ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{Infobox Former Country
| native_name = កម្ពុជាសម័យអាណានិគម
| conventional_long_name = กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส <br/>Protectorat du Cambodge
| common_name = กัมพูชา
| continent = moved from Category:Asia to Southeast Asia
| region = เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
| era = ยุคจักรวรรดินิยมใหม่
| status = [[ราชาธิปไตย]], [[รัฐในอารักขา]]ของ[[ฝรั่งเศส]]
| empire = ฝรั่งเศส
| government_type =
|
| event_start = เริ่มเป็นรัฐในอารักขา
| date_start = พ.ศ. 2406
|year_start year_start = พ.ศ. 2406
| event1 = ผนวกเข้ากับ[[อินโดจีนฝรั่งเศส]]
| date_event1 = พ.ศ. 2436
| year_end = พ.ศ. 2496
| date_end = พ.ศ. 2496
| event_end = ได้รับเอกราชตามอนุสัญญาเจนีวา
|event_post event_post =
| date_post =
| year_post =
|
| p1 =
| flag_p1 =
| s1 = อินโดจีนของฝรั่งเศส
| flag_s1 =Flag_of_Colonial_Annam.svg
|
| image_flag = Flag of Cambodia under French protection.svg
| image_map = LocationCambodia.png
| capital = [[อุดงมีชัย]] และ [[พนมเปญ]]
| common_languages = [[ภาษาฝรั่งเศส]], [[ภาษาเขมร]]
| religion = [[ศาสนาพุทธ]]นิกายเถรวาท 70% (ชาวกัมพูชา), [[ศาสนาคริสต์]]นิกายโรมันคาทอลิก 30% (ชาวฝรั่งเศส)
|
| leader1 = [[พระนโรดม]] (องค์แรก)
| title_leader = [[กษัตริย์กัมพูชา]]
| year_leader1 = พ.ศ. 2403-2447
| leader2 = [[นโรดม สีหนุ]] (องค์สุดท้าย)
| year_leader2 = พ.ศ. 2484-2496
| representative1 = [[เออร์เนตส์ ดูดารท์ เดอ ลาเกร]]
| title_representative = ผู้สำเร็จราชการ<br />ฝ่ายฝรั่งเศส
| year_representative1 = พ.ศ. 2406-2409
| deputy1 = Jean Risterucci
| title_deputy = ข้าหลวงใหญ่
| year_deputy1 = พ.ศ. 2496
}}
{{ประวัติศาสตร์กัมพูชา}}
บรรทัด 74:
ในพ.ศ. 2443 [[พระองค์ยุคนธร]] โอรสของพระนโรดมเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อเปิดเผยความไม่ยุติธรรมของฝรั่งเศสให้สื่อมวลชนทราบและเรียกร้องการปกครองตนเอง ผลคือพระองค์ยุคนธรถูกถอดออกจากบรรดาศักดิ์ และต้องลี้ภัยในสยามตลอดชีวิต พระนโรดมสวรรคตเมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2447 พระสีสุวัตถ์ขึ้นครองราชสมบัติและได้ลงนามมอบอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินให้ฝรั่งเศสจนหมด กัมพูชาจึงกลายเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์
== สภาพเศรษฐกิจระหว่างการเป็นอาณานิคม ==
ไม่นานหลังจากฝรั่งเศสเข้าปกครองกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2406 ฝรั่งเศสสร้างความฝันว่ากัมพูชาจะเป็น"[[สิงคโปร์]]แห่งอินโดจีน" แต่สภาพเศรษฐกิจของกัมพูชาก็ไม่ได้ต่างไปจากเดิมมากนัก ฝรั่งเศสเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในสภาพเศรษฐกิจระดับหมู่บ้านของกัมพูชา ชาวกัมพูชากลายเป็นกลุ่มที่เสียภาษีมากที่สุดในอินโดจีน การปฏิรูปภาษีทำให้ชาวนากัมพูชากว่าหมื่นคนเข้ามายังพนมเปญเพื่องร้องเรียนต่อกษัตริย์ให้ลดภาษีเมื่อ พ.ศ. 2458 - 2459 แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ใน พ.ศ. 2468 ชาวกัมพูชาได้ฆ่าเจ้าหน้าที่เก็บภาษีของฝรั่งเศส
 
ในบางพื้นที่ ได้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจในช่วงที่ฝรั่งเศสปกครอง ฝรั่งเศสสร้างถนนและทางรถไฟในกัมพูชา มีการสร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมพนมเปญเข้ากับชายแดนไทยที่พระตะบอง มีการปลูก[[ข้าวโพด]]และ[[ยางพารา]]เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ [[จังหวัดพระตะบอง]]และ[[จังหวัดเสียมราฐ]]กลายเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญในอินโดจีน กัมพูชาปลูกข้าวโพดและยางได้เพียงพอ แต่หลังจากเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ทั่วโลกเมื่อ พ.ศ. 2472 เริ่มเกิดสภาวะขาดแคลนในกัมพูชา โดยเฉพาะชาวนาที่รายได้ไม่พอกับหนี้สิน
 
มีการวางรากฐานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปวัตถุดิบเพื่อใช้ในท้องถิ่นและส่งออก มีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในกัมพูชาแบบเดียวกับที่เกิดใน[[พม่า]]และ[[มาเลเซีย]]ที่อยู่ภายใต้การปกครองของ[[อังกฤษ]] [[ชาวเวียดนาม]]จำนวนมากเข้ามาเป็นคนงานในสวนยางพารา ชาวประมงและนักธุรกิจ รวมทั้งชาวเขมรต่ำหรือแขมร์กรอมที่มาจากเมืองโจดกและเตย์นิญในโคชินจีน ชาวจีนที่เคยมีบทบาทโดดเด่นในเศรษฐกิจของกัมพูชามาก่อนถูกฝรั่งเศสควบคุมอย่างเข้มงวดกว่า แต่ก็มีเครือข่ายเศรษฐกิจของคนจีนตลอดอินโดจีน
 
การศึกษาในกัมพูชาช่วงที่เป็นอาณานิคมส่วนใหญ่ยังเป็นการเรียนในวัดแบบดั้งเดิม ซึ่งไม่เหมาะกับการทำงานในระบบราชการของฝรั่งเศส การที่ฝรั่งเศสนำชาวเวียดนามเข้ามาทำงานในระบบราชการของฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสละเลยที่จะจัดการศึกษาในกัมพูชาดังที่ได้จัดในเวียดนาม<ref name="ธิบดี"/> การจัดการศึกษาด้วยระบบโรงเรียนแบบตะวันตกมีเฉพาะแต่ในเมืองใหญ่และไม่ทั่วถึง นักเรียนส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของชาวเวียดนามและชาวกัมพูชาเชื้อสายจีน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาแห่งแรกในกัมพูชาคือ[[ลีเซสีสุวัตถิ์]] ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 แต่มีผู้สำเร็จการศึกษาในช่วงแรกน้อยมาก ใน พ.ศ. 2483 มีผู้สำเร็จการศึกษาราวๆ 4 คน<ref name="ธิบดี"/> ส่วนผู้ต้องการเรียนระดับอุดมศึกษาต้องไปเรียนที่เวียดนามหรือฝรั่งเศส
บรรทัด 91:
ต่อมา ญี่ปุ่นได้สลายการปกครองของฝรั่งเศสในกัมพูชาและสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2488 กัมพูชาได้ประกาศเอกราชภายใต้วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่น โดยมีพระนโรดม สีหนุเป็นประมุขรัฐ เซิง งอกทัญเดินทางกลับมากัมพูชาในเดือนพฤษภาคมและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ามาในพนมเปญ เซิง งอกทัญถูกจับกุมตัวพร้อมทหารญี่ปุ่นจากนั้น จึงส่งไปกักตัวที่ฝรั่งเศส กลุ่มต่อต้านฝรั่งเศสจัดตั้งขบวนการเขมรอิสระและตั้งมั่นในบริเวณที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของไทย
== การต่อสู้เพื่อความเป็นเอกภาพของเขมร ==
รัฐบาล[[ฝรั่งเศสอิสระ]]ได้ตัดสินใจที่จะรวมอินโดจีนเข้ากับ[[สหภาพฝรั่งเศส]] ในพนมเปญ พระนโรดม สีหนุพยายามเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อเรียกร้องเอกราชที่สมบูรณ์ ในขณะที่[[เขมรอิสระ]]และ[[เวียดมิญ]]มองว่าพระองค์อยู่ฝ่ายเดียวกับฝรั่งเศส เขมรอิสระได้ใช้การสู้รบแบบกองโจรตามแนวชายแดน โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มฝ่ายซ้ายทั้งที่นิยมและไม่นิยมเวียดนาม รวมทั้งกลุ่ม[[เขมรเสรี]]ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านราชวงศ์ของเซิง งอกทัญด้วย แต่บทบาทของเซิง งอกทัญลดลงหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ส่วน[[สมาคมเขมรอิสระ]]ที่ได้รับการสนับสนุนจากเวียดมิญสามารถยึดครองพื้นที่ในกัมพูชาได้ถึงร้อยละ 50 ใน พ.ศ. 2497
 
ใน พ.ศ. 2489 ฝรั่งเศสยอมให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองในกัมพูชา และให้มีการเลือกตั้งภายในประเทศ พรรคการเมืองหลัก 2 พรรคที่จัดตั้งโดยเชื้อพระวงศ์คือ[[พรรคประชาธิปไตย (กัมพูชา)|พรรคประชาธิปไตย]]ของพระ[[สีสุวัตถิ์ ยุทธวงศ์]]ซึ่งเรียกร้องเอกราช ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ผู้สนับสนุนส่วนใหญ่เป็นครู นักการเมืองที่นิยมศาสนาพุทธ และผู้ที่ได้รับแนวคิดจากหนังสือพิมพ์นครวัดที่ถูกฝรั่งเศสสั่งปิดไปเมื่อ พ.ศ. 2485 อีกพรรคหนึ่งคือ[[พรรคเสรีภาพ]]ของพระ[[นโรดม นรินทเดช]] ซึ่งเป็นตัวแทนของชนบทแบบดั้งเดิม ยังต้องการความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสไปพร้อมกับการปฏิรูปประชาธิปไตย การเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2489 พรรคประชาธิปไตยได้ 50 จาก 67 ที่นั่ง
บรรทัด 97:
ในฐานะที่ได้เสียงส่วนใหญ่ในสภา พรรคประชาธิปไตยได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของกัมพูชาซึ่งได้แบบมาจาก[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4]] อำนาจส่วนใหญ่เป็นของสภา พระมหากษัตริย์เป็นเพียงศูนย์รวมจิตวิญญาณของรัฐ ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2490 พรรคประชาธิปไตยได้เสียงส่วนใหญ่อีกครั้ง แต่พระสีสุวัตถิ์ ยุเทวงศ์ผู้ก่อตั้งกลับถึงแก่อนิจกรรมและไม่มีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำพรรคอย่างชัดเจน ระหว่าง พ.ศ. 2491 – 2492 มีความเป็นเอกภาพเฉพาะสถานะที่ได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์ หัวข้อหลักที่พระมหากษัตริย์ได้ต่อสู้คือเรียกร้องเอกราชให้กัมพูชาเป็นอิสระจากสหภาพฝรั่งเศส ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2492 มีการเจรจาระหว่างพระนโรดม สีหนุกับรัฐบาลฝรั่งเศส ได้มีการเจรจาระหว่างพระนโรดม สีหนุกับรัฐบาลฝรั่งเศสซึ่งทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสผ่อนคลายความเข้มงวดในการปกครองกัมพูชาลง คือการปกครองแบบอาณานิคมอย่างเป็นทางการสิ้นสุดลง กัมพูชาได้บริหารในเขตปกครองตนเอง มีการจัดตั้งกองทัพแห่งชาติกัมพูชาภายในเขตปกครองตนเองในจังหวัดเสียมราฐและพระตะบองที่ได้คืนมาจากไทย นโยบายการต่างประเทศถูกควบคุมโดยสภาสูงของสหภาพฝรั่งเศส ฝรั่งเศสยังคงควบคุมระบบการศาล การเงิน การขนส่งทางทะเล และฝรั่งเศสยังคงกองทหารไว้ในกัมพูชา การประกาศ[[กฎอัยการศึก]]นอกเขตปกครองตนเองเป็นอำนาจของฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2493 กัมพูชาได้รับการรับรองจากสหรัฐและประเทศที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ แต่ในเอเชียมีเฉพาะไทยกับ[[เกาหลีใต้]]
 
พรรคประชาธิปไตยยังคงครองเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งสภาแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2494 พระนโรดม สีหนุได้ขอให้ฝรั่งเศสปล่อยตังเซิง งอกทัญและยอมให้เขาเดินทางกลับประเทศ เซิง งอกทัญกลับมาถึงกัมพูชาเมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ต่อมาเขาได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ ''Khmer Krok'' (เขมรตื่นเถิด) ใน พ.ศ. 2495 แต่ถูกระงับการตีพิมพ์ ในที่สุด เซิง งอกทัญได้ออกจากพนมเปญไปต่อสู้กับเขมรอิสระ เขาได้ลี้ภัยจน[[ลน นล]]ประกาศตั้งรัฐบาล[[สาธารณรัฐเขมร]]เมื่อ พ.ศ. 2513
 
== การเรียกร้องเอกราช ==
บรรทัด 113:
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://angkor1431.tripod.com/index/id21.html Son Ngoc Thanh]
* [http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/cambodia/persons.html Cambodian Genealogy]
{{ประเทศกัมพูชา}}
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์กัมพูชา]]