ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลกิยานุวัติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{ใช้ปีคศ|width = 280px}}
'''การปฏิรูปสถาบันศาสนาคริสต์''' (ภาษาอังกฤษ: Secularization of the church) ในบทความนี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและศาสนาที่มีผลกระทบกระเทือนต่อระบบการปกครองและ/หรือ สิ่งก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ของคริสต์ศาสนจักรเท่านั้น มิใช่ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า “Secularization” ซึ่งจะหมายถึงการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร
 
'''การปฏิรูปสถาบันศาสนาคริสต์''' ที่กล่าวถึงเป็นความหมายทางประวัติศาสตร์ศาสนา<ref>Casanova, Jose (1994). ''Public Religions in the Modern World''. University of Chicago Press, pg. 13. ISBN 0226095355</ref>ที่กล่าวถึงการละทิ้งอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์ของวัดโดยการขายจากการที่รัฐบาลสั่งยึดทรัพย์หลังจากที่มีการต่อรองระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายปกครองของวัด ตามปรัชญาสถาบัน[[โรมันคาทอลิก]] คำนี้อาจจะหมายถึงการที่สถาบันอนุญาตให้นักบวชแยกตัวมาอยู่นอก [[สำนักสงฆ์]] ซึ่งอาจจะเป็นช่วงระยะเวลาจำกัดหรืออาจจะเป็นการถาวรก็ได้<ref>Catholic Encyclopedia at newadvent.org. http://www.newadvent.org/cathen/13677a.htm Retrieved 3/15/07.</ref>
 
== การปฏิรูปสถาบันศาสนาคริสต์สมัยปลายยุคกลาง ==
การปฏิรูปสถาบันศาสนาคริสต์สมัยปลาย[[ยุคกลาง]] เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปเช่น [[อังกฤษ]] [[ประเทศเยอรมนี|เยอรมนี]] หรือ [[ประเทศสวีเดน|สวีเดน]] ที่เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 มาจนถึง [[การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์]] เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 การเปลี่ยนแปลงแบบนี้หมายถึงการที่[[มหาวิหาร]]แยกตัวออกมาจากลัทธิสำนักสงฆ์ เช่น [[ลัทธิเบ็นนาดิคติน]] หรือ [[ลัทธิออกัสติเนียน]] มาขึ้นกับการปฏิบัติตาม “[[คริสต์ศาสนกฎบัตร]]” (Canon law) โดยทั่วไปเท่านั้น ฉะนั้นสังฆบุคลากรของมหาวิหารประเภทหลังจึงได้เรียกกันว่า “[[แคนนอน]]” (Canon) สถาบันศาสนาแบบนี้จึงรู้จักกันว่า สถาบันแบบ “เซ็คคิวลาร์” (Secular)
 
== การปฏิรูปสถาบันศาสนาคริสต์ในประเทศเยอรมนีระหว่าง ค.ศ. 1795 – ค.ศ. 1814 ==
{{Main|การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี}}
เมื่อมีการก่อตั้ง[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 10 และ 11 [[ระบบศักดินา]]ทำให้เยอรมนีและทางเหนือของอิตาลีแบ่งย่อยออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยแต่ละแคว้นก็มีเจ้าผู้ครองนครของตนเอง มีระบบ มีสิทธิ และความเป็นอิสระจากแคว้นอื่นทำให้การปกครองขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อจะแก้ปัญหานี้[[สังฆมณฑล (ศาสนาคริสต์)|สังฆมณฑล]] [[สำนักสงฆ์]] และ [[แอบบี]]ก็มอบที่ดินและตำแหน่งชั่วคราวเช่น ดยุก หรือ เคานท์ ให้กับจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เรื่อยมา
 
การแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆโดยสถาบันศาสนาคริสต์ เหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน จนในที่สุดพระจักรพรรดิเองก็ไม่สามารถควบคุมสถาบันศาสนาได้ สถาบันทางศาสนาเองก็เริ่มมีอำนาจในการปกครองแคว้นเหล่านี้มากขึ้นจนกลายเป็น “คริสต์ศาสนรัฐ” (ecclesiastical states) ระบบนี้ทำให้เกิดการฉ้อโกงและการใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อกันภายในคริสต์ศาสนรัฐอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นผลที่ทำให้ระบบการปกครองของสังฆบุคลากรของสถาบัน[[โรมันคาทอลิก]]เองก็เสื่อมลง และในที่สุดก็นำไปสู่[[การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์]]
 
แต่[[การปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก|การปฏิรูปซ้อนของนิกายโรมันคาทอลิก]]ทำให้ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะ “[[สมเด็จพระสังฆราช (ศาสนาคริสต์)|สมเด็จพระสังฆราช]]” (Prince-Bishops) กลับมารุ่งเรืองขึ้นอีกระยะหนึ่ง แต่พอเมื่อมาถึงปลาย “[[สงครามสามสิบปี]]” ระหว่างปีค.ศ. 1618 ถึงปีค.ศ. 1648 ระบบซึ่งผู้อยู่ภายใต้การปกครองของ “คริสต์ศาสนรัฐ” ที่ขึ้นอยู่กับ “สมเด็จพระสังฆราช” ก็เสื่อมลง
 
ในปีค.ศ. 1797 [[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1]] ทรงได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยผนวกดินแดนทั้งหมดทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ตาม “[[สนธิสัญญาแค็มโพฟอร์มิโอ]]” (Treaty of Campo Formio) เมื่อจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เสียดินแดนให้กับจักรพรรดินโปเลียน ทางจักรวรรดิก็ต้องหาที่ดินชดเชยให้กับเจ้านายหรือขุนนางที่ไร้แผ่นดิน ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของ “สมเด็จพระสังฆราช” จึงถูกยึด หรือถูก “secularised” และแบ่งปันกันระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่างๆในเยอรมนี
 
“คริสต์ศาสนรัฐ” เมื่อถูกยึดมาแล้วก็จะถูกผนวกกับดินแดนของรัฐข้างเคียง คริสต์ศาสนรัฐที่รอดมาได้จากการถูกผนวกมีเพียงสามแห่ง การปฏิรูปครั้งนี้ทำให้ระบบคริสต์ศาสนรัฐเสื่อมลงและ[[คริสต์ศาสนสถาน|สิ่งก่อสร้างทางศาสนา]]ที่ขาดการดูแลทรุดโทรมลงตามไปด้วย สำนักสงฆ์และแอบบีเป็นจำนวนมากไม่สามารถอยู่รอดได้ก็ต้องปิดกันไป