ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การ์ตูนไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{ปรับภาษา}}
'''การ์ตูนไทย''' ประวัติจากคำบอกเล่า เริ่มต้นจากเป็นการ์ตูนแนวนิยายพื้นบ้าน ผี และแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ราคาเล่มละหนึ่งบาท โดยมีนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงสมัยนั้น เช่น [[จุก เบี้ยวสกุล]] ต่อมาเริ่มมีการ์ตูนแนวตลกสั้น ๆ ในลักษณะ [[การ์ตูน 3 ช่องจบ]] ออกมาเพิ่ม เช่น [[เบบี้]] [[หนูจ๋า]] [[ขายหัวเราะ]] และ [[มหาสนุก]] ส่วนการ์ตูนไทยในลักษณะ[[มังงะ]]อย่างที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบันนั้น น่าจะมีมาไม่ถึงยี่สิบปี โดยนิตยสารการ์ตูนไทยในแนวมังงะยุคบุกเบิกได้แก่ [[ไทคอมมิค]] (Thai Comic) ของ[[สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ]] และ [[เอ-คอมมิค]] (a-comic) และ cartoon thai studio ของ สยามอินเตอร์คอมมิค
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 7:
[[ไฟล์:cartoon005.gif|thumb|ปกหนังสือการ์ตูนเล่มละบาทของ[[สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น]]วาดโดย ชายชล ชีวิน]]
[[ไฟล์:before031.gif|thumb|ปกการ์ตูนนิยายภาพเรื่อง "[[อวสานอินทรีแดง]]" จัดจำหน่ายโดย [[สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น]] วาดโดย ราชันย์ (ภาพจากนิตยสาร "รู้รอบตัว" ฉบับที่ 50 มีนาคม 2533)]]‎
ประวัติศาสตร์การ์ตูนไทยเริ่มจากการเข้ามาของวิทยาการเขียนภาพแบบตะวันตก ซึ่ง[[ขรัวอินโข่ง]] [[จิตรกร]]ในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] - [[รัชกาลที่ 4]] แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ได้นำมาใช้เป็นคนแรกในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังลักษณะเหมือนจริง หลายคนจึงถือกันว่าท่านเป็นนักเขียนการ์ตูนไทยคนแรกต่อมาในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 ภาพล้อหรือการ์ตูนในเมืองไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะแนวการ์ตูนล้อการเมือง ยุคนี้ได้มีนักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองคนแรกเกิดขึ้น คือ [[ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต]] (เปล่ง ไตรปิ่น) แม้รัชกาลที่ 6 เองก็ทรงโปรดการ์ตูนลักษณะดังกล่าว ดังปรากฏหลักฐานว่า มีภาพวาดฝีพระหัตถ์ล้อเหล่าเสนาบดีและข้าราชบริพารในพระองค์อยู่เสมอๆ ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ดุสิตสมัย
 
ถึงสมัย[[รัชกาลที่ 7]] วงการการ์ตูนซบเซาลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ จนถึง [[พ.ศ. 2475]] ประเทศไทยมี[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]] ทำให้นักเขียนการ์ตูนมีเสรีภาพในการเสนอความคิดเห็นมากขึ้น จึงมีนักเขียนการ์ตูนดังๆ เกิดขึ้นในยุคนี้หลายคน อาทิ [[สวัสดิ์ จุฑะรพ]] ผู้นำเรื่อง[[สังข์ทอง]]มาวาดเป็นการ์ตูนเรื่องยาวเรื่องแรกของประเทศไทย ลงในหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ และเจ้าของตัวการ์ตูน "ขุนหมื่น" ซึ่งดัดแปลงมาจาก[[ป๊อบอาย]]และ[[มิกกี้ เมาส์]] โดยเป็นตัวตลกแทรกอยู่ในการ์ตูนจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องต่างๆ ต่อมานักเขียนการ์ตูนคนอื่นๆ จึงสร้างการ์ตูนตัวหลักของตัวเองขึ้นมาบ้าง นอกจากนี้ยังมีนักเขียนการ์ตูนแนวเดียวกับ สวัสดิ์ จุฑะรพ คนอื่นๆ เช่น [[วิตต์ สุทธิเสถียร]] [[จำนงค์ รอดอริ]] ส่วนนักเขียนในยุคเดียวกันแต่วาดคนละแนวก็มีเช่นกัน เป็นต้นว่า [[ฉันท์ สุวรรณบุณย์]] ผู้บุกเบิกการ์ตูนสำหรับเด็กเป็นคนแรกของประเทศไทย
 
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การ์ตูนไทยซบเซาลงจากภัยสงครามเช่นเดียวกับวงการวรรณกรรม เมื่อสิ้นสงครามแล้ว วงการการ์ตูนไทยจึงฟื้นตัวอีกครั้ง ในยุคนี้ปรากฏนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น [[ประยูร จรรยาวงษ์]] นักเขียนการ์ตูนเจ้าของฉายา "ราชาการ์ตูนไทย" ซึ่งวาดทั้งการ์ตูนตลกและการ์ตูนการเมือง ในยุคเดียวกันนี้ก็มีนักวาดภาพประกอบผู้โด่งดังซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ [[เหม เวชกร]] ซึ่งน้อยคนนักจะรู้ว่าท่านก็วาดการ์ตูนด้วยเหมือนกัน [[พ.ศ. 2495]] ได้มีการ์ตูนสำหรับเด็กเกิดขึ้นเป็นเล่มแรก คือ หนังสือการ์ตูน "[[ตุ๊กตา (หนังสือการ์ตูน)|ตุ๊กตา]]" อันเป็นผลงานของ[[พิมล กาฬสีห์]] มีตัวละครหลักสี่คน คือ หนูไก่ หนูนิด หนูหน่อย และหนูแจ๋ว และประสบความสำเร็จอย่างสูง (เลิกออกประมาณ พ.ศ. 2530 เนื่องจากพิมล กาฬสีห์ เสียชีวิต) หลังจากนั้นจึงมีการ์ตูนสำหรับเด็กออกมาอีกหลายเล่ม เช่น การ์ตูน "[[หนูจ๋า]]" ของ จุ๋มจิ๋ม ([[จำนูญ เล็กสมทิศ]]) ซึ่งเริ่มวางแผงเล่มแรกเมื่อเดือนมกราคม [[พ.ศ. 2500]] และที่ได้รับความนิยมตามมาอีกเล่มก็คือการ์ตูน "[[เบบี้]]" ของ [[วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ]] ซึ่งเริ่มวางแผงฉบับแรกเมื่อ [[พ.ศ. 2504]] ตัวการ์ตูนหลักของเบบี้นั้นมีมากถึงสิบกว่าคน บางตัวก็มีการนำไปแสดงหนังโฆษณาก็มี คือคุณโฉลงและคุณเต๋ว หนังสือทั้งสองเล่มนี้อยู่ในเครือ[[สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น]] และยังคงออกมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
 
นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กที่แฝงสาระมากอีกเล่มหนึ่งก็คือ [[ชัยพฤกษ์การ์ตูน]] ซึ่งมี ทาร์ซานกับเจ้าจุ่น เป็นตัวชูโรง ผู้วาดก็คือ รงค์ นักเขียนการ์ตูนนิยายภาพที่สร้างชื่อเสียงในชัยพฤกษ์การ์ตูน อย่างเช่น [[เตรียม ชาชุมพร]] ที่เขียนเรื่อง "เพื่อน" โอม รัชเวทย์ สมชาย ปานประชา พล พิทยกุล เฉลิม อัคภู ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ได้ปิดตัวไปแล้วนักเขียนคนอื่นที่มีชื่อเสียงร่วมสมัยได้แก่ [[พ.บางพลี]] (เจ้าของผลงานเรื่อง อัศวินสายฟ้า และ[[ศรีธนญชัย]]), [[ราช เลอสรวง]], [[จุก เบี้ยวสกุล]] ฯลฯ ซึ่งในยุคนี้ส่วนมากจะนิยมวาดการ์ตูนเรื่อง บางเรื่องยาวเป็นร้อยๆ หน้า นับว่าเป็นยุคทองของการ์ตูนเรื่องทีเดียว
บรรทัด 20:
 
==== ยุคปัจจุบัน ====
ปัจจุบัน การ์ตูนไทยที่ถือได้ว่าครองใจคนทุกเพศทุกวัยเป็นอันดับหนึ่งของประเทศในเวลานี้ก็คือ [[ขายหัวเราะ]]-[[มหาสนุก]] ในเครือ[[สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น]] ซึ่งแนวทางการ์ตูนจะเป็นการ์ตูนประเภท[[การ์ตูนแก๊ก]]และ[[การ์ตูนเรื่องสั้น]]จบในตอนเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการพัฒนาการ์ตูนไทยรูปแบบคอมมิคขึ้น จากกลุ่มคนที่มีประสบการณ์การอ่านการ์ตูนแนว[[มังงะ]]ของ[[ญี่ปุ่น]] เท่าที่ปรากฏในเวลานี้ สำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์การ์ตูนไทยแนวดังกล่าวได้แก่ สำนักพิมพ์[[สยามอินเตอร์คอมิกส์]] สำนักพิมพ์[[บุรพัฒน์]] และสำนักพิมพ์[[เนชั่นเอ็ดดูเทนเมนท์]] ตลาดของการ์ตูนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เน้นที่กลุ่มวัยรุ่น ในขณะที่การ์ตูนนิยายภาพแบบดั้งเดิมยังคงมีการผลิตอยู่เรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะอิงกับตลาดระดับล่าง เช่นหนังสือเล่มละบาท ซึ่งปัจจุบันปรับตัวมาขายในราคาเล่มละห้าบาทการ์ตูนในเมืองไทยเริ่มพัฒนาต่อเนือง หลังจากการ์ตูนแนวญี่ปุ่นเข้ามากระตุ้นตลาดการ์ตูนไทยในช่วงหลายปี่ที่ผ่าน นักวาดการ์ตูนที่เป็นเด็กรุ่นไหม่ได้ซึมซับการ์ตูนแนวมังงะจนเกิดการ์ตูนแนวนี้ขึ้นมาอย่างแพร่หลายในตลาด มีหลายสำนักพิมพ์ที่เป็นหัวหอกสำคัญทำหนังสือการ์ตูนไทยในแนวมังงะ เช่นไทยคอมมิก ของวิบูลย์กิจ การตอบรับของผู้อ่านเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเกิดเหตุการณ์การ์ตูนแนวมังงะฟรีเวอร์ เกิดการ์ตูนความรู้ในรูปแบบการ์ตูนภาพเกิดขึ้น เช่นเรื่อง รามเกียรติ ซึ่งประสบความสำเร็จขายดีถล่มทลาย จนมีหนังสือในแนวนี้ออกมาเต็มตลาดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน กระตุ้นให้เกิดนักวาดการ์ตูนมากมายซึ่งเป็นผลดีต่อวงการเป็นอย่างมาก
 
อีกช่วงของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดของการ์ตูนไทย คือการ์ตูนที่ไม่เป็นแนวตลาดซึ่งพัฒนาแยกออกจากการ์ตูนแนวมังงะอีกที มีลักษณะการออกแบบมีความเป็นเฉพาะมากขึ้น แนงเรื่องก็เฉพาะเจาะจงมากขึ้น กำลังได้รับความนิยมของคนอ่านขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากเกิดหนังสือการ์ตูนรายเดือนวางตลาด เช่น หนังสือชื่อ"แลต" ในกลุ่มของสตาร์พิค และกำลังจะออกมาอีกหลายๆเล่มในขณะที่[[การ์ตูนญี่ปุ่น]]เข้ามาในไทยก็ได้มีชนกลุ่มหนึ่งอยากผลิดการ์ตูนขึ้นเองบ้างแต่ก็มีลายเส้นป็นเอกลักษ์เฉพาะตัวจะเห็นได้จากพวกที่วางขายของ hand made ตามถนนแต่บางพวกก็ส่งผลงานเข้าสำนักพิมพ์ที่อยู่ในไทยก็มี เช่น สำนักพิมพ์ [[NED]] สำนักพิมพ์ [[จิณนา สตูดิโอ]] สำนักพิมพ์[[บงกช พับลิชชิ่ง]] ก็มี ปัจจุบันมีการสอนวาดรูปการ์ตูนชนิดนี้มากขึ้น โดยสื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาฝีมือโดยอาศัยแลกภาพกันติชมวิจารณ์ผ่านเว็บบอร์ด หรือสร้างเว็บไซต์แสดงผลงานกันในอินเทอร์เน็ต อีกทั้งงานประจำปีของการ์ตูนปัจจุบันมีมากมายหลากหลายไม่แต่เฉพาะในกรุงเทพ ยังขยายไปตามต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น