ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ= |สำหรับ= |ดูที่=การปกครองระบบโบราณ |เปลี่ยนทาง=}}
{{ใช้ปีคศ|width = 280px}}
[[ไฟล์:Louis XIV habillé en soleil.jpg|thumb|280px |[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 14]] ในฐานะ “พระสุริยเทพ”]]
'''การปกครองระบบโบราณในฝรั่งเศส''' หรือ '''การปกครองระบบเก่าในฝรั่งเศส''' ({{lang-fr|'''Ancien Régime in France'''}}) “Ancien Régime” เป็นภาษาฝรั่งเศสที่แปลมาเป็นภาษาไทยจากภาษาอังกฤษว่า“การปกครองระบบเก่า,” “อาณาจักรเดิม” หรือง่ายๆ ว่า “ระบบเก่า” โดยทั่วไปหมายถึงระบบเจ้านาย, สังคม และการเมืองที่ใช้ในฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภายใต้[[ราชวงศ์วาลัวส์]]และ[[ราชวงศ์บูร์บอง]] โครงสร้างทางการบริหารและทางการสังคมของ “ระบบเก่า” เป็นผลมาจากพระราชบัญญัติ, ความขัดแย้งภายใน และ[[สงครามกลางเมือง]]ที่เป็นผลทำให้ฝรั่งเศสอยู่ในสภาพที่ยุ่งเหยิงไปด้วยสิทธิพิเศษต่างๆ ของท้องถิ่นและความแตกต่างต่างๆ ทางประวัติศาสตร์จนกระทั่งมาถึง[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]]ที่นำไปสู่การควบคุมอย่างเด็ดขาดของระบบการบริหารที่สับสนยุ่งเหยิง
 
ระบบการปกครองโดยการรวมอำนาจมายังส่วนกลางของ[[สมัยกลาง]]ของฝรั่งเศสสูญหายไประหว่าง[[สงครามร้อยปี]] และเมื่อ[[ราชวงศ์วาลัวส์]]พยายามรวบรวมศูนย์กลางการปกครองที่แตกแยกกันไปเข้าด้วยกันแต่กลับนำไปสู่[[สงครามศาสนาของฝรั่งเศส|สงครามศาสนา]] เวลาในรัชสมัยของ[[พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าอองรีที่ 4]], [[พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 13]] และต้นรัชสมัยของ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 14]] ส่วนใหญ่ใช้ไปในการพยายามรวมรวมศูนย์กลางการปกครองที่แตกแยกกันไปกลับมาเข้าด้วยกัน และแม้ว่าจะเป็นการปกครองในระบบ “[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]” ซึ่งถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด แต่ “ระบบเก่า” ของฝรั่งเศสก็ยังเป็นระบบที่ไม่มีแบบแผนที่ประกอบด้วยระบบการบริหารที่รวมทั้งการเก็บภาษี, ระบบยุติธรรม, และระบบการปกครองทางศาสนาและอภิสิทธิ์ต่างๆ ที่มักจะซ้ำซ้อนกัน ขณะเดียวกัน[[ขุนนางฝรั่งเศส]] (French nobility) ก็พยายามเสือกสนที่จะรักษาอภิสิทธิ์ของตนเองในการปกครองท้องถิ่นและรักษาความยุติธรรม ความขัดแย้งภายในเหล่านี้เป็นการต่อต้านความพยายามในการรวมอำนาจมายังส่วนกลางของสถาบันพระมหากษัตริย์
 
ความจำเป็นในการรวมอำนาจมายังส่วนกลางในสมัยนี้มีสาเหตุโดยตรงมาจากสถานะการณ์ทางการเงินของสถาบันพระมหากษัตริย์และความสามารถในการเข้าร่วมในสงคราม ความขัดแย้งภายในต่างๆ และข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ([[สงครามศาสนาของฝรั่งเศส|สงครามศาสนา]], ความขัดแย้งกับ[[ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก]]) และการขยายดินแดนของฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำให้ฝรั่งเศสต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากที่ได้จากการเก็บภาษีเช่น “[[ภาษีที่ดินสำหรับชาวนา]]” (taille) และ “[[ภาษีเกลือ]]” (gabelle) และจากเงินอุทิศ และการปฏิบัติหน้าที่ของชนชั้นขุนนาง
 
หัวใจของการรวมอำนาจคือการลบล้างระบบ “[[ระบบอุปถัมภ์]]” (Patronage) ที่ใช้กันในสถาบันพระมหากษัตริย์และในหมู่[[ขุนนางฝรั่งเศส|ขุนนาง]]โดยทั่วไป<ref>Major, xx-xxi.</ref> การก่อตั้ง “[[ผู้ดูแลแทนพระองค์]]” (Intendant) -- ผู้แทนของพระมหากษัตริย์ในการมีออำนาจแทนพระองค์ในท้องถิ่น -- ก็เป็นการลิดรอนอำนาจการปกครองระดับท้องถิ่นของขุนนางที่เกี่ยวข้อง และเป็นปัญหาเดียวกับการแต่งตั้งขุนนางให้เป็น “Noblesse de robe” หรือผู้พิพากษาหรือที่ปรึกษาประจำพระองค์ การก่อตั้ง[[รัฐสภาแห่งฝรั่งเศส|รัฐสภา]]ส่วนท้องถิ่นโดยมีจุดประสงค์ในการขยายอำนาจการปกครองจากศูนย์กลางที่นำโดยพระมหากษัตริย์ในอาณาบริเวณที่เข้ามาอยู่ในการปกครองของหลวงที่เริ่มมีอำนาจมากขึ้นก็กลายเป็นสาเหตุของความแตกแยกในที่สุด
 
== อ้างอิง ==