ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาด +แทนที่ " ราชวรวิหาร" → "ราชวรวิหาร" ด้วยสจห.
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "[[พ.ศ." → "พ.ศ." ด้วยสจห.
บรรทัด 35:
'''วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม''' เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/284.PDF ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง], เล่ม 32, ตอน 0 ก, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2458, หน้า 284 </ref> ที่[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ [[วัดมหาธาตุ]] [[วัดราชบูรณะ]] และ[[วัดราชประดิษฐาน]] เช่นที่[[จังหวัดสุโขทัย|สุโขทัย]] สวรรคโลก [[จังหวัดพิษณุโลก|พิษณุโลก]] และ[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา|พระนครศรีอยุธยา]] แต่ใน[[สมัยรัตนโกสินทร์]] [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]] กรมพระราชวังบวรสถานมงคลใน[[รัชกาลที่ 1]] โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดสลัก เป็นวัดนิพพานาราม และเปลี่ยนเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ แต่ต่อมามีพระราชดำริว่า ในกรุงเทพฯ ยังไม่มีวัดมหาธาตุ จึงเปลี่ยนชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์เป็น[[วัดมหาธาตุ]] และ[[พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเทพหริรักษ์]] พระโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์]] พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณะวัดเลียบ ต่อมา ได้นามว่า [[วัดราชบูรณะ]] ยังคงขาดแต่วัดราชประดิษฐฯเท่านั้น จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย ข้าราชการ ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้[[พระบรมมหาราชวัง]]ได้สะดวก วัดราชประดิษฐ์จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้น เพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่น ๆ ของฝ่ายธรรมยุติเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย
 
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหารสร้างขึ้นในที่ดินที่เคยเป็นสวนกาแฟของหลวงโดยก่อสร้างใน [[พ.ศ. 2407]] เดิม[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทานนามว่า “วัดราชประดิษฐสถิตธรรมยุติการาม” เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เปลี่ยนเป็น “วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม” เพื่อให้เหมาะสมกับเป็นที่ประดิษฐานหลักศิลา ซึ่งเป็นสีมามีจารึกคาถาบาลี และ[[ภาษาไทย]] ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์รวม 10 หลัก ปรากฏในประกาศเมื่อ [[พ.ศ. 2411]] เรื่องประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐ์ให้ถูกว่า มีผู้เรียกวัดราชประดิษฐ์ว่า วัดราชบัณฑิต วัดทรงประดิษฐ์ ไม่ถูกต้องกับที่พระราชทานนามไว้ จึงทรงกำชับว่า ให้เรียกชื่อวัดว่า “วัดราชประดิษฐฯ” หรือ “วัดราชประดิษฐสถิตย์สถิตมหาสีมาราม” หลังจากทรงสร้างเสร็จแล้ว ได้ทรงอาราธนาพระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว ป.9) หรือสามเณร[[สา]] ผู้สอบเปรียญ 9 ประโยคได้ขณะเป็นสามเณร เป็นสามเณร[[นาคหลวง]] สายเปรียญธรรม รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ จาก[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. 2408 ปีฉลู ทรงกระทำการสมโภชทั้งเจ้าอาวาสและวัดใหม่เป็นเวลา 3 วัน
รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ จาก[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อพ.ศ. 2408 ปีฉลู ทรงกระทำการสมโภชทั้งเจ้าอาวาสและวัดใหม่เป็นเวลา 3 วัน
 
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหารเดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นสวนกาแฟหลวง สมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นโรงเรือนที่อยู่อาศัยของข้าราชการ [[รัชกาลที่ 4]] ทรงขอซื้อที่เพื่อสร้างวัด[[ธรรมยุติกนิกาย]] เมื่อ พ.ศ. 2407 เพื่อสำหรับ[[เจ้านาย]] ข้าราชการ ฝ่ายหน้า-ใน ได้บำเพ็ญกุศลสะดวกขึ้น เพราะใกล้[[พระบรมมหาราชวัง]] ในพระวิหารหลวงมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธี 12 เดือน ที่[[รัชกาลที่ 5]] ทรงโปรดฯ ให้วาดไว้ มีสถาปัตยกรรมที่น่าชม เช่น ปาสาณเจดีย์, ปรางค์ขอม, ปราสาทพระบรมรูป (ปราสาทพระจอม), ปราสาทพระไตรปิฎก ฯลฯ และเพราะด้วยธรรมยุติกนิกายนั้นเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก เขตสังฆาวาสนั้นจึงห้ามสตรีผ่านเข้าออกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน