ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาราเต้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้คำผิด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Hanashiro Chomo.jpg|thumb]]
'''คาราเต้''' {{ ญี่ปุ่น| 空手|karate|คะระเตะ }} หรือ '''คาราเต้โด''' {{ ญี่ปุ่น|空手道|karatedō|คะระเตะโด|วิถีมือเปล่า }} เป็น[[ศิลปะการต่อสู้]]ถือกำเนิดที่[[โอะกินะวะ]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] เป็นการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ของชาวโอะกินะวะและชาวจีน คาราเต้ได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นในปี [[พ.ศ. 2464]] (ค.ศ. 1921) เมื่อชาวโอะกินะวะอพยพเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น
 
คาราเต้มักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นการต่อสู้ด้วยการฟันอิฐ แต่ที่จริงแล้ว คือการต่อสู้ด้วยการใช้อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น กำปั้น เท้า สันมือ นิ้ว ศอก เป็นต้น แต่เมื่อถูกดัดแปลงเป็นกีฬาแล้วเหลือเพียงมือและเท้า
บรรทัด 6:
== ประวัติ ==
{{ปรับภาษา}}
สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 โอะกินะวะได้มีการติดต่อการค้ากับทางจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีมานานมากตั้งแต่สมัยอดีต ในขณะนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการความรู้แขนงต่างๆ รวมถึงศิลปะการป้องกันตัว โอะกินะวะได้มีศิลปะการต่อสู้ประจำอยู่แล้ว และได้ผสมผสานกับทักษะที่ได้รับมาจาก[[จีนแผ่นดินใหญ่]] ซึ่งก็คือมวยใต้ จนสามารถเรียกไดว่าญี่ปุ่นเป็นต้นป้นกำเนิดของคาราเต้
โดยโอะกินะวะจะเรียกศิลปะป้องกันตัวของตนเองว่า '''โทเต้''' (唐手Tode) ใน[[ภาษาโอะกินะวะ]] หรือในภาษาญี่ปุ่นจะเรียก โอะกินะวะเต้ (沖縄手 Okinawa Te)
โดย โอะกินะวะเต้ จะมีวิชาที่สามารถแยกเป็นจุดเด่นของแต่ละสำนัก หลักๆ ได้แก่ 3 สำนักหลัก ซึ่งชื่อสำนักได้ตั้งตามชื่อเมืองใหญ่ที่วิชานั้นๆ อาศัยอยู่ ได้แก่ ชูริเต้(Shuri Te) นาฮาเต้(Naha Te) และโทมาริเต้(Tomari Te)
 
บรรทัด 16:
 
== นาฮาเต้ มวยแห่งเมืองนาฮา (Naha-Te 那覇手) ==
คันเรียว ฮิกาอนนะ (Kanryo Higaonna) ลูกศิษย์ของ อาราคากิ เซย์โช (Arakagi Seisho) ผู้เชี่ยวชาญนาฮาเต้ ได้เดินทางสู่ฟูเจี้ยนเพื่อหาประสบการณ์และศึกษาวิชาการต่อสู้ของจีน ได้เรียนกับ เซี่ยจงเสียง ( 谢崇祥Xie zongxiang 1852-1930) หรืออีกชื่อหนึ่ง ริวริวโก (如如哥 Ryu Ryu Ko) ผู้เชี่ยวชาญมวยกระเรียนหมิงเฮ่อฉวน (鸣鹤拳 Minghe Quan) และเดินทางกลับมาพัฒนานาฮาเต้ ต่อมา โชจุน มิยากิ (宮城 長順 Miyagi Chojun, 1888-1953) ผู้สืบทอดนาฮาเต้ของคันเรียว ได้เปลี่ยนชื่อสำนักนาฮาเต้ เป็น โกจูริวคาราเต้ (剛柔流空手) เพื่อพัฒนาให้ทันสมัย และได้เข้ามาในญี่ปุ่นและเริ่มทำการสอนคาราเต้ (แต่เดิมสอนอยู่ในโอะกินะวะ) เป็นเวลาไม่นานนักหลังจาก ฟูนาโกชิ แห่งโชโตกัน
 
หลังจากที่ มิยากิ ได้ทำการสอนในญี่ปุ่นและโอะกินะวะ ท่านได้ตัดสินใจเดินทางไปยังประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อกราบเซี่ยจงเสียงเป็นอาจารย์ ศึกษาในด้านของมวยจีนตามแบบอาจารย์ของตน และได้กลับมาญี่ปุ่นอีกครั้งเพื่อเรียบเรียงตำราการฝึกสอนของสำนักโกจูริวขึ้นใหม่ ให้เหมาะสมกับที่ท่านได้เรียนรู้มา
 
ปัจจุบันประวัติศาสตร์ส่วนนี้มีประเด็นถกเถียงกันว่า เซี่ยจงเสียง กับ ริวริวโก เป็นคนละคนกัน เนื่องจากบันทึกของ มิยากิโชจุน กล่าวไว้ว่า ตอนที่เดินทางไปฟุเจี้ยนกราบ ริวริวโก เป็นอาจารย์ถึงได้ทราบว่า ริวริวโกเสียชีวิตไปแล้ว จึงได้กราบ เซี่ยจงเสียงเป็นอาจารย์แทน(ขณะนั้น เซี่ยจงเสียงได้รับสมญานามว่า หรูเกอ หรือ ริวโก ซึ่งแปลว่าเหมือนดั่งพี่ชาย หรือเหมือนดั่งครู ไม่ใช่ หรูหรูเกอ หรือ ริวริวโก) และจากประวัติที่ คันเรียว ฮิกาอนนะไปกราบ ริวริวโกเป็นอาจารย์ ขณะนั้น เซี่ยจงเสียงยังเป็นเพียงเด็กอายุ13ปี(คันเรียว ฮิกาอนนะ อายุมากกว่า เซี่ยจงเสียง1ปี) ซึ่งในขณะนั้น ริวริวโกได้รับ นากาอิมะ โนริซาโต้(仲井間憲里 Nakaima Norisato )ผู้ก่อตั้งสำนักริวเอริว(劉衛流) เป็นศิษย์มานานกว่าสิบปีแล้ว
 
ในขณะที่ มิยากิ เดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่ หนึ่งในนักเรียนที่ดีที่สุดของ มิยากิ ที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่นก็คือ โกเกน ยามากูจิ (剛玄 山口 Gogen Yamaguchi, 1909-1989) ฉายา THE CAT ผู้ได้รับสายดำระดับ 10 ดั้งจากมิยากิ ได้ทำการสอนต่อไปในญี่ปุ่น โดยยึดหลักการสอนแบบดั้งเดิมที่ได้เรียนรู้จากมิยากิ ก่อนที่จะไปศึกษาต่อที่จีน
บรรทัด 29:
คำว่า "คาราเต้" เดิมทีมาจากการออกเสียงแบบชาวโอะกินะวะ ตัว "คารา" 唐 ในภาษาจีน หมายถึง "ประเทศจีน" หรือ "ราชวงศ์ถัง" ส่วน "เต้" 手 หมายถึง มือ คาราเต้ หมายความว่า "ฝ่ามือจีน" หรือ "ฝ่ามือราชวงศ์ถัง" หรือ "กำปั้นจีน" หรือ "ทักษะการต่อสู้แบบจีน" ในรูปแบบการเขียนแบบนี้ "ฝ่ามือราชวงศ์ถัง" จึงหมายถึง การต่อยมวยแบบถัง หรือ "ฝ่ามือจีน" ก็บ่งบอกถึงอิทธิพลที่รับมาจากลักษณะการต่อสู้ของชาวจีน ในปีค.ศ. 1933 หลังจากสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่ 2 กิชิน ฟุนาโคชิ (船越義珍 Funakoshi Gichin, 1868-1957) ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะ บิดาแห่งคาราเต้สมัยใหม่ ได้เปลี่ยนตัวอักษร "คารา" ไปเป็นตัวอักษรที่มีเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายว่า "ความว่างเปล่า" 空 แทน
 
เมื่อปีค.ศ. 1936 หนังสือเล่มที่สองของฟุนาโคชิใช้ตัวอักษร "คารา" ที่มีความหมายว่าความว่างเปล่า และในการชุมนุมบรรดาอาจารย์ชาวโอะกินะวะก็ใช้ตัวอักษรเดียวกัน ตั้งแต่นั้นมาคำว่า "คาราเต้" (ซึ่งออกเสียงเหมือนเดิม แต่ใช้ตัวอักษรใหม่) จึงหมายถึง "มือเปล่า"
 
คำว่า "มือเปล่า" ไม่เพียงแต่นักคาราเต้จะต่อสู้โดยปราศจากอาวุธแล้ว ยังซ่อนความหมายตามความเชื่อแบบเซ็นไว้ด้วย เพราะตามวิถีแห่งเซ็นการพัฒนาความสามารถ และศิลปะของแต่ละบุคคล จะต้องทำจิตใจให้ว่างเปล่า ละเว้นจากความปรารถนา ความมีทิฐิและกิเลสต่างๆ
บรรทัด 40:
 
"โด" แบบปรัชญา ด้วยความหมายที่แปลว่า วิถีทาง และเป็นชื่อศาสนาเต๋าของศาสดาเหล่าจื๊อ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในด้านปรัชญาพุทธศาสนานิกายเซนของญี่ปุ่น การตีความหมายคำนี้ จึงอาจมองได้ว่า วิถีทางการดำเนินชีวิต จิตวิญญาณของนักคาราเต้ เป็นต้น ซึ่งนักคาราเต้บางท่าน อาจใช้ คาราเต้ เป็นวิถีแห่งการเข้าถึง จิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ(เต๋า เซน) ได้
ดังนั้น คำว่า "โด" ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละคนจำมีวิธีการในการเดินแตกต่างกัน
 
"โด" แบบกีฬา จริง ๆ ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีทั้งคำว่า คาราเต้ และ คาราเต้โด ทำไมต้องเพิ่มคำว่า โด คำว่า "โด" เริ่มใช้ครั้งแรกในศิลปะป้องกันตัว ยูโด โดยปรมาจารย์จิกาโร่ คาโน แห่งโคโดกันยูโด เพื่อเปลี่ยนแปลง และแบ่งแยกวิชาใหม่ โดยแยกตัวออกจากวิชา ยูยิทสุ ซึ่งยูโดได้ตัดทอนกระบวนท่าที่อันตรายออกไป เพื่อการฝึกฝนได้อย่างเต็มที่ และสามารถจัดการแข่งขันได้
บรรทัด 67:
| Heian godan (平安五段)*
|-
| Tekki shodan (鉄騎初段)
| Tekki nidan (鉄騎二段)
| Tekki sandan (鉄騎三段)
บรรทัด 77:
| Empi (燕飛)
| Kanku dai (観空大)
| Kanku sho (観空小)
|-
| Hangetsu (半月)
บรรทัด 91:
| Wankan (王冠)
|-
| Gojushiho sho (五十四歩小)
| Gojushiho dai (五十四歩大)
| Ji'in (慈陰)
บรรทัด 113:
|-
| Seisan (十三手, セイサン)
| Kururunfa (久留頓破, クルルンファー)
| Suparinpei (壱百零八, スーパーリンペイ)
|}
บรรทัด 121:
{| class="wikitable"
|-
| Taikyoku (太極)*
| Pinan Shodan (平安初段)*
| Pinan Nidan (平安二段) *
|-
| Pinan Sandan (平安三段)*
| Pinan Yondan (平安四段)*
| Pinan Godan (平安五段)*
|-
| Naihanchi (内畔戦)
| Kusanku (公相君)
| Passai (披塞)
|-
| Seishan (征射雲)
| Chinto (鎮闘)
| Niseishi (二十四步)
|-
| Rohai (老梅)
| Wanshu (晚愁)
| Jion (慈恩)
|-
| Jitte (十手)
| Suparinpei (壱百零八)
|}
 
บรรทัด 149:
{| class="wikitable"
|-
|太極(Taikyoku)*
| 平安初段(Pinan Shodan)*
| 平安二段(Pinan Nidan)*
|-
| 平安三段(Pinan Sandan)*
| 平安四段(Pinan Yondan)*
| 平安五段(Pinan Godan)*
|-
|十手(Jitte)
|慈陰(Jiin)
|慈恩(Jion)
|-
|鎮闘(Chinto)
|珍手(Chinte)
|五十四步(Gojushiho)
|-
|披塞大(Bassai Dai)
|披塞小(Bassai Sho)
|腕秀(Wanshu)
บรรทัด 179:
 
|内畔戦初段(Naihanchin Shodan)
|内畔戦二段(Naihanchin Nidan)
|内畔戦三段(Naihanchin Sandan)
|-
บรรทัด 218:
|拳掌(Kensho)* *
|-
|松村老梅(Matsumura Rohai)**
|老梅二段(Rohai Nidan)**
|老梅三段(Rohai Sandan)**
|-
|明鏡(Myojo,Meikyo)**
|白鹤(Hakutsuru, Hakaku)**
|松村十三(Matsumura Seisan)**
|-
|泊老梅(Tomari Rohai)* *
|心波(Shinpa)**
|泊披塞(Tomari Bassai)**
|
|}
 
* หมายถึง คาตะที่เป็นท่าพื้นฐาน ** หมายถึง คาตะที่ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในการแข่งขันที่ใช้กฎ WKF
และคาตะที่ไม่มี * หมายถึง คาตะที่สามารถใช้ในการแข่งขันได้ที่ใช้กฎ WKF ได้
 
บรรทัด 240:
#การแข่งขัน kata แบ่งออกเป็นประเภททีมและประเภทบุคคล โดยการแข่งขันประเภททีมจะมีสมาชิกในทีม ทั้งหมด 3 คนเป็นผู้หญิงล้วนหรือชายล้วน การแข่งขันประเภทบุคคลก็แบ่งออกเป็นการแข่งขันเดี่ยว ประเภทบุคคลหญิงและประเภทบุคคลชาย
#ระบบการคัดออกแบบการชิงตำแหน่งที่ 3 (Reprechage) จะถูกนำมาใช้
#ผู้แข่งขันต้องใช้ทั้งท่าบังคับ(SHITEI) และท่าอิสระ(TOKUI) โดยท่าที่ใช้ในการแข่ง kata ซึ่งจะต้อง ได้รับการยอมรับจากสถานที่ฝึกคาราเต้-โด ที่ถูกยอมรับจากสหพันธ์คาราเต้แห่งโลก (WKF) ยึดตามระบบ Goju, Shito, Shoto และWado ใน 2 รอบแรกจะไม่อนุญาตให้ใช้ท่าอื่นเลย ตารางท่าบังคับของท่า KATA จะอยู่ในภาคผนวกที่ 6 และรายการของ KATA ที่เป็นที่ยอมรับจะอยู่ในภาคผนวกที่ 7
#ใน 2 รอบแรกผู้แข่งสามารถเลือกจากรายชื่อ shitei kata เท่านั้น ไม่อนุญาตให้แสดงท่าอื่นที่แตกต่างไปได้
#ในรอบต่อมาผู้แข่งขันสามารถเลือกท่าจากรายชื่อ TOKUI KATA ในภาคผนวกที่ 7 โดยท่าที่แข่งเหล่านี้เป็นท่า ที่ถูกสอนจากสถานฝึกของผู้แข่งจะถูกนำมาแข่งได้
บรรทัด 283:
 
== การแข่งขัน คุมิเต้ Kumite 組手 ==
การแข่งขันของคาราเต้นั้น สามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบต่างๆ ได้ตามการต่อสู้ของแต่ละสำนัก และวัตถุประสงค์ของการแข่งขัน ซึ่งการต่อสู้ของแต่สำนักนั้นย่อมไม่เหมือนกัน จึงมีทั้งรูปแบบการแข่งของสำนัก และแบบสากลที่ได้รับการยอมรับกัน
 
รูปแบบของ JKA (Japan Karate Association) เป็นรูปแบบเฉพาะของสำนักโชโตกัน เอาไว้ใช้แข่งขันกันภายในสำนัก โดยจะเก็บแค่ 1 คะแนน หรือ อิป้งโชบุ ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ต้องอาศัยจิตใจ และความสามารถทางด้านคาราเต้อย่างสูง เพราะแค่ประมาทเพียงนิดเดียวสามารถเสียแต้มได้ ซึ่งทางโชโตกันจะมองว่า การโจมตีเพียงหนึ่งหมัดก็สามารถปลิดชีพได้แล้ว ดังนั้นในการแข่งถ้าพลาดแม้แต่หมัดเดียวก็ถือว่าพ่ายแพ้แล้ว ในการตัดสินแต้มนั้นจะต้องเกิดจากความเร็ว รุนแรง ความถูกต้องของคาราเต้ จังหวะ ระยะ และจิตใจที่มุ่งโจมตี ทั้งหมดจะต้องทำให้สมบูรณ์มากที่สุด ถึงจะสามารถสั่งหยุดการแข่งขัน และตัดสินให้แต้มได้ โดยมากการแข่งประเภทนี้ จะนิยมออกอาวุธเพียงหมัดเดียวเพื่อตัดสินแพ้ชนะกัน ดังนั้นการต่อสู้จึงเน้นที่จะ ทำจังหวะ ระยะ ที่ดีที่สุด ไม่เน้นการโจมตีหลายครั้งเนื่องจากถ้าเคลื่อนไหวมากเกินไป หรือโจมตีด้วยความประมาทอาจจะทำให้เกิดความเพลี้ยงพล้ำได้ ซึ่งรูปแบบการแข่งนี้เป็นต้นแบบการแข่งขันคาราเต้ ซึ่งนำมาใช้ในการแข่งขันคาราเต้ครั้งแรก ที่ประเทศญี่ปุ่น และสำนักอื่นๆ ได้นำรูปแบบกติกานี้ไปประยุกต์ใช้ในสำนักของตน
 
รูปแบบสากล WKF(World Karate Federation) ที่ใช้ในการแข่งขันระดับชาติเช่น ซีเกมส์ เอเซี่ยนเกมส์ ชิงแชมป์โลก ซึ่งกฎกติกานั้น ทางสหพันธ์คาราเต้โลก ได้กำหนดไว้เพื่อเป็นมาตรฐาน โดยการแข่งขันจะเก็บคะแนนที่ 8แต้ม ใครสามารถทำแต้มได้สูงกว่าในกำหนดเวลา หรือว่าสามารถชิงได้ 8แต้มก่อนถือว่าเป็นฝ่ายชนะ ซึ่งการแข่งนี้ ได้นำเอาการแข่งขันของ JKA มาเป็นต้นแบบ แต่ปรับเรื่องการให้คะแนน จำนวนคะแนนในการตัดสิน และบทลงโทษของการแข่งขัน เพื่อพัฒนาคาราเต้ให้เป็นกีฬาสากล
 
รูปแบบฟูลคอนแทค เป็นรูปแบบการแข่งขันของคาราเต้ สำนักเคียวคุชิน และสำนักอื่นๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว รูปแบบกติกานี้จะนิยมใช้กันในหมู่สำนักที่มาจากเคียวคุชินคาราเต้ การแข่งแบบฟูลคอนแทคนั้น จะไม่สามารถโจมตีใบหน้าด้วยเทคนิคการใช้มือ-แขน หรือศอกได้ การโจมตีใบหน้าสามารถทำได้แค่การเตะ หรือเข่าเท่านั้น ระบบการให้คะแนนจะเป็นรูปแบบที่ว่าชกโดนคู่ต่อสู้กี่ครั้ง คล้ายๆมวยสากล และถ้าสามารถโจมตีเพียงหมัดเดียวให้คู่ต่อสู้น๊อคดาว์น หรือโจมตีจนกว่าคู่ต่อสู้จะแสดงอาการบาดเจ็บได้ ก็จะเป็นฝ่ายชนะทันที
 
การแข่งขันในระดับสากล เช่นการแข่ง เอเซี่ยนเกมส์ ซีเกมส์ หรือแข่งชิงแชมป์โลก หรือชิงแชมป์ทวีป ประเทศ จังหวัด หรือเขต จะต้องควบคุมการแข่งขันกับสมาคมที่ควบคุมดูแลโดยสหพันธ์คาราเต้โลก(WKF) และใช้กฎการแข่งสากล หรือที่เรียกกันว่า กฎ WKF
บรรทัด 304:
การให้คะแนน
 
1. การให้คะแนนสามารถให้ได้ตามระดับต่อไปนี้ :
 
a.) SANBON 3 คะแนน
บรรทัด 364:
g.) ข้างลำตัว
 
7. การใช้เทคนิคหรือโจมตีคู่ต่อสู้เสร็จสมบูรณ์ในขณะหมดเวลาพอดีถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าผู้แข่งขันยังโจมตีหลังจาก หมดเวลาการแข่งขันแล้ว
หรือหลังจากคำสั่งหยุดของกรรมการผู้ชี้ขาดถือว่าไม่ได้คะแนน และอาจถูกลงโทษ ได้เนื่องจากเป็นการเอาเปรียบคู่ต่อสู้
 
8. กรณีผู้แข่งขันทั้งสองทำการต่อสู้นอกพื้นที่แข่ง ทั้งสองจะไม่ได้คะแนนถึงแม้ว่าสามารถใช้เทคนิคโจมตีได้อย่าง สมบูรณ์ แต่ในกรณีที่มีคนใดคนหนึ่ง
ใช้เทคนิคการโจมตีอย่างสมบูรณ์ขณะอยู่ในพื้นที่แข่ง และ กรรมการผู้ชี้ขาด ยังมิได้ประกาศ “YAME”
เพื่อหยุดการแข่งขันกรรมการผู้ชี้ขาดสามารถพิจารณาให้คะแนน ผู้แข่งขันคนนั้นได้
 
9. ถ้าผู้แข่งขันทั้งสองสามารถใช้เทคนิคการต่อสู้ในเวลาเดียวกัน(Aiuchi) ผู้แข่งขันทั้งสองก็จะไม่ได้คะแนน
 
=== คำอธิบายเพิ่มเติม ===
I. การจับตัวคู่ต่อสู้และทุ่มนั้น สามารถทำได้ต่อเมื่อกระทำหลังจากการใช้เทคนิคจู่โจมของคาราเต้ก่อน หรือคู่ต่อสู้
ได้ทำการจู่โจมและพยายามทุ่มหรือจับตัว
 
II. เพื่อความปลอดภัย การทุ่มหรือโยนคู่ต่อสู้ในลักษณะต่อไปนี้ ห้ามกระทำและจะถูกเตือนหรือปรับโทษ การทุ่มหรือโยนคู่ต่อสู้โดยมิได้ยึดเหนี่ยว, อันตราย, หรือแกนการหมุนอยู่เหนือระดับสะโพก แต่มีข้อยกเว้น ในการทุ่มหรือโยนคู่ต่อสู้ที่สามารถใช้ได้คือ เทคนิคการปัดเท้าคาราเต้แบบดั้งเดิม
ซึ่งไม่ต้องมีการจับยึดคู่ต่อสู้ (De Ashi-barai, Ko uchi gari, Kaui waza, etc) การทำคะแนนหลังจากทุ่มหรือโยนคู่ต่อสู้ :
กรรมการผู้ชี้ขาดจะให้เวลาประมาณ 2-3 วินาที หลังจากการทุ่มหรือโยน เพื่อให้โอกาสเข้าทำคะแนน
 
III. การจู่โจมด้วยท่าทางที่ดี (Good Form) หมายถึง การจู่โจมที่มีลักษณะตรงตามบรรทัดฐานของคาราเต้ดั้งเดิม
 
IV. ทัศนคติทางกีฬา (Sport Attitude) หมายถึง การจู่โจมด้วยท่าทางที่ดี และไม่มีความตั้งใจที่ จะปองร้ายหรือมุ่งร้าย
ต่อคู่ต่อสู้ในขณะที่ใช้เทคนิคจู่โจมทำคะแนน
 
V. การใช้พลังและความเร็ว (Vigorous Application) หมายถึง การแสดงให้เห็นถึงพลังและความเร็ว
ในการใช้เทคนิคจู่โจมและแสดงความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นที่ต้องการให้การจู่โจมสำเร็จ
 
VI. การระวังการจู่โจมกลับ Awareness (Zanshin) เป็นบรรทัดฐานหนึ่งที่ไม่ค่อย ได้นำมาประกอบการให้คะแนน
ซึ่งจะเป็นสภาวะต่อเนื่องจากการโจมตี โดยที่นักกีฬาต้องรักษาระดับสมาธิ, การสังเกตคู่ต่อสู้, และการระวัง
ความเป็นไปได้ของการถูกโจมตีกลับจากคู่ต่อสู้ขณะที่ตนเองเข้าทำการจู่โจม เช่น ไม่หันหน้าหนีจากคู่ต่อสู้ ขณะที่ทำการจู่โจมคู่ต่อสู้
 
VII. จังหวะการจู่โจม (Good Timing) หมายถึง ได้ทำการจู่โจมคู่ต่อสู้ ณ ช่วงเวลาที่มีโอกาสมากที่สุด
 
VIII. ระยะการจู่โจม (Correct Distance) หมายถึง การจู่โจมคู่ต่อสู้ในระยะที่เหมาะสม ทำให้การจู่โจม มีประสิทธิผลสูงสุด
หากทำการจู่โจมขณะคู่ต่อสู้กำลังถอยหลังอย่างเร็วนั้น ผลการจู่โจมก็จะลดลง
 
IX. ระยะหยุด (Distancing) หมายถึง เมื่อสิ้นสุดการจู่โจมอวัยวะที่ใช้ในการจู่โจม เช่นการเตะหรือชกใบหน้า ควรหยุดลงเมื่อสัมผัสผิวเป้าหมาย
หรืออาจมีระยะห่างประมาณ 2-3 เซนติเมตรจากเป้าหมายแต่หากเป็น การต่อยแบบ(Jodan Punch)
ซึ่งมีระยะการหยุดที่เหมาะสมและคู่ต่อสู้ไม่ได้แสดงถึงความพยายามที่จะปัด หรือหยุด หรือหลบหลีกใดๆ คะแนนสามารถให้ได้
ทั้งนี้การจู่โจมต้องได้มาตรฐานการจู่โจมในข้ออื่นด้วย
 
X. เทคนิคการจู่โจมที่ไร้ค่า คือการใช้เทคนิคการจู่โจมที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการให้คะแนน จะไม่ได้รับ คะแนน
ไม่ว่าการจู่โจมนั้นจะกระทำในรูปแบบใดหรือถูกเป้าหมายใด เช่น การจู่โจมที่ขาดท่าทางที่ดี หรือขาดพลังและความเร็ว
 
XI. การโจมตีที่ต่ำกว่าสายคาดเอวยังอาจได้คะแนน ถ้าการโจมตีนั้นกระทำบริเวณที่สูงกว่ากระดูกบริเวณหัวเหน่า, คอ
และคอหอยก็เป็นเป้าหนึ่งถ้าผู้แข่งขันสามารถโจมตีไปยังจุดดังกล่าวได้ โดยไม่โดนหรือสัมผัสก็จะได้คะแนน
 
XII. การโจมตีคู่ต่อสู้อย่างสวยงามบริเวณเหนือบ่าอาจทำให้ผู้โจมตีได้คะแนน จุดโจมตีที่จะไม่ได้คะแนนคือตำแหน่ง
บริเวณช่วงต่อระหว่างกระดูกแขนกับหัวไหล่ และกระดูกไหปลาร้า
 
XIII. สัญญาณกระดิ่งดังขึ้นหมายถึงว่าความเป็นไปได้ที่จะทำคะแนนจบลง แม้ว่ากรรมการผู้ชี้ขาดยังไม่ยุติการแข่งโดย ไม่ตั้งใจในทันทีก็ตาม
การที่เวลาหมดไม่ได้หมายความว่าการลงโทษจะไม่สามารถให้ได้ แต่การลงโทษ
ยังสามารถให้ได้จากคณะกรรมการผู้ชี้ขาดจนกว่าจะถึงจุดที่ผู้แข่งขันทั้งสองออกจากพื้นที่การแข่งขัน แต่การให้
โทษก็ยังสามารถให้เกินจากจุดนั้นได้อีกโดยจะได้จากคณะกรรมการควบคุมการตัดสิน
 
XIV. การเข้าโจมตีพร้อมกัน(Aiuchi) จะเป็นไปได้น้อยมาก ไม่เพียงแต่ทั้งสองจะโจมตีพร้อมกันแต่ต้องใช้เทคนิค ทำคะแนนอย่างสมบูรณ์
ทั้งสองเทคนิคอาจจะทำพร้อมกันแต่น้อยมากที่จะมีประสิทธิภาพต่อการทำคะแนน เท่าเทียมกัน หัวข้อที่ 7: หลักการตัดสินผู้ชนะการแข่งขัน
กรรมการผู้ชี้ขาดจะต้องห้ามไม่สั่ง “AIUCHI” ในกรณีที่มีเพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ทำคะแนนได้ที่แท้จริง
 
พฤติกรรมต้องห้ามแบ่งเป็น 2 ประเภท (ที่ทำให้เสียโทษ)
 
ประเภทที่ 1 (CATEGORY 1)
 
1. การจู่โจมซึ่งมีการสัมผัสรุนแรงเกินไป และการจู่โจมที่สัมผัสบริเวณคอหอยคู่ต่อสู้
บรรทัด 431:
3. การจู่โจมที่ ใบหน้า โดยใช้เทคนิค แบมือ
 
4. การทุ่มที่อันตรายและถูกห้ามซึ่งอาจทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ
 
ประเภทที่ 2 (CATEGORY 2)
บรรทัด 443:
4. หลีกเลี่ยงการต่อสู้ เพื่อมิให้คู่ต่อสู้มีโอกาสทำคะแนน
 
5. การจับและพยายามทุ่มคู่ต่อสู้โดยมิได้ใช้เทคนิคการจู่โจมที่แท้จริงก่อน ยกเว้นคู่ต่อสู้พยายามทุ่มก่อน, และเมื่อ
แกนหมุนของการทุ่มอยู่เหนือระดับสะโพก
 
บรรทัด 456:
;การเสียโทษ
 
CHUKOKU(การเตือน)
กรรมการจะเตือนผู้แข่งในกรณีที่เป็นความผิดพลาดครั้งแรกและผิดพลาดเพียงเล็กน้อย
 
KEIKOKU
การลงโทษโดยฝ่ายตรงข้ามได้คะแนน IPPON(1 คะแนน) และเป็นการตักเตือนสำหรับ ความผิดพลาดเล็กน้อย
ซึ่งกรรมการได้ทำการว่ากล่าวตักเตือนไปแล้ว ในยกแข่งขันนี้ หรือกรณีที่ความผิดพลาดดังกล่าวไม่รุนแรงพอที่จะสั่งลงโทษ HANSOKU CHUI ได้
 
HANSOKU-CHUI
การลงโทษโดยที่ฝ่ายตรงข้ามได้คะแนน NIHON (2 คะแนน) และมักเกิดเมื่อ กรรมการได้กล่าวตักเตือนและลงโทษแบบ KEIKOKU
ไปแล้วในการแข่งที่ผ่านมาหรือ สามารถใช้ปรับโทษดังกล่าว โดยขั้นการกระทำผิดที่รุนแรงแต่ไม่ถึงขั้น HANSOKU
 
HANSOKU
การลงโทษในความผิดที่รุนแรงมากหรือเมื่อมีการลงโทษ HANSOKU-CHUI มาก่อน ซึ่งมีผลให้ผู้แข่งขันถูกตัดสิทธิการแข่งขันทันที
ในกรณีแข่งขันประเภททีม ผู้แข่งขันที่ บาดเจ็บจะได้คะแนนเพิ่ม 8 คะแนนบวกด้วยคะแนนของคู่ต่อสู้ ถ้าคะแนนของคู่ต่อสู้ สูงกว่าของตน
 
SHIKKAKU
การลงโทษโดยการตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันตลอดรายการ หรือแค่การแข่งประเภท นั้น
หรือคณะกรรมการตัดสินจะต้องร่วมปรึกษาและกำหนดขอบเขตของ SHIKKAKU การลงโทษ SHIKKAKU ซึ่งมักใช้ลงโทษกรณีผู้แข่งขันมุ่งร้าย,
ไม่เชื่อฟัง กรรมการผู้ชี้ขาด หรือละเมิดกฎการแข่งและทำให้เสียเกียรติของกีฬาคาราเต้ หากเป็น การแข่งประเภททีม ถ้าสมาชิกของทีมได้รับ SHIKKAKU
คู่ต่อสู้จะได้รับคะแนน 8 คะแนน บวกกับคะแนนของผู้กระทำผิดถ้าคะแนนของผู้กระทำผิดสูงกว่าของตน
 
ในการแข่งขันนอกเหนือจากนี้คือ การแข่งขันภายในสมาคม หรือ สำนัก เช่น การแข่งขันชิงชนะเลิศโกจูไก หรือ การแข่งขันโชโตกันชิงชนะเลิศ
และสำนักอื่นๆ ทั้งในระดับประเทศ ทวีป หรือระดับโลก ก็จะใช้กฎการแข่งตามแต่ละสำนักจะตั้งกฎระเบียบการแข่งขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปรัชญาของแต่ละสำนักมากที่สุด ซึ่งบางสำนักยังคงรักษารูปแบบการแข่งแบบโบราณไว้ เช่น ใช้นวมบางอย่างเดียว หรือไม่ใช้นวม
 
บรรทัด 485:
 
มาตรฐานระดับสายคาดเอว สมาคมไทย-ญี่ปุ่น โชโตกันคาราเต้ (ประเทศไทย)
10kyu ขาว
 
9kyu ขาว
 
8kyu ขาว
บรรทัด 505:
1kyu น้ำตาล
 
1-10Dan ดำ
 
มาตรฐานระดับสายคาดเอว สมาคมคาราเต้โดโกจูไก (ประเทศไทย)
 
10kyu ขาวปลายเหลือง
 
9kyu เหลือง
 
8kyu เหลืองปลายเขียว
บรรทัด 529:
1kyu น้ำตาลปลายดำสอง
 
1-10Dan ดำ
ซึ่งในบางสำนักจะใช้ระดับมาตรฐาน(รวมถึงสายของสี) จะใช้ไม่เหมือนกันตามแต่ละสำนัก ถึงแม้นว่าจะสำนักเดียวกัน แต่คนละประเทศก็สามารถแตกต่างกันได้
 
บรรทัด 556:
* [http://karatethai.com/phpBB3/viewforum.php?f=9 เว็บบอร์ด ชมรมคาราเต้จุฬาฯ โชโตกันคาราเต้]
 
[[หมวดหมู่:คาราเต้| คาราเต้]]
[[หมวดหมู่:ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของญี่ปุ่น]]
{{Link FA|de}}