ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏหวันหมาดหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
ช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนการเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครองจาก “จตุสดมภ์/ศักดินา” สู่ระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” หรือที่สำนักคิดประวัติศาสตร์จารีตใช้คำว่า “การปฏิรูประเบียบบริหารราชการแผ่นดิน” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น การต่อต้านจากเจ้าเมือง/เจ้าประเทศราช รวมทั้งการลุกขึ้นสู้ของอดีตไพร่ภายใต้ธง “กบฏผู้มีบุญ” หาได้จำกัดอยู่เพียงหัวเมืองทางภาคเหนือและภาคอีสานเท่านั้นไม่
 
ความเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญในดินแดนภาคใต้ของรัฐไทยก่อนจะมาเป็นสยาม ซึ่งเป็นหน่ออ่อนของ “ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้” สืบเนื่องมาจนถึงห้วงเวลา 15 ปี การก่อเกิดรัฐประชาธิปไตยระหว่างปี พ.ศ. 2475-2490 กระทั่งเกิดการลุกขึ้นสู้ของ “กบฏดุซงญอ” ในปี พ.ศ. 2491 หลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 อันเป็นชัยชนะครั้งแรกของพลังปฏิกิริยา/ปฏิปักษ์ประชาธิปไตย
 
พัฒนาการของความขัดแย้ง การต่อต้าน และการลุกขึ้นสู้ของพื้นที่ชายแดนใต้ เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2328 สามปีหลังการสถาปนาราชวงศ์จักรี โดยมีศูนย์กลางอำนาจรัฐที่กรุงเทพฯหรือกรุงรัตนโกสินทร์ ปัตตานีมิได้ส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ราชสำนักตามประเพณีนิยมของหัวเมือง/ประเทศราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงส่งพระยาราชบังสัน (แม้น) นำทัพเรือเข้าโจมตีปัตตานี เรือรบอำนาจรัฐรัตนโกสินทร์แล่นตามลำคลองปาแปรีอันเป็นสาขาของแม่น้ำปัตตานีไปจนถึงประตูเมือง สุลต่านปัตตานีไม่ยอมจำนน พระยาราชบังสันสั่งให้เรือรบยิงถล่มประตูเมือง กระสุนปืนใหญ่ตกในเมืองหลายนัดทำให้ชาวเมืองปัตตานีล้มตายกันมาก ที่สุดปัตตานีก็ยอมแพ้ต่อสยาม
 
ทางราชสำนักที่กรุงเทพฯดำเนินการรวบรวมหัวเมืองทางภาคใต้ทั้ง 4 (เดิมเรียกว่า “หัวเมืองมลายู” มาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา ประกอบด้วย เมืองไทรบุรี, กลันตัน, ตรังกานู และเมืองปัตตานี ซึ่งในเวลานั้นรวมจังหวัดยะลา, นราธิวาสไว้ด้วย) เข้ามาอยู่ในความปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยให้ปกครองแบบอิสระ แต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการให้กับราชสำนัก 3 ปีต่อครั้ง หากไม่ส่งจะถือว่าเป็นกบฏ ทั้งยังจัดระเบียบการปกครองบริหารราชการแผ่นดินเสียใหม่ ในขั้นต้นให้ไทรบุรีและกลันตันอยู่ในความควบคุมดูแลของสงขลา จากกรณีนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับเจ้าพระยาปัตตานี สุลต่านมูตะหมัด ไม่ยอมอ่อนน้อม จึงโปรดให้ยกทัพไปตี เมื่อตีได้แล้วโปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่วน กุราบิดิน (เชื้อสายสุลต่านเมืองปัตตานี) เป็นเจ้าเมือง
พ.ศ. 2334 หลังจากแต่งตั้งเต็งกู รามิกดิน เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ขึ้นตรงต่อเมืองสงขลา ทำให้เต็งกู รามิกดิน ไม่พอใจที่ถูกลดอำนาจ เพราะศักดิ์ศรีน้อยกว่าเมืองสงขลา จึงทำตัวแข็งข้อไม่ขึ้นต่อเมืองสงขลา ได้ชักชวนองเชียงสือ กษัตริย์ญวนในสมัยนั้น ให้นำกองทัพมาตีสยาม แต่ถูกปฏิเสธ จึงหันไปสมคบคิดกับโต๊ะ สาเยก โจรสลัดจากอินเดีย ก่อการกบฏและแยกกองทัพของเมืองปัตตานีมาตีเมืองสงขลาได้สำเร็จ หลังจากสงขลาตกอยู่ภายใต้อำนาจของปัตตานีแล้ว กองทัพหลวงจากกรุงเทพฯร่วมกับกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชได้ยกทัพไปปราบปรามและยึดเมืองสงขลากลับคืนมาได้ พร้อมทั้งมีการแต่งตั้งให้พระยาเมืองสงขลายกทัพไปตีเมืองปัตตานี และสามารถยึดกลับคืนมาอยู่ภายใต้การปกครองของราชสำนักที่กรุงเทพฯตามเดิม
การต่อสู้ในครั้งนั้นนับว่ารุนแรงมาก กำลังของเมืองสงขลาสู้ไม่ได้ต้องใช้กองทัพหลวง เพื่อเป็นการลิดรอนกำลังของเมืองปัตตานีให้กระจายออกไป ไม่ยุ่งยากต่อการแข็งข้อ และหลีกเลี่ยงการรวมอำนาจที่จะก่อการกบฏได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2339 รัชกาลที่ 1 ทรงแก้ปัญหาด้วยการแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมืองคือ ปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง รามัน ยะลา สายบุรี และระแงะ
 
สถานการณ์หลังจากนั้นแทนที่จะสงบราบคาบกลับกลายเป็น “คลื่นใต้น้ำ” ที่มีการเคลื่อนไหวในทางลับต่อต้านอำนาจราชสำนักที่กรุงเทพฯ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2380 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิด “กบฏหวันหมาดหลี” ที่หัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อปีระกา นพศก จ.ศ. 1199 (พ.ศ. 2380) กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย สมเด็จพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต มีงานถวายพระเพลิงพระบรมศพในต้นปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. 1200 (พ.ศ. 2381) บรรดาผู้ว่าราชการในหัวเมืองต่างๆได้เดินทางเข้ามาร่วมงานพระราชพิธีในพระนครกันเกือบหมด จึงไม่มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ดูแล
 
ตนกูมะหะหมัด สะอัด และตนกูอับดุลเลาะห์ เชื้อพระวงศ์แห่งมลายู ได้คบคิดกับหวันหมาดหลี ซึ่งเป็นโจรสลัดอันดามัน ยกกำลังเข้าจู่โจมเมืองไทรบุรี ฝ่ายพระยาอภัยธิเบศร (แสง) เจ้าเมืองไทรบุรี พร้อมข้าราชการทั้งฝ่ายปกครองและทหาร ไม่อาจรับมือกองกำลังฝ่ายกบฏได้ จึงถอยร่นมาถึงเมืองพัทลุง ทำให้ฝ่ายกบฏได้ใจบุกต่อเข้าไปตีเมืองตรัง เจ้าเมืองตรังต้านทานไม่ได้ ต้องถอยไปแจ้งข่าวแก่เมืองนคร ฝ่ายกบฏมอบหมายให้หวันหมาดหลีรักษาเมืองไว้โดยลำพังโดยทิ้งกำลังไว้ให้ส่วนหนึ่ง กองกำลังส่วนใหญ่ได้เดินทัพทางบกจากตรังข้ามไปพัทลุงและสงขลา ตีสงขลาพร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองที่เป็นมุสลิมด้วยกันอีก 7 หัวเมือง ให้ร่วมมือกันก่อการกบฏ
 
ฝ่ายราชสำนักที่กรุงเทพฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข่าวก็พิโรธ มีพระบรมราชโองการสั่งให้เจ้าเมืองต่างๆเร่งกลับไปป้องกันดูแลเมืองของตนเอง และทรงวิตกว่าการที่กบฏสามารถประชิดสงขลาได้แล้วจะเป็นเหตุให้มุสลิมทางหัวเมืองหน้าในแถบทะเลอ่าวไทยคิดการกบฏขึ้นมาด้วย จึงโปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด บุนนาค) เป็นแม่ทัพใหญ่ลงไปปราบ ในเวลาเดียวกันนั้น เจ้าเมืองสงขลา (เซ่ง) และเจ้าพระยานคร (น้อย) ยังอยู่ในระหว่างการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพกรมสมเด็จพระศรีสุราลัย
สมเด็จพระพันปีหลวงครั้นเมื่อทราบข่าวกบฏจึงรีบเดินทางกลับมาเกณฑ์คนที่เมืองนครศรีธรรมราชและพัทลุงจัดเป็นกองทัพ มอบหมายให้พระยาอภัยธิเบศร (แสง) พระยาวิชิตสรไกร (กล่อม) พระเสนานุชิต (นุช) ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยานคร (น้อย) ทั้ง 3 คนคุมกำลังประมาณ 4,000 คน ยกไปตีกบฏเมืองไทรบุรีได้สำเร็จภายในเวลาอันรวดเร็ว ส่วนเจ้าพระยานคร (น้อย) นั้นป่วยเป็นโรคลม ไม่สามารถคุมทัพไปด้วยตนเองได้
ขณะที่ทางกรุงเทพฯส่งพระวิชิตณรงค์ (พัด) และพระราชวรินทร์คุมทหารกรุงเทพฯประมาณ 790 คน มาช่วยรักษาเมืองสงขลาไว้ก่อน พวกกบฏมลายูที่ล้อมสงขลาอยู่เมื่อรู้ข่าวทัพนครศรีธรรมราชตีไทรบุรีแตกแล้วและกำลังบ่ายหน้ามาช่วยเมืองสงขลาพร้อมกับทัพกรุงเทพฯ จึงเกิดความเกรงกลัว พากันหนีกลับไปโดยที่ยังไม่ได้ตีเมืองสงขลา
 
แม่ทัพคนสำคัญอีกคนหนึ่งคือ มหาอำมาตย์เอก [[เจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ]]) (ต่อมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกรมเวียงที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) เจ้าเมืองชุมพรในเวลานั้น นำกองทัพเมืองชุมพร เมืองปะทิว จำนวน 1,216 คน เข้าร่วมกองทัพหลวงปราบปรามความวุ่นวายในหัวเมืองปักษ์ใต้ (กบฏหวันหมาดหลี) เมืองไทรบุรี ในบังคับบัญชาพระยาเสนาภูเบศร์ แม่ทัพหน้า
 
การสืบสวนภายหลังพบว่ามีข้าราชการและขุนนางจำนวนหนึ่งที่เข้าพวกกบฏ มีการลงโทษต่างๆรวมถึงการประหารชีวิตระดับหัวหน้าก่อการจำนวนหนึ่งด้วย
จากการปราบปรามอย่างเด็ดขาด แสดงให้เจ้าผู้ครองนครเดิมเห็นว่า กำลังของราชสำนักที่กรุงเทพฯยังคงมีความเป็นปึกแผ่น สามารถบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้ตอนบนเข้าร่วมปราบกบฏได้ มีผลต่อการ “ปราม” การเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกันไม่ให้เกิดขึ้นได้อีก ดินแดน “หัวเมืองทั้ง 7” จึงเข้าสู่ช่วงเวลาสงบสันติชั่วคราว ต่อเนื่องกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองเข้าสู่ระบบมณฑลเทศาภิบาลหลังปี พ.ศ. 2435