ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:KinginJudge.jpg|thumb|220px|right|[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]]ทรงเครื่องแบบข้าราชการตุลาการในฐานะที่ทรงเป็นที่มาแห่งความยุติธรรมตามความเชื่อโบราณ]]
 
'''ตุลาการ''' คือผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาอรรถคดี ตำแหน่งของตุลาการเรียกว่า '''"ผู้พิพากษา"''' โบราณเรียกว่า "ตระลาการ" หรือ "กระลาการ"<ref name = RoyinDict >[[ราชบัณฑิตยสถาน]]. (2551, 7 กุมภาพันธ์). '''พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp]. (เข้าถึงเมื่อ: 17 กันยายน 2551).</ref> ทั้งนี้ ตุลาการกับผู้พิพากษาของไทยในสมับโบราณนั้นมีอำนาจหน้าที่คนละอย่างกัน ปัจจุบัน ในศาลยุติธรรมนั้น ตุลาการเป็นชื่อข้าราชการประเภทหนึ่ง เรียกว่า '''"ข้าราชการตุลาการ"''' ส่วนผู้พิพากษาเป็นตำแหน่งของข้าราชการตุลาการ แต่ในศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญนั้น คำว่า ตุลาการ ใช้เรียกเป็นชื่อข้าราชการและเป็นตำแหน่งด้วย สำหรับศาลยุติธรรมนั้น คำว่า ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม นี้รวมถึง ดะโต๊ะยุติธรรมและข้าราชการธุรการที่ปฏิบัติงานให้แก่ฝ่ายตุลาการด้วยที่เรียกว่า ข้าราชการศาลยุติธรรม
 
อนึ่ง คำว่า "ตุลาการ" ยังเป็นชื่ออำนาจเกี่ยวกับการข้างต้นอีกด้วย โดยเป็นอำนาจฝ่ายหนึ่งในอำนาจทั้งสามตามการแบ่งแยกอำนาจของการปกครองใน[[ประชาธิปไตย|ระบอบประชาธิปไตย]]ซึ่งได้แก่ อำนาจตุลาการ อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร
บรรทัด 29:
บรรดากฎหมายเก่าที่มีคำว่า "ตระลาการ" นี้ แม้เมื่อสิ้นกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีแล้วก็ยังมีผลใช้บังคับต่อมา จนกระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ในจุลศักราช 1166 (พ.ศ. 2347-2348) ที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการที่มีสติปัญญาจำนวนสิบเอ็ดนายเป็นคณะกรรมการชำระกฎหมายทั้งปวงที่มีอยู่ในหอหลวง แล้วให้อาลักษณ์จัดทำไว้เป็นสามฉบับประทำตราสามตรา ดังที่เรียกติดปากกันจนทุกวันนี้ว่า "[[กฎหมายตราสามดวง]]" กระนั้น คำว่า "ตระลาการ" ก็ยังปรากฏอยู่
 
ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] กฎหมายหลายฉบับที่ตราขึ้นก็ยังใช้คำ "ตุลาการ" อยู่ กระทั่งมีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลทหารบก [[รัตนโกสินทรศก]] 126 (พ.ศ. 2450)<ref>"พระธรรมนูญศาลทหารบก รัตนโกสินทรศก 126 (พ.ศ. 2450)". (2450, 29 ธันวาคม). '''ราชกิจจานุเบกษา,''' (เล่ม 24). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/039/1015.PDF http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/039/1015.PDF]. (เข้าถึงเมื่อ: 17 กันยายน 2551).</ref> ปรากฏคำว่า "ตุลาการศาลกรมยุทธนาธิการ" ซึ่ง[[ราชบัณฑิตยสถาน]]กล่าวว่า ''"...ดูเหมือนจะเป็นครั้งแรกที่เริ่มใช้คำนี้ในกฎหมาย หลังจากนั้นกฎหมายเกี่ยวกับราชการศาลของฝ่ายทหารต่อ ๆ จนปัจจุบันนี้ก็เรียกผู้พิพากษาของศาลทหารว่า ตุลาการศาลทหาร"''
 
ส่วนด้านศาลพลเรือนนั้น การใช้คำ "ตุลาการ" ปรากฏครั้งแรกในพระบรมราชโองการประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455)<ref>"พระบรมราชโองการประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455)". (2455, 14 เมษายน). '''ราชกิจจานุเบกษา,''' (เล่ม 29). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/A/3.PDF http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/A/3.PDF]. (เข้าถึงเมื่อ: 17 กันยายน 2551).</ref> อันตราขึ้นในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประกาศนี้กำหนดให้อธิบดีศาลฎีกา (ประธานศาลฎีกาในปัจจุบัน) มีหน้าที่ดำริวางระเบียบราชการแผนกตุลาการ ในราชการฝ่ายตุลาการนั้นให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมปรึกษาหารือและฟังความคิดเห็นอธิบดีศาลฎีกา หลังจากนั้นในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตุลาการ พุทธศักราช 2471<ref>"พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตุลาการ พุทธศักราช 2477". (2478, 30 เมษายน). '''ราชกิจจานุเบกษา,''' (เล่ม 52). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/251.PDF http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/251.PDF]. (เข้าถึงเมื่อ: 17 กันยายน 2551).</ref> ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้ใหม่หลายครั้งเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
บรรทัด 46:
''โปรดดู '''วิวัฒนาการของตุลาการในทางนิรุกติศาสตร์ / คำว่า "ตระลาการ"''' ข้างบนประกอบ''
 
ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีแต่โบราณจะมีเจ้าพนักงานสองฝ่าย คือ '''"ตระลาการ"''' หรือ'''"ตุลาการ"''' มีหน้าที่พิจารณาไต่สวนหาข้อเท็จจริง และ '''"ผู้พิพากษา"''' มีหน้าที่ให้คำพิพากษาเมื่อได้ข้อเท็จจริงจากตุลาการแล้ว เมื่อมีการเลิกใช้กฎหมายตราสามดวงโดยปริยาย ฝ่ายตุลาการก็สูญสิ้นไปด้วย ผู้พิพากษาจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการอย่างโบราณอีกหน้าที่หนึ่ง อย่างไรก็ดี ต่อมาภายหลังกลับรื้อคำว่า "ตระลาการ" หรือ "ตุลาการ" ขึ้นมาใช้อีก โดยให้ความหมายว่าผู้พิจารณาพิพากษาอรรถคดีเหมือนอย่างผู้พิพากษา จนกระทั่งภายหลังมีกฎหมายว่าด้วยข้าราชการตุลาการขึ้น จึงเป็นที่ทำให้เข้าใจอย่างตายตัวว่า ในบัดนี้ความหมายของคำว่า "ผู้พิพากษา" กับ "ตุลาการ" เป็นอย่างเดียวกัน<ref>ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์). (2549, มีนาคม). "ตระลาการ". '''พจนานุกรมกฎหมาย.''' กรุงเทพฯ : วิญญูชน. หน้า 128-129.</ref> จนกระทั่งต่อมามีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญกับศาลปกครองขึ้น โดยโอนอำนาจของศาลยุติธรรมที่เกี่ยวกับคดีปกครองและการตีความรัฐธรรมนูญไปให้กับศาลที่จัดตั้งใหม่ทั้งสองประเภทดังกล่าว จึงมีการกำหนดในกฎหมายอย่างชัดเจนทำให้เห็นได้ว่าตำแหน่ง "ผู้พิพากษา" นั้นจะใช้กับศาลยุติธรรมเท่านั้น แต่ศาล
รัฐธรรมนูญกับศาลปกครองนั้น จะเรียกว่า "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลปกครอง"