ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อูมามิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gerakibot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: el:Ουμάμι
บรรทัด 7:
[[ไฟล์:kombu.jpg|thumb|right|140px|สาหร่ายคมบุ]]ผู้ที่ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างรสอุมะมิกับกลูตาเมตก็คือ ศ.ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียล(ปัจจุบันคือ[[มหาวิทยาลัยโตเกียว]]) จากการที่เขาสังเกตว่าซุปสต็อค "[ดาชิ]" ซึ่งเป็นซุปดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่ถือได้ว่าเป็นเคล็ดลับความอร่อยในการปรุงอาหารญี่ปุ่นมานานนับพันปี ทำมาจากสาหร่ายทะเลคมบุ (''Laminaria Japonica'') ทำให้เขาเกิดความสนใจว่าในสาหร่ายคมบุต้องมีส่วนประกอบบางอย่างที่ทำให้เกิดรสชาติอร่อย เขาจึงเริ่มทำการค้นคว้าอย่างจริงจังเพื่อหากุญแจสำคัญของความอร่อยนี้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1908 ดร.อิเคดะก็ประสบความสำเร็จในการสกัด กลูตาเมต (หรือกรดกลูตามิค) จากสาหร่ายคมบุ และเขาได้ตั้งชื่อเพื่ออธิบายถึงรสชาติของกลูตาเมตอิสระนี้ว่า "อุมะมิ" ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่น ที่มาจากรากศัพท์ 2 คำนั้นคือคำว่า อุไม่ (umai) ที่แปลว่าอร่อย (delicious) และคำว่า มิ (mi) ที่แปลว่าแก่นแท้ (essence) <ref name="ikeda"/><ref>www.umamiinfo.com</ref>
 
ดร.อิเคดะได้กล่าวไว้ว่า "หากเราลองลิ้มรสชาติของอาหารอย่างตั้งใจ เราจะพบว่าในรสชาติที่ซับซ้อนของหน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ ชีส และเนื้อ จะมีรสหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ไม่สามารถเรียกได้ว่า หวาน หรือ เปรี้ยว หรือ เค็ม หรือ ขม ..."<ref>Dr. Kikunae Ikeda, Eighth International Congress of Applied Chemistry, Washington 1,912</ref> ซึ่งแสดงให้เห็นทัศนคติของเขาว่า รสอุมะมินี้ไม่เพียงแต่เป็นพบในอาหารตะวันออกเท่านั้น แต่ยังสามารถพบได้ในอาหารตะวันตก รวมทั้งอาหารในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ดีแม้ว่ารสชาติพื้นฐาน เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม และขม จะเป็นที่รู้จักกันมานานแสนนาน แต่รสอุมะมิกลับพึ่งได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 19801985 จากการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าอุมะมิเป็นรสชาติที่เป็นสากล
 
== แหล่งของรสอุมะมิ ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/อูมามิ"