ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประกาศเป็นบุญราศี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 11:
* '''เจ็ดบุญราศี[[มรณสักขีแห่งสองคอน]]''' ผู้สร้างวีรกรรมความศรัทธาเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในสมัยที่ไทยมี[[กรณีพิพาทอินโดจีน]]กับฝรั่งเศส กรณีดินแดนในแถบอินโดจีน ช่วงนั้นมีคนไทยหลายคนเข้าใจผิดว่าศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของฝรั่งเศส ทางการไทยจึงได้มีคำสั่งให้ชาวบ้านเลิกนับถือศาสนาคริสต์ แต่มีชาวบ้านอยู่ 7 คนที่ไม่ยอมละทิ้งศาสนา นำโดยนายสีฟอง อ่อนพิทักษ์ (อายุ 33 ปี) , [[ภคินี]] 2 รูปคือ ซิสเตอร์พิลา ทิพย์สุข (อายุ 31 ปี) และซิสเตอร์คำบาง สีฟอง (อายุ 23 ปี) , สตรีสูงวัย 1 ท่านคือนางพุดทา ว่องไว (อายุ 59 ปี) , และเด็กสาวอีก 3 ท่านคือ นางสาวบุดสี ว่องไว (อายุ 16 ปี ), นางสาวคำไพ ว่องไว (อายุ 15 ปี) และเด็กหญิงพร ว่องไว (อายุ 14 ปี) ทั้งหมดถูกยื่นคำขาดว่าจะต้องถูกฆ่า เพื่อเป็นการพิทักษ์ศาสนา ทั้ง 7 คนจึงพร้อมใจกันยอมสละชีวิตที่ป่าศักดิ์สิทธิ์ โดยมีตำรวจเป็นคนคร่าชีวิต
 
ปี 2532 [[สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2]] ได้ประกาศสดุดีให้ทั้ง 7 คน เป็น "บุญราศีมรณสักขี" หมายถึง คริสตชนผู้ที่ประกอบกรรมดีและพลีชีพเพื่อประกาศยืนยันความเชื่อในพระเจ้าไม่ยอมละทิ้งศาสนา อีกทั้งประกาศให้มีพิธีรำลึกบุญราศีสองคอนทั้ง 7 ในวันที่ 16 ธันวาคม โดยมีการฉลองอย่างยิ่งใหญ่ใน[[มหาวิหารนักบุญเปโตร]] กรุง[[โรม]] ซึ่งหลังจากการสถาปนาบุญราศีทั้ง 7 แล้ว โบสถ์สองคอน จึงได้จัดงานชุมนุมครั้งใหญ่ เพื่อฉลองบุญราศีที่ประเทศไทย เรียกงานนี้ว่า “งานสันติร่วมจิตใจเดียว” ในปีต่อ ๆ มา จัดเป็นงานวันรำลึกบุญราศีทั้ง 7 แต่เพื่อความสะดวกแก่ผู้ที่สนใจอยากไปร่วมงาน การฉลองที่โบสถ์สองคอนจึงกำหนดให้จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ใกล้เคียงกับวันที่ 16 ธันวาคมที่สุด <ref name="รำลึกบุญราศีที่วัดสองคอน"> [http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/travel/20100110/94555/%E0%B8%A3%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99.html รำลึกบุญราศีที่วัดสองคอน, กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์.]</ref>
 
* '''บุญราศีนิโคลาส [[บุญเกิด กฤษบำรุง]]'''<ref name="บุญราศีนิโคลาส">[http://www.catholic.or.th/spiritual/books/saints/saintsjan/bunkerd.html บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง, ประวัตินักบุญตลอดปี, เว็บไซต์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ,]</ref> เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1895 และรับ[[ศีลล้างบาป]]วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 ที่[[โบสถ์นักบุญเปโตร สามพราน]] นครปฐม และรับ[[ศีลอนุกรม]]เป็น[[บาทหลวง]] โดยมุขนายก[[เรอเน-มารี-โฌแซ็ฟ แปโร]] เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1926 ที่[[อาสนวิหารอัสสัมชัญ]] บางรัก กรุงเทพฯ
 
บาทหลวงบุญเกิดทำงานอภิบาลที่โบสถ์หลายแห่ง คือ [[อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก]] โบสถ์เซนต์นิโคลาส พิษณุโลก โบสถ์คาทอลิกในเชียงใหม่และลำปาง [[อาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด นครราชสีมา]] และ[[โบสถ์นักบุญเทเรซา โนนแก้ว]]
 
บาทหลวงบุญเกิดถูกจับใน[[วันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์]] หลังจากประกอบศาสนกิจที่[[โบสถ์นักบุญยอแซฟ บ้านหัน]] เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1941 ในข้อหาเป็นกบฏภายนอกราชอาณาจักร ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี ระหว่างอยู่ในคุกที่[[เรือนจำกลางบางขวาง]]เป็นปีที่สาม ท่านป่วยเป็น[[วัณโรค]]เป็นเวลา 9 เดือน และถึงแก่กรรมในคุกนั้นเอง เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1944 รวมอายุ 49 ปี ศพของท่านถูกนำไปฝังไว้ที่วัดบางแพรกซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้เรือนจำ หลังจากนั้นในเดือนมีนาคม มุขนายก[[เรอเน-มารี-โฌแซ็ฟ แปโร]]จึงได้รับอนุญาตให้นำศพของท่านมาฝังที่[[อาสนวิหารอัสสัมชัญ]] บางรัก กรุงเทพฯ
 
บาทหลวงนิโคลาสเป็นบาทหลวงที่เอาใจใส่งานอภิบาล มีใจเมตตาต่อคนยากจน และมีความกระตือรือร้นใน[[การประกาศข่าวดี]] ระหว่างที่อยู่ในคุก ท่านได้สอนคำสอนและโปรด[[ศีลล้างบาป]]ให้นักโทษด้วยกันที่ใกล้ตายจำนวน 68 คน