ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ครูครับ เราจะสู้เพื่อฝัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้คำผิด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 27:
นีล เพอร์รี่ ([[โรเบิร์ต ชอน เลโอนาร์ด]]), ทอดด์ แอนเดอร์สัน ([[อีธาน ฮอว์ค]]), น็อกซ์ โอเวอร์สตรีท ([[จอช ชาร์ลส์]]), ชาร์ลี ดาลตัน ([[เกล แฮนเซน]]), ริชาร์ด แคเมรอน ([[ดีแลน คุสแมน]]), สตีเวน มีคส์ ([[อัลเลลอน รัจเจียร์โร]]) และเจราร์ด พิตส์ ([[เจมส์ วอเทอร์สตัน]]) คือนักเรียนชายทั้งเจ็ด ที่เพิ่งได้รับเข้าไปศึกษาในวิทยาลัยเวลตัน โรงเรียนเตรียมที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีรากฐานอยู่บนหลักการสี่ข้อคือ จารีต, เกียรติ, วินัย และความเป็นเลิศ
 
ในวันแรกของการเรียนของพวกเขา พวกเขาต้องเผชิญกับแผนการเรียนที่หนักอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน แต่เมื่อพวกเขาเข้าชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ก็ได้พบกับอาจารย์จอห์น คีทติง ([[โรบิน วิลเลียมส์]]) ที่มีรูปแบบการสอนที่ไม่เหมือนกับอาจารย์คนอื่นๆ ในโรงเรียน อย่างเช่นการอนุญาตให้นักเรียนเรียกเขาว่า "O Captain! My Captain!" (ตามบทกวีของ[[วอล์ม วิทแมน]]ที่พรรณนาเกี่ยวกับ[[อับราฮัม ลิงคอล์น]]) ถ้าพวกเขากล้าพอ นอกจากนี้เขายังทำสิ่งที่อาจารย์คนอื่นไม่เคยทำมาก่อน คือการพานักเรียนออกไปนอกชั้นเรียน เพื่อเรียนรู้ความหมายและแนวคิดของวลี[[ภาษาละติน|ละติน]] "carpe diem" (คาร์เปเดียม" เมื่อแปลความหมายตามบริบทหมายความว่า "ใช้ชีวิตให้เต็มที่") โดยพานักเรียนไปที่ห้องถ้วยรางวัลเพื่อดูรูปศิษย์เก่าของเวลตัน
 
ในคาบต่อมา อ.คีทติงให้นีลอ่านบทนำในตำราเรียนกวีของนักเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็น[[เรียงความ]]ที่ราบเรียบ และไร้สีสันที่มีชื่อว่า "Understanding Poetry" ("เข้าใจในบทกวี") ซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นโดย ดร. เจ อีแวนส์ พริทชาร์ด (ตัวละครสมมติขึ้น) ที่อธิบายว่าคุณภาพของงานกวีนั้นวัดได้โดยใช้หลักเกณฑ์มาพิจารณาเป็นคะแนน ซึ่งคีทติงมองว่าความคิดในการวิจารณ์วรรณกรรมโดยใช้มาตรทางคณิตศาสตร์เป็นความคิดที่เหลวไหล และสนับสนุนให้ลูกศิษย์ของเขาฉีกบทความนั้นออกจากตำราของพวกเขา นักเรียนของเขาลังเลที่จะทำตามในตอนแรก แต่ในที่สุดพวกเขาก็ฉีกเรียงความเหล่านั้นออกจากตำราด้วยความยินดี พร้อมๆ กับคีทติงที่ให้คำชมกับลูกศิษย์ที่ทำเช่นนั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจอย่างไม่เชื่อสายตาให้กับเพื่อนร่วมงานของคีทติงที่บังเอิญไปพบเห็น ในคาบเรียนต่อมา อ.คีทติงก็ให้นักเรียนของเขายืนบนโต๊ะของตัวเอง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าให้มองโลกในมุมมองที่ต่างออกไป อย่างที่เฮนรี เดวิด ตูโรตั้งใจไว้เมื่อเขาเขียนไว้ว่า "จักรวาลนั้นกว้างใหญ่กว่าทัศนคติของเราที่มีต่อมัน" (ในวรรณกรรม Walden ที่ประพันธ์จากการจำศีลในป่าของตูโรเอง)
บรรทัด 39:
ผลจากการฆ่าตัวตายของนีลทำให้อาจารย์ใหญ่ของเวลตัน โนแลนเริ่มการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้ ทำให้นักเรียนทุกคน ยกเว้นทอดด์ สารภาพว่า อ.คีทติงได้สอนอะไรพวกเขาไป แต่ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อทอดด์โดนพ่อของเขาบังคับให้เซ็นชื่อลงไปในใบสารภาพว่าคีทติงเป็นคนผิด โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุให้เด็กๆ ชุบชีวิตชมรมกวีไร้ชีพขึ้นมาอีกครั้ง และถูกไล่ออกแม้ว่าพวกเด็กๆ จะเป็นคนริเริ่มเองก็ตาม
 
ในบทสรุปของภาพยนตร์ เด็กๆ กลับเข้าไปเรียนในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ ที่มีโนแลน เป็นอาจารย์ชั่วคราว สอนแทนคีทติงที่ถูกไล่ออกไปแล้ว เขาให้นักเรียนอ่านเรียงความของพริทชาร์ดที่คีทติงบอกให้นักเรียนของเขาฉีกออกตั้งแต่ต้นเทอม ในขณะที่ชั้นเรียนดำเนินไปอย่างเอื่อยเฉื่อย คีทติงเข้ามาในห้องเพื่อเก็บของส่วนตัวออกไป ก่อนที่เขากำลังจะออกไปจากห้อง ทอดด์ได้กล่าวขอโทษที่ได้เซ็นใบสารภาพไป และบอกว่าที่ทำเช่นนั้น ก็เพราะโดนทางคณาจารย์บังคับ คีทติงจึงตอบไปว่าตนรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว โนแลนเข้าขัดการสนทนาด้วยการสั่งให้ทอดด์นั่งลง และขอให้คีทติงออกไปทันที แต่เมื่อเขากำลังจะเดินออกไป เขาก็ชะงักเมื่อได้ยินทอดด์ตะโกนออกมาว่า "O Captain! My Captain!" แล้วก็ขึ้นมายืนบนโต๊ะ ตามคำที่คีทติงเคยสอนเขาให้มองโลกในมุมที่หลากหลาย
 
เมื่อเห็นเช่นนั้น โนแลนจึงโกรธเกรี้ยว แล้วสั่งทอดด์ให้นั่งลงและขู่ว่าจะไล่เขาออกถ้าเขาไม่ทำตาม แต่กลับมีนักเรียนที่ทำตามทอดด์เพิ่มขึ้นทีละคนๆ แต่ละคนก็เรียกคีทติงว่า "O Captain! My Captain!" ซึ่งแคเมรอนและนักเรียนอีกจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งที่ไม่ทำตาม คีทติงเห็นจากสายตาลูกศิษย์ว่าในที่สุดสิ่งที่เขาต้องการสอนผ่านวรรณกรรมและบทกวี ได้เข้าไปอยู่ในใจของลูกศิษย์แล้ว คีทติงจึงกล่าวขอบคุณกับนักเรียนของเขาทั้งน้ำตา แล้วจึงเดินออกจากห้องไปเพื่อไม่ให้นักเรียนต้องเดือดร้อน
 
== คำวิจารณ์และผลตอบรับ ==
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการวิจารณ์ในแง่บวก โดยนักวิจารณ์ชมว่าเนื้อเรื่องสามารถสื่อความหมายได้อย่างมีชีวิตชีวา และความลึกของตัวละครหลายๆ ตัว รวมถึงความสามารถในการแสดงของโรบิน วิลเลียมส์ แต่ก็มีคำวิจารณ์ในแง่ลบที่กล่าวว่าตอนจบของเรื่องนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่จะมีคนทำสิ่งที่แหกกฎเกณฑ์อย่างพร้อมเพรียงเป็นใจเดียวกันอย่างนี้ และชีวิตจริงควรจะเป็นอีกแบบหนึ่งที่ไม่มีใครกล้าพอที่จะแหกกฎเกณฑ์ ซึ่งจะให้ตอนจบที่เย็นชา แต่เหมือนจริงมากกว่า
<!--
โดน[[โรเจอร์ เอเบิร์ต]]ถึงกับกล่าวว่า "พอหนังจบแล้วเลี่ยนจนอยากจะอาเจียน"<ref>{{cite web
| url = http://rogerebert.suntimes.com/apps/pbcs.dll/article?AID=/19890609/REVIEWS/906090301/1023
| title = Dead Poets Society