดีเปรอง (1891–1974), ว่า ลัทธิเปรอง หรือ Peronism (Spanish: Peronismo), or Justicialism (Justicialismo), ซึ่งแปลว่า ขบวนการสังคมเป็นธรรม โดยมีพรรคธรรมาธิปไตย Justicialist Party (Partido Justicialista) เป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบาย
เสาหลัก 3 เสาของอุดมการณ์เพื่อมวลชนยุคใหม่ ของประธานาธิบดีเปรอง(1946-1955) ซึ่งมีภรรยา ชื่อ เอวิตา เป็นผู้ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง คือ
1. สังคมเป็นธรรม (Social justice ) คือ ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม กลุ่มคนรากหญ้า คนจน กรรมกรและเกษตรกรรับจ้าง คนจรจัด และสตรี ให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ด้วยการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นองค์กรหรือสมาคมอย่างถาวรตามกฎหมาย เพื่อมีอำนาจ ต่อรองให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน
2. เศรษฐกิจเป็นไท (Economic independence) คือ คัดค้านทุนผูกขาดและทุนครอบงำจากต่างชาติ ส่งเสริมทุนรัฐวิสาหกิจเพื่อคานอำนาจกับกลุ่มทุนอื่นๆ
3. ชาติมีอิสรภาพ( Political sovereignty) คือ ดำเนินนโยบายทางการเมืองและนโยบายต่างประเทศอย่างอิสระ ไม่สังกัดค่ายอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่ง
การขับเคลื่อน 3 เสาหลักให้เป็นนโยบายรูปธรรม คือนโยบายพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติในด้านการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่ในการควบคุมของรัฐเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศชาติ โดยซื้อหรือโอนกิจการ และอุตสาหกรรมด้านการคมนาคม การโทรคมนาคม และการให้บริการด้านสาธารณูปจากกลุ่มทุนผูกขาดและบริษัทต่างชาติมาเป็นของรัฐ เช่น การรถไฟ การบิน การท่าเรือ การไฟฟ้า การประปา อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และน้ำมัน เพื่อนำผลกำไรมาให้บริการประชาชนในราคาถูก
การส่งเสริมการก่อตั้งสหภาพแรงงานอย่างกว้างขวางให้มีความเข้มแข็งเพื่อต่อรองให้ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม การส่งเสริมองค์กรภาคประชาสังคมของคนรากหญ้า เช่น กลุ่มแม่บ้าน องค์กรสตรี สมาคมครู ให้มีความเข้มแข็ง
การส่งเสริมระบบการรักษาพยาบาล การศึกษาฟรีอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการให้บริการระบบสาธารณูปโภคให้กับมวลชนในราคาถูก
การตัดพ่อค้าคนกลางภาคการเกษตร การปสุสัตว์ ที่ถูกควบคุมผูกขาดโดยเจ้าที่ดินใหญ่ มาให้รัฐดำเนินการเองในการส่งออก
การต่อต้านบริษัทและทุนต่างชาติที่เข้ามาผูกขาด โดยการซื้อกิจการการเดินรถไฟและการท่าเรือของบริษัทประเทศอังกฤษมาเป็นของรัฐ ต่อต้านทุนที่เข้ามาทำลายทุนในชาติให้อ่อนแอเติบโตไม่ได้ เป็นต้น
นโยบายเหล่านี้ ได้ขัดผลประโยชน์ของชนชั้นนำอย่างรุนแรง ทำให้ได้รับการต่อต้านขัดขวางทั้งทางตรงและทางอ้อมทุกวิถีทาง เช่น การลดการผลิต การปิดโรงงาน เพื่อสร้างความปั่นป่วน และความไม่สงบในสังคม แม้ว่านโยบายข้างต้นในภาพรวมได้สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ และยกระดับความยากจนของบุคคลชั้นล่างให้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในลาตินอเมริกาในยุคเดียวกัน
กลุ่มบุคคลชั้นนำ หรืออภิสิทธิ์ชนที่ถูกนโยบายเพื่อมวลชนหรือประชานิยมแท้ ลิดรอนผลประโยชน์ จึงสนับสนุนกลุ่มทหารทรราชย์ก่อการรัฐประหาร และบิดเบือนข้อเท็จจริงว่านโบบายเพื่อมวลชนหรือประชานิยมแท้สร้างความหายนะทางเศรษฐกิจให้กับประเทศทั้งๆที่จีดีพีของประเทศอาเยนตินาในยุคของเปรองเติบโตกว่ากลุ่มอื่นๆทั้งสิ้น แม้แต่ยุโรปก็ยังเป็นรอง เพราะว่ายังไม่ฟื้นตัวจากหายนะจากสงครามโลกครั้งที่ 2
ประธานาธิบดีเปรองได้รับเลือกตั้งซ้ำและดำเนินนโยบายเพื่อมวลชนได้ 9 ปี ตั้งแต่ปี 1946-1955 ก็ถูกคณะทหารขวาจัดที่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาเจ้าที่ดินและกลุ่มทุนใหญรวมทั้งนายทุนต่างชาติจากกลุ่มประเจ้าอาณานิคมเก่า เช่น ประเทศอังกฤษ ก่อการรับประหารและเนรเทศเขาไปลี้ภัยอยู่ในประเทศสเปนเป็นเวลา 18 ปี จนกระทั่งประชาชนเรียกร้องให้กลับมาสมัครรับเลือกตั้งใหม่ในปี 1973 และได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นอย่างถล่มทลาย โดยเป็นประนาธิบดีคนเดียวของประเทศอาเยนตินาที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีถึง 3 ครั้ง
ความนิยมในอุดมการณ์เพื่อมวลชนที่สร้างความเข้มแข็งให้กับมวลชนได้รับความนิยมจากชาวอาเยนตินาและแพร่ขยายไปทั่วทั้งลาตินอเมริกา นักการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขวา ฝ่ายซ้าย ฝ่ายอนุรักษ์นิยมต่างก็อ้างว่าตนเป็นนักประชานิยม แต่ที่ปฏิบัติจริงมีน้อยมาก
ในประเทศอาเยนตินานับตั้งแต่ปี 1946 เป็นต้นมา ผู้สมัครแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่อ้างตัวเองว่าเป็นชาวเปรองนิสท์ (Peronist) หรือ ชาวลัทธิเปรอง ได้รับการเลือกกตั้งเป็นประธานาธิบดี 8 คน จากการเลือกตั้ง 10 ครั้ง ในโอกาสที่พรรคนิยมเปรอง(Peronism)ไม่ถูกห้ามสมัครเข้ารับการเลือกตั้งในยุคเผด็จการทหารขวาจัด
หากอุดมการณ์เพื่อมวลชนของเปรองเลวจริงอย่างที่นักวิชาการรุ่นหลังสับสนจับแพะชนแกะเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นห่างกัน เกือบ 40 ปีมาปะปนเป็นเรื่องเดียวกัน คือ กรณี การล้มละลายทางการคลังของประเทศอาเยนตินาในช่วง 1980-2002 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้นโยบาย “เสรีนิยมใหม่” ตามการบงการของ องกรค์การเงินโลก (IMF) ตามนโยบาย “ฉันทามติวอชิงตัน หรือ Washington consensus “ โดยการขายรัฐวิสาหกิจที่เป็นแหล่งรายได้ของรัฐและการให้บริการกับประชาชนในราคาถูก ปกป้องทุนผูกขาดไม่ให้พัฒนาเป็นทุนครอบงำที่ประธานาธิบดีเปรองได้สร้างและวางรากฐานไว้ แต่เมื่อถูกรัฐประหารเนรเทศออกไป รัฐวิสาหกิจเหล่านี้กลายเป็นขุมทรัพย์ใหญ่ของคณะทหารและนักการเมืองเข้าไปกอบโกยและคอรัปชั่นจนย่ำแย่ รัฐขาดดุลงบประมาณ เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ค่าเงินตกต่ำ ต้องยอมรับเงื่อนไขในการกู้เงินจากต่างประเทศมาแก้ปัญหา และกลายเป็นข้ออ้างในการขายกิจการให้ต่างชาติเกือบทั้งหมดในยุคของประธานาธิบดีเมเนมในปี 1989-2002
หายนะทางเศรษฐกิจของประเทศอาเยนตินาเกิดขึ้นในทศวรรษ 1900-2000 ในยุคของประธานาธิบดี อัล ฟองซิน และประธานาธิบดี เมเนม มิใช่เกิดขึ้นในทศวรรษ1950-1960 ในยุคของประธานาธิบดีเปรอง อย่างที่นักวิชาการและสื่อในประเทศไทยเข้าใจกันอย่างผิดๆ
 
อุดมการณ์เพื่อมวลชนของชาเวซ (Chavismo )
ลัทธิมวลชน หรือประชานิยมแท้ของชาเวซมีชื่อว่า Chavismo ประธานาธิบดีชาเวซได้วางรากฐานของอุดมการณ์ของตนให้ยั่งยืนโดยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับมวลชนขึ้นมารองรับการดำเนินนโยบายของตน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ร่างขึ้นในปี 1989 และนำออกเสนอให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติในเดือนเมษายน1989 เกิดปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คือ ประชากรร้อยละ 88 ลงคะแนนเสียงเห็นชอบรับรองรัฐธรรมนูญฉบับนี้
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้วางรากฐานหลายประการในการให้อำนาจกับประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเพื่อเป็นหลักประกันที่ยั่งยืนว่าอำนาจอยู่ในมือของประชาชน มิใช่นักการเมือง เช่น มาตรา 73 เขียนไว้ว่า การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ข้อตกลงทางการค้า อนุสัญญา กติการระหว่างประเทศกับต่างประเทศที่จะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติในด้านบูรณภาพของอาณาเขต หรือด้านการให้สัมปทานทรัพยากรของแผ่นดินแก่บริษัทต่างชาติที่กระทบต่อประชาชน หรือให้อำนาจการตัดสินใจกับองค์ต่างประเทศ จะต้องนำมาให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบด้วย อันเป็นการป้องกันนักการเมืองขายชาตินำเอาผลประโยชน์ของชาติไปให้ต่างชาติแลกกับค่าคอมมิชชั่น หุ้น หรือ เงินใต้โต๊ะ หรือผลประโยชน์ส่วนตัว อื่นๆ
รัฐธรรมนูญนี้ยังเป็นการป้องกันการแทรกแซงจากรัฐบาลต่างประเทศไปในตัว เพราะว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของทุกประเทศที่ทุกประเทศต้องเคารพ
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังระบุด้วยว่า ทรัพยากรธรรมชาติทั้งปวงแผ่นดิน เช่น แร่ธาตุ ทรัพยากร แก๊ซ และ น้ำมัน ฯลฯ
เป็นสมบัติของสังคมและต้องนำมาพัฒนาเพื่อผลประโยชน์ของมวลชน ห้ามให้สัมปทานกับเอกชนหรือบริษัทต่างชาติ เป็นต้น
ประธานาธิบดี Hugo Chávez ของประเทศ Venezuela ประธานาธิบดี Evo Morales ของประเทศ Bolivia และ ประธานาธิบดี Rafael Correa ของประเทศ Ecuador คือ แบบอย่างของผู้นำลาตินอเมริกาที่ได้รับการเลือกตั้งมาด้วยคะแนนเสียงข้างมากอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม โดยการใช้นโยบาย “เพื่อมวลชน” หรือ “ประชานิยมแท้” ตามกรอบของเสา 3 หลัก ข้างต้นเป็นนโยบายในการหาเสียง
เมื่อประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวซ ดำรงตำแหน่ง โดยได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันถึง 3 สมัย ตั้งแต่ปี 1999 หลังจากตั้งหลักได้มั่นคง ในปี 2003 ชาเวซได้โอนกิจการน้ำมันที่บริษัทต่างชาติผูกขาดยึดครองไปสร้างความร่ำรวย แต่ร้อยละ 80 ของชาวเวเนซูเอลลากลับเป็นคนยากจน ไร้การศึกษา เข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล แต่หลังจากชาเวซโอนกิจการน้ำมันมาเป็นของรัฐและนำรายได้มาขจัดความยากจนของประเทศ ทำให้จีดีพีของประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยตัวเลข 2 หลัก คือ เฉลี่ย ปีละ 13.5 หรือ 94.7 ใน 5.25 ปี
ในช่วงเวลานี้ อัตราความยากจนของครัวเรือน ได้ลดลงมากกว่าร้อยละ 50 จาก ร้อยละ 54 ในปี 2003 เหลือ ร้อยละ 26 ในปี 2008
ครัวเรือนที่จัดอยู่ในข่ายยากจนที่สุดได้ลดลงกว่า 2 ใน 3 จากร้อยละ 21 ในปี 1998 ลงมาเหลือ ร้อยะละ 6 ในปลายปี 2009 อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยะล 14.5 ในต้นปี 1999 ลงมาเหลือ ร้อยละ 7 ในปลายปี 2010
 
นโยบายนำเม็ดเงินจากกิจการน้ำมันแห่งชาติมาซื้อเบ็ดตกปลาให้มวลชน
 
ยุคสมัยก่อนที่ประธานาธิบดดีชาเวซจะได้รับการเลือกกตั้งมาเป็นประธานาธิบดี การเมืองของประเทศเวเนซูเอลลาเป็นการเมืองของอภิสิทธิ์ชนชั้นสูง 2 พรรคที่ดำเนินนโยบายเสรีนิยมใหม่ ทั้งคุ่ โดยให้สัมปทานกิจการพลังงานทั้งน้ำมัน แก๊ซและเหมืองกับบริษัทต่างชาติโดยค่าสัมปทาน หรือค่าภาคหลวงที่ได้รับเพียงเล็กน้อยตกไม่ถึงประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ประชาชนร้อยละ 80 ถึงยากจน เพราะรัฐบาลดำเนินนโยบายเอาใจบริษัทต่างชาติและกลุ่มทุนผูกขาดในการลอยตัวราคาน้ำมัน แก๊ซหุงต้ม ลอยตัว ค่าเล่าเรียน ลอยตัวราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งปวง ทำให้ค่าครองชีพของประชาชนสูง ค่าน้ำมันและแก๊ซหุงต้มในประเทศมีราคาแพง ค่าไฟฟ้าแพง ค่าขนส่งเดินทางมีราคาแพง ค่าเล่าเรียนแพง ทั้งๆที่เวเนซูเอลลามีน้ำมันและแก๊ซมากกว่าบางประเทศในตะวันออกกลางเสียอีก (คล้ายกับประเทศไทยในขณะนี้)
สถานการณ์ทางการเมืองจึงไร้เสถียรภาพ นักการเมืองล้วนคอรัปชั่น ช่องว่างคนรวย คนจนห่างกันมาก เมื่อถึงจุดหนึ่งมวลชนทนรับค่าครองชีพสูงไม่ได้ จึงลุกขึ้นมาก่อการจราจล เรียกร้องให้มีผู้นำที่เป็นตัวแทนของมวลชน ชาเวซจึงได้รับการเลือกตั้งในปี 1999 ด้วยการเสนอนโยบายเพื่อมวลชนหรือประชานิยมแท้ตามกรอบนโยบายของประธานาธิบดีเปรอง
นโยบายเพื่อมวลชนหรือประชานิยมแท้ของประธานาธิบดีชาเวซที่มีชื่อว่า Chavismo มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นนโยบายที่สร้างความยั่งยืน และเป็นนโยบายที่สร้างผนังทองแดง กำแพงเหล็กให้เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบอย่างติดต่อกันถึง 3 สมัย รวมทั้งการออกมาปกป้องเรียกกร้องให้เขากลับมาสู่อำนาจหลังจากที่คณะทหารขวาจัดที่มีบริษัทน้ำมันต่างชาติหนุนหหลังก่อกการรัฐประหารขับเขาออกจากตำแหน่ง เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 จนกระทั่งมาเสียชีวิตในเดือนมีนาคม 2013 นี้
ชาเวซได้ใช้ความชอบธรรมจากการได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นถึงร้อยละ 63 ในการเข้าสู่ตำแหน่งในสมัยที่ 2 ในปี 2007 และรัฐธรรมนุญฉบับมวลชนที่ดีที่สุดในโลกได้รับการลงประชามติเห็นชอบมากถึงร้อยละ 88 ของผู้มีสิทธิมาลงคะแนนเสียงในปี 1999
นโยบายประชานิยมแท้ของชาเวซได้ใช้เงินรายได้จากกิจการน้ำมันที่ซื้อและยึดคืนมาจากบริษัทต่างชาติและกลุ่มทุนผูกกขาดที่เป็นอภิสิทธิ์ชน มาอุดหนุน เสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับองค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคประชาสังคม องค์กรท้องถิ่นระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล มวลชน สหภาพแรงงาน คนไร้บ้าน เกษตรกรรับจ้าง กลุ่มสตรี ฯลฯ ให้พึ่งตนเองได้ เป็นตัวของตัวเอง เช่นการจัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีชื่อว่า Organizaciones Comunitario Viviendo (OCVs-Community Living Organizations) โอซีวี ประกอบด้วยตัวแทน ที่ ครัวเรือน 30 ครัวเรือนจากระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด แต่ละท้องถิ่นเลือกมา 1 คน แล้วรวมเป็นสภาท้องถิ่นแต่ละระดับ ที่มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจกำหนดนโยบายการศึกษาท้องถิ่น หรือ การใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับมาจากส่วนกลาง(ผลกำไรจากกิจการน้ำมันและแก๊ซของรัฐ) ตัดสินใจการบริหารงานท้องถิ่นในทุกด้าน เช่นการจัดสรรงบการรักษาพยาบาล งบการศึกษาท้องถิ่น เป็นต้น
ของนโยบายประชานิยมแท้ชาเวซมีความเชื่อว่า การศึกษาคือสิทธิมนุษยชน ที่ทุกคนต้องได้รับอย่างเท่าเทียมกัน เขาได้นำรายได้จากกิจการน้ำมันแห่งชาติมาจัดให้มีระบบการศึกษาฟรีทุกระดับตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงมหาวิทยาลัย รวมทั้งโรงเรียนผผู้ใหญ่และการศึกษานอกโรงเรียนให้กับผู้ปกครอง ชาเวซได้นำชั้นเรียนออกไปสู่มวลชนถึงท้องถิ่น และชุมชนคนยากจน สร้างสถานเลี้ยงดูเด็กอย่างทั่วถึงทุกชุมชน
นโยบายประชานิยมแท้ของชาเวซได้นำรายได้จากการขายน้ำมันราคาถูกให้กับประเทศคิวบาเพื่อแลกกับการส่งหมอจำนวนหลายหมื่นคนมาประจำในชนบทและชุมชนคนยากจนเพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง
นโยบายประชานิยมแท้ของชาเวซได้วางระบบการค้าปลีก และการกระจายสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันของประชาชนให้ทั่วถึงในราคายุติธรรม โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นต้นทุนการผลิต เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง น้ำมัน แก๊ซ เป้นต้น
นโยบายประชานิยมแท้หรือนโยบายเพื่อมวลชนของชาเวซจึงแตกต่างจากนโยบายที่เรียกว่าประชานิยมในประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง เพราะฐานคิดของนโยบายที่ถูกเรียกว่าประชานิยมตั้งอยู่บนฐานคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ ซึ่งผลประโยชน์ของอภิสิทธิ์ชน ทุนผูกขาด ทุนต่างชาติ อยู่เหนือความผาสุขและชีวิตความเป็นอยู่ของมวลชน และผลประโยชน์ขอองชาติ
นโยบายประชานิยมแท้ ต้องเป็นนโยบายที่สร้างความเข้มแข็งและกระจายอำนาจให้กับมวลชน และสร้างระบบทุนนิยมแห่งรัฐมาคานอำนาจทุนนิยมเอกชน ต้องปกป้องเอาคืนผลประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภทซึ่งเป็นสมบัติร่วมกันของสังคมมาเป็นของรัฐที่เป็นตัวแทนของมวลชน และนำผลประโยชน์มาสร้างความเข็มแข็งให้กับมวลชน ในด้านสวัสดิการสังคม เช่นระบบการศึกษาฟรี และระบบการรักษาพยาบาลราคาถูก การปกป้องคนงานให้ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม การปฏิรูปที่ดินให้เกษตรมีที่ดินทำกินของตนเอง การควบคุมราคาปุ๋ย ยาฆ่าแมลงที่เป็นต้นทุนของเกษตรกรให้มีราคายุติธรรม อย่างที่ประธานาธิบดีชาเวซ ของประเทศเวเนซูเอลลา ประธานาธิบดี อีโว โมราเลส ของประเทศ โบลิเวีย และประธานาธิบดี ราฟาเอล คอเรีย ของประเทศอีเควดอร์ ได้ปูทางเป็นแบบอย่างไว้
 
อ้างอิง
WWW.Venezuelaanalysis.com
WWW.Wikipedia.com/Peronism
Ellner, Steve (2011) Venezuela’s Social-Based Democratic Model: Innovations and Limitations.” Journal of Latin American Studies 43, 3 (August).
_________ (2008) Rethinking Venezuelan Politics: Class, Conflict, and the Chávez Phenomenon. Boulder, CO: Lynne Rienner Publishers.
 
Curato, Nicole (2010) “Venezuela: Democratic Possibilities,” edited by Brendan Howe, Vesselin Popovski and Mark Notaras, Democracy in the South: Participation, the State and the People. Tokyo: United Nations Universtiy Press.
Dieterich, Heinz (2006) “Evo Morales, Communitarian Socialism, and the Regional Power Block.” MRZine [Monthly Review],http://mrzine.monthlyreview.org/2006/dieterich070106.html.
Dominguez, Francisco (2008) “The Latin Americanization of the Politics of Emancipation,” edited by Geraldine Lievesley and Steve Ludlam, Reclaiming Latin America: Experiments in Radical Social Democracy. London: Zed Books.