ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัฒนธรรมกัมพูชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''วัฒนธรรมกัมพูชา'''ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติมีพื้นฐานมาจากศาสนาทั้ง[[ศาสนาพุทธ]]และ[[ศาสนาฮินดู]] กัมพูชาได้รับอิทธิพลจาก[[อินเดีย]]ทั้งทางด้านภาษาและศิลปะผ่านทางแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งจากการค้าทางทะเลทางไกลกับอินเดียและจีนจนเกิด[[อาณาจักรฟูนัน]]ขึ้นเป็นครั้งแรก
== ประวัติศาสตร์ ==
[[File:Angkor Wat.jpg|thumb|right|200px|[[นครวัด]]]]
ยุคทองของกัมพูชาอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14 – 19 ในยุคพระนครซึ่งมีอำนาจครอบคลุมพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องทำสงครามกับเพื่อนบ้านที่แข็งแกร่งคือสยามกับไดเวียด สิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่สำคัญในสมัยนี้คือ[[นครวัด]]และ[[นครธม]] และยังมีปราสาทหินที่พบได้ทั่วไปในเขตแดนของกัมพูชา ไทย ลาว และเวียดนามในปัจจุบัน อิทธิพลทางศิลปะของกัมพูชาทั้งสถาปัตยกรรม ดนตรี และนาฏศิลป์ได้ส่งผลต่อศิลปะของประเทศเพื่อนบ้านทั้งไทยและลาว
== สถาปัตยกรรมและบ้านเรือน ==
[[File:Cambo 21.jpg|thumb|200px|left|บ้านของชาวเขมรในชนบท]]
[[Image:Throne Hall, Royal Palace, Phnom Penh, Cambodia.jpg|200px|thumb|right|พระราชวังพนมเปญ]]
สิ่งก่อสร้างในสมัยพระนครมักสร้างด้วยหิน ได้รับแรงบันดาลใจทางศาสนา ทั้ง[[ศาสนาพุทธ]]และ[[ศาสนาฮินดู]] โดยสลักเรื่องเล่าทางศาสนาเหล่านี้ไว้บนผนัง รวมทั้งใช้สัญลักษณ์ทางศาสนาในการตกแต่ง ตัวอย่างเช่น พระราชวังในพนมเปญใช้รูป[[ครุฑ]]ซึ่งเป็นเทพกึ่งนกศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดูในการตกแต่ง
 
ชนบทสมัยใหม่ในกัมพูชา ชาวบ้านมักอาศัยในบ้านทรงสี่เหลี่ยมที่มีขนาดผันแปรไปตามจำนวนสมาชิกในครัวเรือน สร้างด้วยไม้หรือไม้ไผ่ นิยมยกพื้นสูงเพื่อให้พ้นจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นทุกปี มีบันไดไม้สำหรับขึ้นบ้าน โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นสามห้องที่กั้นด้วยฟากไม้ไผ่ การสร้างบ้านจะอาศัยความ ร่วมมือกันระหว่างครอบครัวนั้นและเพื่อนบ้าน ครัวจะแยกออกจากบ้านอยู่ใกล้ๆหรืออยู่ข้างหลัง ห้องน้ำจะอยู่แยกต่างหากจากบ้าน ส่วนบ้านของชาวจีนและชาวเวียดนามจะสร้างบนพื้น ในเขตเมืองมักเป็นอาคารพาณิชย์
== ศาสนา ==
{{บทความหลัก|ศาสนาในประเทศกัมพูชา}}
[[Image:BuddhistMonk02.jpg|thumb|upright|แม่ชีที่นครวัด]]
[[File:Buddhist Monk at Angkor Wat 1.jpg|thumb|left|200px|พระภิกษุที่นครวัด]]
ชาวกัมพูชา 90% นับถือศาสนาพุทธ[[นิกายเถรวาท]] มี 1% นับถือ[[ศาสนาคริสต์]] นอกจากนั้นเป็นผู้นับถือ[[ศาสนาอิสลาม]]และศาสนาดั้งเดิม ศาสนาพุทธเข้ามาสู่กัมพูชาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 และศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้เป็นศาสนาประจำรัฐตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ยกเว้นสมัย[[เขมรแดง]]ครองอำนาจ<ref name=ciafact>{{cite web|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/cb.html|title=CIA World Factbook - Cambodia|accessdate=2007-04-10}}</ref>
 
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของชาวจามหรือเขมรมุสลิมและชนกลุ่มน้อยชาวมาเลย์ในกัมพูชา ในช่วง พ.ศ. 2518 มีมุสลิมในกัมพูชาราว 150,000 - 200,000 คน และลดลงหลังจากที่เขมรแดงมีอำนาจในกัมพูชา ชาวจามนับถือทั้ง[[นิกายสุหนี่]]และ[[ชีอะห์]] ในกลุ่มชาวจามด้วยกันเองนั้นจะแบ่งเป็นมุสลิมแบบดั้งเดิมและแบบพื้นบ้าน
 
ศาสนาคริสต์[[นิกายโรมันคาทอลิก]]เข้ามาสู่กัมพูชาเมื่อราว พ.ศ. 2203 การเผยแพร่เป็นไปอย่างช้าๆ ใน พ.ศ. 2515 คาดว่ามีผู้นับถือศาสนาคริสต์ในกัมพูชาราว 20,000 คน ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2513 ก่อนจะมีการขับไล่ชาวเวียดนาม มีขาวคริสต์ในกัมพูชาที่เป็นชาวเวียดนามประมาณ 50,000 คน แต่หลังจากนั้น ชาวคริสต์ที่เหลืออยู่ในเวียดนามมักมีเชื้อสายยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส ในขณะที่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์[[นิกายโปรแตสแตนท์]]ของมิชชันนารีจากสหรัฐเพิ่มมากขึ้นหลังจากจัดตั้ง[[สาธารณรัฐเขมร]] โดยเฉพาะการเผยแพร่ในหมู่ชาวเขมรบนและชาวจาม
 
ชนเผ่าบนที่สูงในกัมพูชามีระบบความเชื่อดั้งเดิมเป็นของตนเอง มีผู้นับถือราว 100,000 คน โดยเป็นการนับถือสิ่งต่างๆในธรรมชาติ ผู้นำศาสนาคือหมอผี โดยในบรรดาชาวเขมรบน ชาวราเดและชาวจรายมีระบบความเชื่อที่พัฒนาดีที่สุด
 
== ศิลปะและวรรณคดี ==
=== หนังตะลุง ===
เส้น 17 ⟶ 38:
 
[[สหพันธ์ฟุตบอลกัมพูชา]]เป็นผู้ควบคุมกีฬาฟุตบอลในกัมพูชา และ[[ฟุตบอลทีมชาติกัมพูชา]] ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 และเป็นสมาชิก[[ฟีฟ่า]]ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 เป็นสมาชิก[[สหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย]]ใน พ.ศ. 2500 [[สนามกีฬาแห่งชาติพนมเปญเ]]ป็นสนามกีฬาแห่งชาติ จุคนได้ 50,000 คน ตั้งอยู่ใน[[พนมเปญ]]
== อ้างอิง ==
 
{{รายการอ้างอิง}}
==แหล่งข้อมูลอื่น==
* [http://www.culturalprofiles.net/cambodia Cambodia Cultural Profile (Ministry of Culture and Fine Arts/Visiting Arts)]
* [http://www.khmerstudies.org/ Center For Khmer Studies]
* [http://www.khmerenaissance.info/ Khmer Renaissance]
* [http://kampot3pepper.com Culture Kampot pepper]
{{ประเทศกัมพูชา}}