ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 36:
[[ไฟล์:Yasu V.jpg|thumb|พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปีย หรือ เจ้าชายลิจ อิยาซู พระราชนัดดาในพระนางเซาดีตู ผู้ทรงทำการเนรเทศพระนางเซาดีตู ซึ่งทรงเห็นว่าพระนางทำการคุกคามพระราชอำนาจอันชอบธรรมของพระองค์]]
สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2456 [[สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปีย|เจ้าชายลิจ อิยาซู]] พระราชโอรสในเจ้าหญิงชีวา เร็กกา พระขนิษฐาต่างมารดาของเจ้าหญิงเซาดีตู ซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นองค์รัชทายาทอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2452 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปียแต่ยังไม่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงเกรงว่า เจ้าหญิงเซาดีตูผู้เป็นพระมาตุจฉาทรงทำการคุกคามพระราชอำนาจโดยชอบธรรมของพระองค์ พระองค์จึงทรงมีพระราชโองการให้เนรเทศเจ้าหญิงเซาดีตูและพระสวามีออกไปอยู่ชนบท อีกทั้งสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูยังทรงเนรเทศสมเด็จพระจักรพรรดินีเตย์ตู เบตุล ผู้เป็นพระอัยยิกาเลี้ยงออกจากพระราชวังหลวงและให้ไปประทับที่พระราชวังเก่าบนภูเขาเอ็นโตโต
 
[[ไฟล์:Inauguration of Zewditu.jpg|thumb|left|วันพระราชพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย]]
จากความกลัวในความวุ่นวายที่อาจจะเกิด คณะรัฐมนตรีได้ตัดสินใจไม่ประกาศข่าวการสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 ต่อสาธารณะ เป็นผลให้สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 ทรงไม่ได้รับการประกาศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิอย่างเป็นทางการ หรือ ยังไม่ได้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์ที่สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกสวรรคตและการที่สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงปกครองโดยพฤตินัยได้กลายเป็นที่รับรู้และยอมรับไปในวงกว้าง[[ไฟล์:Inauguration of Zewditu.jpg|thumb|left|วันพระราชพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย]] ผู้มีอำนาจในศาสนจักร ลอร์ดผู้สำเร็จราชการ ราส เทสเซมา และคณะรัฐมนตรีเห็นด้วยกับแผนการพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูว่าควรเลื่อนออกไปจนกว่าที่สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเจริญพระชันษามากกว่านี้ อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงต้องประสบกับปัญหาอย่างทันทีด้วยการที่ทรงปกครองแต่มิได้ทำการราชาภิเษก พระองค์ทรงถูกชิงชังโดยชนชั้นสูงจากการที่ทรงมีพฤติกรรมที่แปรปรวน และทางคริสตจักรสงสัยและกล่าวหาพระองค์ว่าทรงนิยม[[ศาสนาอิสลาม]] หลังจากที่ทรงพบกับปัญหาในช่วงไม่กี่ปี สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงถูกรัฐประหารและทรงถูกถอดออกจากราชบัลลังก์ เจ้าหญิงเซาดีตูทรงถูกเรียกพระองค์กลับมายังเมืองหลวง และในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2459 ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาและ[[คริสตจักรออร์ทอดอกซ์เอธิโอเปีย เทวาฮีโด]]ได้ประกาศการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 อย่างเป็นทางการและประกาศถอดถอนสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 ออกจากราชบัลลังก์ตามพระราชประสงค์ของพระนางเซาดีตู<ref>Marcus, ''Menelik II'', pp. 278–281</ref> พระนางเซาดีตูทรงเฉลิมพระนามอย่างเป็นทางการว่า "ราชินีแห่งปวงราชันย์" ("Queen of Kings"; ''Negiste Negest'') เป็นการเปลี่ยนแปลงจากตำแหน่งเดิมคือ "[[ราชาแห่งปวงราชันย์]]" ("King of Kings"; ''Nəgusä Nägäst'')
 
ในขั้นต้น สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองด้วยพระนางเอง พระราชอำนาจทรงถูกแทนที่ด้วยพระญาติของพระนาง เจ้าชาย(ราส)ตาฟารี มาคอนเนน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็น[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] และนายพลอาวุโสในสมัยพระราชบิดาของพระนาง ''[[ฟิตาวารี]]''(ผู้บัญชาการทัพหน้า) [[ฮัปเต จิออร์จิส ดินักเด]] ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เจ้าชายราสตาฟารีได้กลายเป็นองค์รัชทายาทในสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู เนื่องจากพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระนางเซาดีตูสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ทั้งสิ้น ในปีพ.ศ. 2471 หลังจากที่พระนางทรงพยายามถอดถอนเจ้าชายราสตาฟารีออกจากอำนาจแต่แผนการของพระนางล้มเหลว สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงถูกบังคับให้สถาปนาพระญาติองค์นี้ขึ้นเป็น ''เนกัส'' (กษัตริย์)