ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความต้านทานและการนำไฟฟ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
'''ความต้านทานไฟฟ้า''' ({{lang-en|electrical resistance}}) คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง[[แรงดัน]]และ[[กระแสไฟฟ้า]]ของวัตถุ<ref>J. D. Kruas., "Electromagnetics.," McGrawhill, 1992, Singapore, ISBN 0-07-11266-x, p-183</ref> วัตถุที่มีความต้านทานต่ำจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย เรียกว่า [[ตัวนำไฟฟ้า]] ในขณะที่[[ฉนวนไฟฟ้า]]มีความต้านทานสูงมากและกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ยาก
 
ค่าความต้านทานไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ R มีหน่วยเป็น[[โอห์ม]] (Ω) ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ Georg Simon Ohm ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่เสนอรายงานการทดลองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันในปี 1826 ส่วนกลับของค่าความต้านทานเรียกว่า [[ความนำไฟฟ้า]] (Conductivity) หน่วย[[ซีเมนส์]]
 
[[กฎของโอห์ม]]แสดง ความสัมพันธ์ระหว่าง [[แรงดันไฟฟ้า]] (V) , [[กระแสไฟฟ้า]] (I) และความต้านทาน (R) ไว้ดังนี้
 
: <math>R = {V \over I }\,</math>
 
== ความต้านทานของวัตถุ ==
=== ความต้านทานไฟฟ้ากระแสตรง ===
เมื่อไฟฟ้ากระแสตรงไหลผ่านวัตถุหรือสสารที่มีโครงสร้างเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอทั้งชิ้น (เอกพันธ์ หรือ homogeneous) <ref>C. A. Balanis., "Advanced Engineering Electromagnetics.," John wiley & sons, 1989, Canada, ISBN 978-0-471-62194-2, p-7</ref> กระแสไฟฟ้าจะกระจายทั่วหน้าตัดของวัตถุหรือสสารเหล่านั้น เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมิติทางกายภาพและความต้านทานไฟฟ้าของวัตถุได้เป็น
: <math>R = {l \cdot \rho \over A} \,</math>
โดย
: ''l'' คือ ความยาวของตัวนำ มีหน่วยเป็นเมตร(m)
 
: ''A'' คือ พื้นที่หน้าตัดของตัวนำ มีหน่วยเป็นตารางเมตร(m.m)
 
: ''ρ'' (Greek: rho) คือ [[สภาพต้านทานไฟฟ้า]]ของสสาร มีหน่วยเป็นโอห์ม-เมตร(Ω.m)
 
=== ความต้านทานไฟฟ้ากระแสสลับ ===