ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสัมพันธ์จีน–ญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ|จีน – ญี่ปุ่น|จีน|ญี่ปุ่น|map=China Japan Locator.png}}
โดยภูมิศาสตร์แล้วจีนและญี่ปุ่นถูกคั่นกลางด้วยพื้นสมุทรแคบ ๆ เท่านั้น แต่อิทธิพลของจีนที่มีต่อญี่ปุ่นนั้นมากมายมหาศาลทั้ง ระบบการเขียนหนังสือ, สถาปัตยกรรม, วัฒนธรรม, ศาสนา, ตัวอักษรและกฎหมาย หลังจากที่ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในแถบเอเชียและบีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศในช่วงกลาง[[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] ญี่ปุ่นก็ได้นำพาตนเองก้าวข้ามเวลาเข้าสู่ความทันสมัย ([[การปฏิรูปเมจิ]]) และมองจีนว่าเป็นชาติโบราณล้าสมัย จากการที่จีนไม่สามารถป้องกันตัวเองจากกองกำลังต่างชาติได้ (จาก[[สงครามฝิ่น]]และคณะทูตอังกฤษ - ฝรั่งเศส) ญี่ปุ่นผูกมัดอยู่กับการรุกรานและก่ออาชญกรรมสงครามต่อจีนอยู่เป็นเวลาในช่วง [[พ.ศ. 2437]] - [[พ.ศ. 2488]] เช่นเดียวกับทัศนคติของญี่ปุ่นที่มีต่อจีนในปัจจุบันเกี่ยวกับความบาดหมางระหว่างกันในอดีต ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลายครั้ง
 
จีนและญี่ปุ่นได้รับความเคารพว่าเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจโลกใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและสามในปี พ.ศ. 2551 ขณะที่การค้าระหว่างประเทศเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนมีมูลค่า 266.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเติบโต 12.5 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2550 ทำให้จีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย นอกจากนี้จีนยังเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2552 อีกด้วย
บรรทัด 11:
== ด้านเศรษฐกิจ ==
จีนและญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันสำคัญต่อกัน ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของจีน ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 10 ปี ส่วนจีนก็เป็นคู่ค้าใหญ่และตลาดสินค้าส่งออกใหญ่อันดับที่ 2 ของญี่ปุ่น
 
== ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ การศึกษา วัฒนธรรมและสาธารณสุข ==
หลังจากความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุซึ่งความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ทั้งลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างจีนและญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคม [[พ.ศ. 2523]] หลังจากนั้น การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสองประเทศได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งได้ขยายตัวกว้างขึ้น จนได้ก่อรูปขึ้นเป็นสภาวะที่มีหลายรูปแบบ หลายแนวทาง ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน