ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
==ก้าวขึ้นสู่พระราชอำนาจ==
[[ไฟล์:Emperor Menelik II.png|thumb|left|พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แห่งเอธิโอเปีย พระราชบิดาของพระนางเซาดีตู ทรงฉลองพระองค์ราชาภิเษกประทับบนราชบัลลังก์]]
จากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสที่ 4 ใน[[สมรภูมิกัลลาบัต]] (หรือ "สมรภูมิเมเต็มบา") จากการที่ทรงสู้รบกับมุสลิม[[มะห์ดี]]แห่ง[[ซูดาน]] เนกัสเมเนลิกแห่งชีวาทรงรับพระราชอำนาจและทรงดำรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แห่งเอธิโอเปียในปีพ.ศ. 2432 เหตุการณ์ครั้งนี้ถ่อเป็นการฟื้นฟูสายสืบราชสันตติวงศ์บุรุษ ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ผ่านสายสันตติวงศ์สตรี ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 พระนางเซาดีตูจึงทรงสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถพระองค์สุดท้ายซึ่งเป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์จากบุรุษแห่ง[[ราชวงศ์โซโลมอน]] เนื่องจากรัชทายาทของพระนางคือ [[สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย]] ทรงสืบราชสันตติวงศ์ผ่านทางสตรี
 
สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิก พระราชบิดาของพระนางทรงสถาปนาพระราชอำนาจสูงสุดภายในและพระเกียรติยศสู่ภายนอก โดยพระองค์ทรงทำการขยายอาณาเขตของจักรวรรดิและสถาปนาจักรวรรดิสมัยใหม่ได้สำเร็จในปีพ.ศ. 2441<ref name="Zewde, Bahru 1991">Zewde, Bahru. A history of Ethiopia: 1855-1991. 2nd ed. Eastern African studies. 2001</ref> นอกจากนี้สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรวรรดินิยมอิตาลีภายใต้[[สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลี]]ที่ทรงต้องการยึดเอธิโอเปียเป็นอาณานิคมซึ่งทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงมีพระเกียรติยศขจรขจายไกลจาก ชัยชนะใน[[สงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 1]] ณ [[สมรภูมิแอดวา]] ถือเป็นการรับรองอิสรภาพของเอธิโอเปียจากมหาอำนาจภายนอกและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยตัวแทนในราชสำนักสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกและสามารถอธิบายเขตแดนกันชนกับอาณานิคมอื่นๆได้<ref name="Zewde, Bahru 1991"/>
 
==เชิงอรรถ==