ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ไปยัง หมวดหมู่:ผู้ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อ...
บรรทัด 87:
 
* [[นิธิ เอียวศรีวงศ์|ศาสตราจารย์'''นิธิ เอียวศรีวงศ์''']] นักวิชาการไทย ให้ความเห็นว่า
*# "การประหารเจ้านายด้วยพิธีกรรมอันอลังการดังที่กล่าวนี้ไม่รู้จะแปลเป็นภาษาฝรั่งว่าอย่างไร อังกฤษมีคำที่ผูกจากละตินว่า regicide แปลตามตัวก็คือ "สังหารพระเจ้าแผ่นดิน"<ref>คำนี้ [[ราชบัณฑิตยสถาน]]บัญญัติศัพท์ว่า "การปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์" โดยเป็นศัพท์ทาง[[นิติศาสตร์]]</ref> แล้วฝรั่งก็ใช้คำนี้ในความหมายทื่อ ๆ ตามนั้น เช่น เอามีดจิ้มให้ตายอย่างที่[[แม็คเบ็ธ|แมคเบธ]]<ref>แม็กเบท (MacBeth) เป็นพระมหากษัตริย์แห่ง[[สก็อตแลนด์]] โดยเป็นตัวละครในอุปรากรเรื่อง "แม็กเบท" ของ[[วิลเลียม เชกสเปียร์]] ชื่ออุปรากรนี้ภาษาไทยว่า "แม็คเบธ...ผู้ทรยศ" ''ดู [[แม็คเบ็ธ]]''</ref>ทำ หรือเอาไปบั่นพระเศียรเสียด้วย[[กิโยติน|กิโยตีน]] ซึ่งไม่ได้เป็นพระราชกิโยตีนด้วย เพราะกิโยตีนอันนั้นใช้ประหารได้ตั้งแต่โสเภณียันพระราชา หรือเอาไปขังไว้ในหอคอยรอให้ตายโดยดี ครั้นไม่ตายก็เลยเอาหมอนอุดจมูกให้ตายเสีย เป็นต้น ฉะนั้นถ้าพูดถึงการประหารเจ้านายของไทยว่าเป็น regicide จึงทำให้ฝรั่ง (และคนไทยที่ไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ไทย) เข้าใจไขว้เขวไปหมด มันไม่ใช่อย่างนั้นครับ ไม่ใช่อย่างนั้น"<ref name = Nithi01 >นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2544, พฤษภาคม). ระหว่างสถาบันและองค์พระมหากษัติรย์. '''ศิลปวัฒนธรรม,''' (ปีที่ 22, ฉบับที่ 7).</ref>
*# "การประหารเจ้านายด้วยพิธีกรรมอันซับซ้อนแสดงให้เห็นว่าคนไทยแต่ก่อนมองพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นสถาบันอย่างชัดแจ๋วเลยทีเดียว จะชิงราชบัลลังก์ขจัดพระเจ้าแผ่นดินออกไปไม่ใช่แค่เอาบุคคลที่เป็นพระเจ้าแผ่นดินไปฆ่าง่าย ๆ อย่างนั้น เอาไปฆ่านั้นฆ่าแน่ แต่จะฆ่าบุคคลอย่างไรจึงไม่กระทบต่อสถาบัน เพราะเขาแย่งชิงราชบัลลังก์ ไม่ได้พิฆาตราชบัลลังก์ซึ่งต้องสงวนไว้ให้เขาขึ้นไปครองแทน ฉะนั้นเลือดเจ้าจึงตกถึงแผ่นดินไม่ได้ ต้องสวมถุงแดงไม่ให้ใครถูกเนื้อต้องตัวพระบรมศพ ใช้ท่อนจันทน์ในการประหาร ฯลฯ..."<ref name = Nithi01 />
*# "จุดอ่อนที่สุดอย่างหนึ่งของสถาบันกษัตริย์นับแต่ต้นอยุธยาก็คือ ปัญหาการสืบราชสมบัติ คุณสมบัติเพียงประการเดียวของผู้มีสิทธิจะสืบราชสมบัติได้ก็คือความเป็นเชื้อพระวงศ์"<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2523). '''การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์.''' กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.</ref>
* '''ปรามินทร์ เครือทอง''' นักวิชาการอิสระ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์" ให้ความเห็นว่า<ref>ปรามินทร์ เครือทอง. (2545). '''สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์.''' กรุงเทพฯ : มติชน. หน้า 5.</ref> "คงจะเป็นการไม่ยุติธรรมหากเราเอาความรู้สึกปัจจุบันไปตัดสินกระบวนการทางการเมืองดังกล่าว เพราะภาพที่เราเห็นคือพ่อฆ่าลูก อาฆ่าหลาน พี่ฆ่าน้อง เป็นเรื่องที่รับไม่ได้ในปัจจุบัน แต่หลายเหตุการณ์ในอดีตนั้นกลับชี้ให้เราเห็นว่า ผู้ที่ได้รับการละเว้นมักจะกลับคืนมาพร้อมที่จะ 'ฆ่า' เพื่อทวงบัลลังก์คืนเช่นกัน ดังนั้น จึงไม่มีการครอบครองพระราชอำนาจโดยปราศจากความหวาดระแวง สิ่งนี้เป็นเสมือนคำสาปที่อยู่คู่กับราชบัลลังก์สยามมาจนถึงรัชกาลที่ 7 ในสมัยรัตนโกสินทร์..."