ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลอโรฟิลล์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 6:
คลอโรฟิลล์เป็นสารที่ละลายได้ดีใน[[อะซีโตน]]และ[[แอลกอฮอล์]] โครงสร้างอาจแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนหัว และส่วนหาง โดยที่ส่วนหัวของคลอโรฟิลล์มีลักษณะเป็นวงแหวนไพรอล (pyrole ring) ที่มี[[ไนโตรเจน]]เป็นองค์ประกอบอยู่ 4 วง และมีธาตุ[[แมกนีเซียม]]อยู่ตรงกลางโดยทำพันธะกับไนโตรเจน ส่วนหัวนี้มีขนาดประมาณ 1.5x1.5 [[อังสตรอม]] ส่วนหางของคลอโรฟิลล์มีลักษณะเป็น[[สารประกอบไฮโดรคาร์บอน]]ที่มี[[คาร์บอน]]เป็นองค์ประกอบ 20 [[อะตอม]] มีความยาวประมาณ 2 อังสตรอม คลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงได้ดีที่ช่วงคลื่นของแสงสีฟ้าและสีแดง แต่ดูดกลืนช่วงแสงสีเหลืองและเขียวได้น้อย ดังนั้นเมื่อได้รับแสงจะดูดกลืนแสงสีฟ้าและสีแดงไว้ ส่วนแสงสีเขียวที่ไม่ได้ดูดกลืนจึงสะท้อนออกมา ทำให้เห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว <ref name="ภาคภูมิ พระประเสริฐ" />
 
ในธรรมชาติมีคลอโรฟิลล์อยู่หลายชนิดด้วยกันซึ่งแต่ล่ะชนิดมีโครงสร้างหลักที่เหมือนกันคือ วงแหวนไพรอล 4 วง แต่โซ่ข้าง (side chain) ของคลอโรฟิลล์แต่ละชนิดจะมีลักษณะที่ต่างกันออกไป เช่น คลอโรฟิลล์ เอ (chlorophyll a) และคลอโรฟิลล์ บี (chlorophyll b) มีโครงสร้างโมเลกุลที่ต่างกันเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น นั่นคือ ที่วงแหวนไพรอล วงที่สองของคลอโรฟิลล์ เอ มีโซ่ข้างเป็นหมู่เมททิล (-CH3) ส่วนของคลอโรฟิลล์ บี เป็นหมู่[[อัลดีไฮด์]] (-CHO) ซึ่งการที่โครงสร้างที่ต่างกันนี้ก็ทำให้มีคุณสมบัติแตกต่างกัน รวมทั้งคุณสมบัติการดูดกลืนแสงก็ต่างกันด้วย และทำให้คลอโรฟิลล์ทั้งสองชนิดนี้มีสีต่างกันเล็กน้อย โดยที่คลอโรฟิลล์ เอ มีสีเขียวเข้ม ส่วนคลอโรฟิลล์ บี มีสีเขียวอ่อน
 
ถ้าทำ paper chromatography ด้วยการไล่ระดับของรงควัตถุในใบไม้นั้น จะเรียงลำดับเม็ดสีที่ได้ โดยดูจากความมีขั้วน้อย-มาก ของเม็ดสีแต่ละชนิดได้ดังนี้<ref>ควรระบุ stationary phase และ mobile phase ด้วยเพราะมีผลต่อการเคลื่อนที่ และระบุความมีขั้วของสาร</ref>
บรรทัด 19:
ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบโครงสร้างของคลอโรฟิลล์แต่ละชนิด
{| class="wikitable"
|
! Chlorophyll ''a''
! Chlorophyll ''b''
บรรทัด 86:
การสร้างคลอโรฟิลล์เริ่มจากการสร้าง tetrapyrrole ที่เป็นวง โดยใช้กรดอะมิโน 5-aminolevulinic acid (ALA)เป็นสารตั้งต้น ใน[[แบคทีเรียสีม่วง]]บางชนิดสร้างกรดอะมิโนชนิดนี้ขึ้นมาจาก succinyl CoA และ[[ไกลซีน]] ใน[[ไซยาโนแบคทีเรีย]] และพืชชั้นสูงจะสร้าง ALA โดยใช้กลูตาเมตในรูป glutamyl-tRNA เป็นสารตัวกลาง การสร้างคลอโรฟิลล์ในพืชเป็นวิถีที่ต้องมีการควบคุมอย่างมาก ในพืชมีดอกและพืชชั้นต่ำและสาหร่ายบางชนิดเช่น[[ยูกลีนา]] การเปลี่ยนรูปของ protochlorophyllidae ไปเป็น chlorophyllide a เป็นขั้นตอนที่เมื่อมีแสง ในอีทิโอพลาสต์ของใบที่เจริญในที่มืด จะสะสม protochlorophyllidae ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อใบพืชได้รับแสง protochlorophyllidae จะเปลี่ยนไปเป็น chlorophyllide a อย่างรวดเร็วจนหมด และสร้าง protochlorophyllidae ขึ้นมาใหม่ ใบที่ถูกแสงจึงกลายเป็นสีเขียว และถ้ามี protochlorophyllidae เหลืออยู่ การสังเคราะห์จะหยุดลง โดย protochlorophyllidae จะไปยับยั้งที่ปฏิกิริยาแรกคือยับยั้งการสร้าง ALA แต่ถ้าเพิ่ม ALA จากภายนอกเข้าไปจะเกิดการสังเคราะห์ protochlorophyllidae ขึ้นได้<ref>Mohr, H. and Schopfer, P. 1995. Plant Physiology. Springer</ref>
 
การสลายตัวคลอโรฟิลล์อาจเกิดจากมลพิษได้โดย[[โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน]]ทำให้[[คลอโรฟิลล์บี]]ในพืชลดลง<ref>Huang, Xiao-Dong, El-Alawi, Y., Penrose, D.M., Glick, B.R. and Greenberg, B.M. 2004. Responses of three grass species to creosote during phytoremediation. '''Environmental Pollution''', 130, 453-463</ref> ส่วนสารมลพิษที่มี[[คลอรีน]]เป็นองค์ประกอบและสารกำจัดวัชพืชเช่น[[ไกลโฟเสต]]ทำให้[[คลอโรฟิลล์เอ]]ลดลง<ref>Wong, P.K. 2000. Effects of 2,4-D, glyphosate and paraquat on growth, photosynthesis, and chlorophyll a synthesis of Scenedesmus quadricauda Berb 614. '''Chemosphere''', 41, 177-182.</ref>
 
== อ้างอิง ==