ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิสตรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: vi:Nữ quyền, ja:フェミニスト
NT newthana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 101:
จากการติดตามองค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน “การทำแท้งเป็นเพียงแค่เรื่องอารมณ์และเป็นสิ่งหนึ่งที่กระตุ้นความคิดเห็นต่างๆอย่างลึกซึ้ง” แต่อย่างไรก็ตาม การได้รับการบริการในการทำแท้งด้วยความปลอดภัยเป็นอันดับแรกที่สำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน ในสถานที่ที่มี การทำแท้งที่ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีใครถูกบังคับให้ทำแท้ง ในสถานที่ที่การทำแท้งผิดกฎหมายและไม่ปลอดภัย ผู้หญิงถูกบังคับให้มีการตั้งครรภ์ที่ไม่ปรารถนาทำให้ทนทุกข์ทรมานจากสุขภาพที่ไม่ดีและนำไปสู่การเสียชีวิต มีการเสียชีวิตของมารดาคิดเป็นประมาณ 13% เนื่องมาจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย มีการเสียชีวิตประมาณ 68,000 และ 78,000 รายในแต่ละปี จากการติดตามรายงานขององค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน “การไม่ยอมรับสิทธิของสตรีในการตัดสินใจอย่างอิสระในเรื่องการทำแท้งเป็นการละเมิดหรือก่อให้เกิดภัยคุกคามสิทธิมนุษยชนในขอบเขตที่กว้าง” แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มอื่นๆ อย่างเช่น โบสถ์คาทอลิก สิทธิของคริสตชน และชาวยิวนิกายนิกายออร์ธอดอกซ์พิจารณาว่าการทำแท้งไม่ใช่สิทธิแต่เป็น “ความชั่วร้ายทางศีลธรรม”
 
== กฎหมายกฎธรรมชาติและสิทธิสตรี ==
ในศตวรรษที่ 17 มีนักปรัชญาศึกษากฎธรรมชาติในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา นักปรัชญาเหล่านั้นได้แก่ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) และจอห์น ล็อก (John Locke) ได้พัฒนาทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ อ้างอิงที่นักปรัชญาสมัยโบราณได้แก่ อาริสโตเติล และนักเทววิทยาคริสต์ เช่น อไควนัส (Aquinas) นักปรัชญาในศตวรรษที่ 17 นี้ได้พยายามแก้ต่างเรื่องความทาสและสถานะสตรีที่ด้อยกว่า นักปรัชญาได้แย้งว่าสิทธิทางธรรมชาติไม่ได้รับมาจากพระเจ้าแต่เป็น “สิ่งที่สากล, ชัดแจ้งในตัว, และโดยการหยั่งรู้” เชื่อว่าสิทธิธรรมชาติเป็นสิ่งที่เด่นชัดอยู่ในตัวอยู่แล้วที่มีให้แก่ “ผู้มีวัฒนธรรม” ซึ่งอยู่ในสังคมชั้นสูงสุด สิทธิทางธรรมชาติได้มาโดยธรรมชาติของมนุษย์ แนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์สร้างขึ้นมาครั้งแรกโดยนักปรัชญากรีก เซโน แห่ง ซิติอุม เซโนเป็นผู้สร้างปรัชญาสโตอิคและแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ แนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์เป็นแนวคิดที่นักปรัชญาชาวกรีก นักปรัชญาด้านกฎธรรมชาติ และนักมนุษยนิยมซึ่งเป็นชาวตะวันตก นำมาใช้ อาริสโตเติลได้สร้างแนวคิดเรื่องความมีเหตุผล เป็นแนวคิดที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย กล่าวว่า มนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีเหตุผล” นักปรัชญากฎธรรมชาติเชื่อว่าผู้หญิงไม่ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันเนื่องด้วย “ธรรมชาติที่อยู่ภายในตัว” แนวคิดของนักปรัชญากฎธรรมชาติได้รับการต่อต้านในศตวรรษที่ 18 และ 19 จากนักปรัชญาที่ศึกษาเทววิทยาธรรมชาติ อย่างเช่น วิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ช และชาร์ลส สเปอร์เจียน ซึ่งได้มีการโต้แย้งเพื่อการยกเลิกความเป็นทาสและได้ให้การสนับสนุนเพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย นักทฤษฎีกฎธรรมชาติในสมัยปัจจุบันและผู้ให้การสนับสนุนสิทธิทางธรรมชาติ กล่าวว่าทุกคนมีลักษณะธรรมชาติของมนุษย์ โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องเพศ ความเป็นชาติพันธ์ หรือคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นทุกคนจึงมีสิทธิตามธรรมชาติ[130]
 
{{โครงส่วน}}
== สิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรี ==