ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมึกกระดอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 24:
'''หมึกกระดอง''' ({{lang-en|Cuttlefish, Sepia<ref name="ซีเปีย"/>}}) เป็น[[มอลลัสคา]]ประเภท[[ปลาหมึก|หมึก]]อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sepiida
 
ซึ่งคำว่า Sepiida หรือ Sepia นั้น หมายถึง [[สีซีเปีย]] หรือสีน้ำตาลเข้ม อันหมายถึง [[หมึก (เครื่องเขียน)|หมึก]]ของหมึกกระดองนั่นเอง ซึ่งในอดีตได้ในการนำหมึกของหมึกกระดองมาทำเป็นหมึกใช้สำหรับการเขียนหรือตีพิมพ์ฺพิมพ์<ref name="ซีเปีย">[http://th.glosbe.com/es/th/sepia sepia ใน ไทย]</ref> <ref name="zoo">[http://zoo.sci.ku.ac.th/html_T/courseware/423113_Nantaporn/Mollusca.html Phylum Mollusca โดย รศ.นันทพร จารุพันธ์]</ref>
 
หมึกกระดอง นั้นมีรูปร่างคล้ายกับ[[หมึกกล้วย]] แต่มีรูปร่างที่กลมป้อมกว่า อันเป็นสิ่งที่แตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ภายในโครงร่างภายในเป็นแผ่น[[หินปูน]]รูปกระสวยสอดอยู่กลางหลังเรียกว่า [[ลิ้นทะเล]] แผ่นหินปูนนี้มีช่องว่าง ภายในมีของเหลวและแก๊สบรรจุอยู่ ช่วยในการลอยตัวได้เป็นอย่างดี มีหนวดทั้งสิ้น 10 หนวดเหมือนกับหมึกกล้วย มีหนวดยาว 2 เส้นใช้สำหรับจับเหยื่อเช่นเดียวกับหมึกกล้วย แต่ปลายหนวดไม่ได้แผ่แบนออกกว้า่งออกกว้าง <ref name="zoo"/>
 
โดยมากแล้ว หมึกกระดอง จะเป็นหมึกที่อาศัยอยู่เป็นคู่หรือตามลำพังตัวเดียว ไม่ได้อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่เหมือนหมึกกล้วย และจะอาศัยอยู่ตามโพรงหินใต้น้ำใกล้กับพื้นน้ำ ว่ายน้ำด้วยการลอยตัวแล้วใช้แผ่นบางใสเหมือนครีบข้างลำตัวพลิ้วไปมา ผิดกับหมึกจำพวกอื่น ซึ่งครีบนี้จะไม่เชื่อมต่อกับตอนท้ายของลำตัว และมักเป็นหมึกที่ไม่เกรงกลัว[[มนุษย์]] จึงเป็นที่ชื่นชอบของนักประดาน้ำและนักถ่ายภาพใต้น้ำ<ref name="Manager"/> รวมถึงบางครั้งจะนอนหรือฝังตัวอยู่ใต้ทรายหรือกรวดตามหน้าดินด้วย
บรรทัด 36:
วงจรชีวิตของหมึกกระดองนั้นไม่ยาวนานเท่าใดนัก โดยหมึกตัวเมียจะมีอายุราว 240 วัน หลังจากเติบโตเต็มที่ ผสมพันธุ์ วางไข่ จากนั้นหมึกตัวเมียก็จะตายลง ในขณะที่หมึกตัวผู้จะมีอายุยาวนานกว่า การเกี้ยวพาราสีของหมึกกระดองนั้นจะเริ่มขึ้นจากหมึกตัวผู้และตัวเมียว่ายจับคู่คลอเคลียกัน โดยหมึกตัวเมียจะมองหาทำเลที่เหมาะกับการวางไข่ ซึ่งอาจจะเป็นโพรงหรือซอกหลืบปะการัง หรืออาจเป็นตามแผ่นกัลปังหาที่เรียงรายทับซ้อนกัน คล้ายเป็นที่กำบังอย่างดี หมึกตัวผู้และหมึกตัวเมียจะว่ายคลอเคลียเคียงคู่กันไปมาช้า ๆ คล้ายกับการเต้นลีลาศ สีสันและลวดลายบนลำตัวจะปรับเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็วราวกับแสงนีออน เป็นการบ่งบอกอารมณ์ของทั้งคู่ เมื่อถึงการผสมพันธุ์ทั้งคู่จะว่ายน้ำหันหน้ามาแนบชิดกัน แล้วใช้หนวดโอบกอดสอดประสาน หมึกกระดองตัวผู้จะใช้หนวดยาวคู่พิเศษล้วงเอา[[ถุงสเปิร์ม]]ในลำตัวสอดเข้าไปเก็บไว้ในลำตัวของหมึกกระดองตัวเมียเพื่อผสมกับไข่ ทั้งคู่จะจับคู่กันราว 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นหมึกตัวเมียจะเริ่มวางไข่ โดยใช้หนวดนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจากภายในออกมา ค่อย ๆ บรรจงยื่นไปวางติดไว้ในโพรงที่เตรียมไว้ทีละฟอง จำนวนไข่ที่วางครั้งหนึ่งอาจมีมากมายนับพันฟอง ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างทุ่มเทเป็นเวลายาวนานหลายวัน ในขณะที่หมึกตัวผู้ก็จะว่ายคลอเคลียไม่จากไปไหน เพื่อคอยป้องกันภัยให้ และป้องกันไม่ให้หมึกตัวผู้อื่น ๆ ที่ยังหาคู่ไม่ได้ มาก่อกวน<ref name="หมึก"/>
 
ขณะที่หมึกกระดองตัวเมียหลังจากวางไข่แล้ว จะวนเวียนเฝ้าไข่อยู่แถวนั้น จนร่างกายอ่อนเพลียเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงไปทีละน้อย ๆ น้ำหนักตัวจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ และตายลงไปในที่สุด โดยที่ไข่ของหมึกกระดองเมื่อฟักออกมา ลูกหมึกวัยอ่้อนอ่อนจะมีรูปร่างเหมือนกับหมึกกระดองวัยโตแต่มีขนาดเล็กกว่า และใช้ชีวิตเป็น[[แพลงก์ตอน]] โดยไม่ได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่เช่นเดียวกับหมึกประเภทอื่น<ref name="หมึก">[http://www.moohin.com/thailand-travel-trips/2548-06/c09/ ท่องโลกใต้ทะเล รักในห้วงลึกของหมึกกระดอง โดย วินิจ รังผึ้ง จากนิตยสาร อสท.]</ref>
 
==การอนุกรมวิธาน==
ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานหมึกกระดองไว้แล้วมากกว่า 120 [[species|ชนิด]]
[[ภาพ:Giant cuttlefish (1562127715).jpg|thumb|หมึกกระดองขนาดใหญ่กับนักประดาน้ำ]]
[[Fileไฟล์:Cuttlefish.ogv|thumb|ภาพเคลื่อนไหวของหมึกกระดองในธรรมชาติ]]
*ชั้น [[Cephalopod|CEPHALOPODA]]
**ชั้นย่อย [[Nautiloidea]]: หอยงวงช้าง
บรรทัด 66:
 
 
[[Categoryหมวดหมู่:หมึก]]
[[en:Cuttlefish]]
[[simple: Cuttlefish]]