ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏโพกผ้าเหลือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DarafshBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: es:Rebelión de los Turbantes Amarillos
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 23:
สาเหตุหลักของการเกิดกบฏโพกผ้าเหลืองเนื่องจากวิกฤติการณ์เกษตรกร ซึ่งภาวะข้าวยากหมากแพงทำให้ชาวนาและอดีตทหาร ต้องอพยพจากทางเหนือเพื่อมาหางานทำทางใต้ ที่ซึ่งผู้มีฐานะเอาเปรียบค่าแรงกรรมกรและเกิดการครอบครองสะสมที่ดิน สถานการณ์น้ำท่วมจาก[[แม่น้ำฮวงโห]]ในพื้นที่ลุ่มต่ำ และซ้ำเติมด้วยการเก็บ[[ภาษี]]ในอัตราสูงเพื่อการสร้าง[[ป้อมปราการ]]และ[[กำแพงเมืองจีน|กำแพง]]ป้องกันข้าศึกตามแนว[[เส้นทางสายไหม]] จากสถานการณ์เหล่านี้ทำให้ชาวนาและอดีตทหารทั้งมีและไร้แหล่งทำมาหากิน รวมตัวกันเป็นกลุ่มติดอาวุธ (ประมาณ ค.ศ. 170) ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านการเอาเปรียบของผู้ที่มีฐานะ
 
ในขณะนั้น [[ราชวงศ์ฮั่น]]เริ่มเสื่อมอำนาจลงจากภายใน แม้อิทธิพลของการครอบครองที่ดินยังคงเป็นปัญหาอยู่อย่างยาวนาน (ตั้งแต่สมัย[[จักรพรรดิซินเกาจู่]]) แต่สิ่งที่นำไปสู่การก่อกบฏโพกผ้าเหลืองคือ [[ขันที]]ในพระราชวังที่มักฉ้อราษฎร์บังหลวงเพื่อให้ตนเองร่ำรวยขึ้น โดยเฉพาะขันทีที่ใกล้ชิดกับองค์จักรพรรดิในขณะนั้นคือ[[พระเจ้าเลนเต้]] กลุ่มของขันทีที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้รวมตัวกันเป็นกลุ่ม 10 คนในชื่อ [[สิบขันที]] ซึ่งองค์จักรพรรดิทรงนับถือหนึ่งในนั้น ([[เตียวเหยียง]]) ว่าเป็น "พระชนกบุญธรรม" ด้วยเหตุดังนั้น การปกครองโดยจักรพรรดิจึงถูกมองว่าเป็นการปกครองที่เสื่อมทรามและไร้ความสามารถ การเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงและสถานการณ์น้ำท่วม กลายเป็นตัวชี้วัดว่า จักรพรรดิได้หมดสิ้นความเป็นสมมติเทพจากสวรรค์แล้ว
{{โครงส่วน}}