ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34:
 
สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิก พระราชบิดาของพระนางทรงสถาปนาพระราชอำนาจสูงสุดภายในและพระเกียรติยศสู่ภายนอก โดยพระองค์ทรงทำการขยายอาณาเขตของจักรวรรดิและสถาปนาจักรวรรดิสมัยใหม่ได้สำเร็จในปีพ.ศ. 2441<ref name="Zewde, Bahru 1991">Zewde, Bahru. A history of Ethiopia: 1855-1991. 2nd ed. Eastern African studies. 2001</ref> นอกจากนี้สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรวรรดินิยมอิตาลีภายใต้[[สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลี]]ที่ทรงต้องการยึดเอธิโอเปียเป็นอาณานิคมซึ่งทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงมีพระเกียรติยศขจรขจายไกลจาก ชัยชนะใน[[สงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 1]] ณ [[สมรภูมิแอดวา]] ถือเป็นการรับรองอิสรภาพของเอธิโอเปียจากมหาอำนาจภายนอกและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยตัวแทนในราชสำนักสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกและสามารถอธิบายเขตแดนกันชนกับอาณานิคมอื่นๆได้<ref name="Zewde, Bahru 1991"/>
[[ไฟล์:Yasu V.jpg|thumb|พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปีย หรือ เจ้าชายลิจ อิยาซู พระราชนัดดาในพระนางเซาดีตู ผู้ทรงทำการเนรเทศพระนางเซาดีตู ซึ่งทรงเห็นว่าพระนางทำการคุกคามพระราชอำนาจอันชอบธรรมของพระองค์]]
 
สมเด็จพระจักรพรรดิเนเนลิกที่ 2 เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2456 [[สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปีย|เจ้าชายลิจ อิยาซู]] พระราชโอรสในเจ้าหญิงชีวา เร็กกา พระขนิษฐาต่างมารดาของเจ้าหญิงเซาดีตู ซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นองค์รัชทายาทอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2452 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์<ref>{{Ref Ethiopia|Marcus-1995|pp. 241, 261}}</ref>เป็น สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปียแต่ยังไม่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงเกรงว่า เจ้าหญิงเซาดีตูผู้เป็นพระมาตุจฉาทรงทำการคุกคามพระราชอำนาจโดยชอบธรรมของพระองค์ พระองค์จึงทรงมีพระราชโองการให้เนรเทศเจ้าหญิงเซาดีตูและพระสวามีออกไปอยู่ชนบท อีกทั้งสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูยังทรงเนรเทศสมเด็จพระจักรพรรดินีเตย์ตู เบตุล ผู้เป็นพระอัยยิกาเลี้ยงออกจากพระราชวังหลวงและให้ไปประทับที่พระราชวังเก่าบนภูเขาเอ็นโตโต