ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
* ผู้ตีพิมพ์ผลงาน (เช่น สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์)
 
'''สามข้อนี้สามารถกระทบต่อความน่าเชื่อถือได้''' แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออาจเป็นสิ่งตีพิมพ์ซึ่งมีขบวนการกระบวนการพิมพ์เผยแพร่ที่น่าเชื่อถือ หรือผู้ประพันธ์ถูกมองว่าเชื่อถือได้ในเรื่องนั้น หรือทั้งคู่ คุณสมบัติที่กำหนดเหล่านี้ควรถูกแสดงแก่ผู้อื่น
 
ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลขึ้นอยู่กับบริบท แหล่งข้อมูลแต่ละแหล่งต้องมีการชั่งน้ำหนักอย่างระมัดระวัง เพื่อตัดสินว่าแหล่งข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือสำหรับถ้อยแถลงที่ให้มา และเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในบริบทนั้นหรือไม่ โดยทั่วไป ยิ่งมีผู้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง วิเคราะห์ประเด็นข้อกฎหมาย และวิเคราะห์งานเขียนมากยิ่งขึ้นเท่าใด สิ่งพิมพ์เผยแพร่นั้นก็ยิ่งน่าเชื่อถือมากเท่านั้น แหล่งข้อมูลควรสนับสนุนสารสนเทศโดยตรงตามที่นำเสนอในบทควาาม และควรเหมาะสมกับข้ออ้าง หากหัวข้อใดไม่พบแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือกล่าวถึง วิกิพีเดียก็ไม่ควรมีบทความเกี่ยวกับหัวข้อนั้น
บรรทัด 15:
 
== ภาพรวม ==
บทความควรยึดแหล่งข้อมูลตีพิมพ์บุคคลภายนอก (third-party) ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งมีชื่อเสียงในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและความแม่น หมายความว่า เราเพียงแต่เผยแพร่ความคิดเห็นของผู้ประพันธ์ที่น่าเชื่อถือ มิใช่ความคิดเห็นของชาววิกิพีเดียที่อ่านและตีความเนื้อหาแหล่งข้อมูลปฐมภูมิเอง การอ้างอิงอย่างเหมาะสมขึ้นอยู่กับบริบทเสมอ สามัญสำนึกและการวินิจฉัยเชิงอัตวิสัย (editorial judgment) เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการกระบวนการที่ขาดมิได้
 
คำว่า "ตีพิมพ์" เกี่ยวข้องมากที่สุดกับเนื้อหาที่เป็นข้อความ ไม่ว่าจะในรูปแบบตีพิมพ์ดั้งเดิมหรือออนไลน์ อย่างไรก็ดี เนื้อหาเสียง วีดิทัศน์และมัลติมีเดียที่ถูกบันทึกแล้วแพร่สัญญาณ แจกจ่ายหรือเก็บไว้โดยผู้ที่น่าเชื่อถือ (reputable party) ยังอาจเข้าเกณฑ์ที่จำเป็นที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่นเดียวกับแหล่งข้อมูลที่เป็นข้อความ แหล่งข้อมูลสื่อต้องถูกผลิตโดยบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือ และมีการอ้างอิงอย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น ต้องมีสำเนาที่เก็บไว้ของสื่อนั้นอยู่ด้วย จะเป็นการสะดวกสำหรับสำเนาที่เก็บไว้ที่เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ไม่จำเป็น