ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชะฮ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
สุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม สุลต่านแห่งรัฐเคดะห์องค์ที่ 27 พระราชสมภพเมื่อวันที่ [[28 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2470]] ณ พระราชวังแห่งอลอร์สตาร์ เมือง[[อลอร์สตาร์]] [[รัฐเกดะห์]] พระองค์เป็นพระราชโอรสของ Sultan Badlishah สุลต่านแห่งรัฐเคดะห์องค์ที่ 26 (1943–1958) และพระมารดา Tunku Sofiah binti Tunku Mahmud ผู้สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุก่อนที่พระราชบิดาจะขึ้นครองราชย์
 
พระราชบิดา Sultan Badlishah เป็นพระราชโอรสของ Sultan Abdul Hamid Halim Shah (1881–1943) สุลต่านแห่งรัฐเคดะห์องค์ที่ 25 อดีตเจ้าพระยาไทรบุรี และอดีตข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลเกดะห์ (ไทรบุรี) ของประเทศไทย ก่อนที่จะเปลี่ยนไปอยู่ในความปกครองของประเทศอังกฤษและมาเป็นสหพันธ์รัฐมาลายูและสหพันธรัฐมาเลย์เซีย[[มาเลเซีย]]ตามลำดับ พระราชบิดา Sultan Badlishah พระราชสมภพที่เมืองไทรบุรีสมัยที่ยังเป็นของราชอาณาจักรไทย เคยมาศึกษาเล่าเรียนที่วชิราวุธวิทยาลัย แล้วรับราชการในประเทศไทยอยู่ช่วงหนึ่งที่พระคลังข้างที่และกระทรวงมหาดไทย ก่อนที่จะย้ายไปรับราชการที่ประเทศมาเลย์เซียและแต่งงานกับพระมารดาผู้เป็นหญิงไทยถือกำเนิดเกิดในเมืองเคดะห์
 
พระอัยกา Sultan Abdul Hamid Halim Shah มีบุตรหลายคน บุตรชายอีกคนหนึ่งคือ ตนกู อับดุล ราห์มาน (Tunku Abdul Rahman, 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2533) ซึ่งเกิดจากคุณหญิง เนื่อง นนทนาคร ( บุตรีของหลวงบุรานุรักษ์ (เกล็บ นนทะนาคร ) เจ้าเมืองนนทบุรีและหลานพระรามัญนนทเขตต์คดี ( เนียม นนทนาคร ) นายอำเภอปากเกร็ดคนแรก ) ซึ่งเป็นผู้นำการเรียกร้องเอกราช และนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ[[มาเลเซีย]] ได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งประเทศ[[มาเลเซีย]]หรือ Bapa of Malaysia ผู้เจรจาให้อังกฤษคืนเอกราชให้มาเลเซีย และเป็นผู้เจรจาให้ชนชาติต่างๆ รวมกันเป็นชาติ ร่วมสร้างประเทศสหพันธ์มลายูด้วยกัน รวมทั้งยังเจรจาให้สุลต่านทั้ง 9 รัฐ สลับกันขึ้นเป็นประมุขของชาติ
 
สมเด็จพระราชาธิบดีฯทรงมีพระมเหสี 2 พระองค์ พระองค์แรกสิ้นพระชนม์แล้ว พระมเหสีองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชินี ประไหมสุหรี อากง ตวนกู ฮัจญะห์ ฮามินะห์
 
==การครองราชสมบัติ==