ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การวิจัยดำเนินการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 3:
คำว่าการวิจัยดำเนินงานและ[[วิทยาการบริหารจัดการ]] นั้นปกติจะใช้ในความหมายใกล้เคียงกัน โดยวิทยาการบริหารจัดการนั้นปกติจะมีเฉพาะเจาะจงกับปัญหาทางด้านการบริหาธุรกิจมากกว่า ส่วนการวิจัยดำเนินงานจะเกี่ยวกับ[[วิศวกรรมอุตสาหการ]]ซึ่งมองปัญหาเชิง[[วิศวกรรม]] โดยใช้เทคนิคโออาร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเหล่านั้น
 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดำเนินงานคือ [[สถิติ]] (statistics) [[การหาค่าเหมาะที่สุด]] (optimization) [[การสโทแคสติก]] (stochastic) ทฤษฎี[[แถวคอย]] (queuing) [[ทฤษฎีเกม]] (Game's theory) และ [[การจำลอง]](simulation) และเนื่องจาก OR มีการใช้การคำนวณเชิงคอมพิวเตอร์จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับ[[วิทยาการคอมพิวเตอร์]] และ นักวิจัยดำเนินงานปกติจะต้องพัฒนาหรือปรับปรุง[[ซอฟต์แวร์]]เอง
 
การวิจัยดำเนินงานมีจุดเด่นตรงที่ความสามารถในการพัฒนาระบบทั้งระบบ ไม่เฉพาะเจาะจงกับการแก้ไขปัญหาย่อยเพียงอย่างเดียว โดยนักวิจัยดำเนินงานจะแก้ปัญหาโดยพิจารณาว่า วิธีหรือเทคนิคใดที่เหมาะสมกับธรรมชาติของระบบนั้น ๆ พิจารณาเป้าหมายของการปรับปรุง และ เงื่อนไขเประสิทธิภาพเชิงเวลา และโดยมากแล้วปัญหาทางเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเองมักไม่สามารถแก้ได้ด้วยเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเท่านั้น ต้องอาศัยเทคนิคอื่นมาร่วมแก้ไขปัญหาด้วย