ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช้างเผือก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KKoolstra (คุย | ส่วนร่วม)
-interwiki nl: incorrect
บรรทัด 6:
จากความเชื่อใน[[พระพุทธศาสนา]] [[ช้าง]]เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นมงคลแห่งการบำเพ็ญบารมีและความศักดิ์สิทธิ์ ดังปรากฏใน[[ชาดก]]เกี่ยวกับ[[พระโพธิสัตว์]] ซึ่งเป็นอดีตชาติของ[[พระสัมมาสัมพุทธเจ้า]] พระองค์เคยเสวยพระชาติเป็นพระยาช้างที่ทรงบำเพ็ญบารมี เช่น พระยาฉัททันต์และพระยาช้างปัจจัยนาเคนทร์<ref>[http://www.ounamilit.com/b29_chang.htm ช้างปัจจัยนาเคนทร์]</ref> ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการบำเพ็ญบารมีใน[[พระเวสสันดรชาดก]] และพระยาเศวตมงคลหัตถี หรือพระยามงคลนาคใน[[ทุมเมธชาดก]] และตาม[[พระพุทธประวัติ]] เมื่อ[[พระนางสิริมหามายา]]ทรงพระครรภ์ ก็ทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกนำ[[ดอกบัว]]มาถวาย อันเป็นนิมิตว่าผู้มีบุญญาธิการเพียบพร้อมด้วยบารมี ได้มาอุบัติเป็นมนุษย์สู่พระครรภ์มารดาทางพระนาภีเบื้องขวาในรูปของช้างเผือก ช้างเผือกจึงเป็นที่นับถือว่าเป็นสัตว์มงคลที่สำคัญประเภทหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา โดยจะพบว่าสัญลักษณ์ใน[[มงคล 108]] ปรากฏในรอย[[พระพุทธบาท]]นั้นมีรูปช้างมงคล 2 ช้าง
 
จะเห็นได้ว่า ช้างนั้นได้รับความสนใจศึกษาลักษณะได้อย่างละเอียด มีการแบ่งช้างออกตามลักษณะดีและลักษณะ[[อัปมงคล]] ดังปรากฏในตำรา[[คชลักษณ์]] ช้างที่มีลักษณะมงคลนั้นก็จะถูกคัดเลือกออกมาเฉพาะนำมาน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นช้างต้น เพื่อเป็นราชพาหนะแห่งองค์[[พระมหากษัตริย์]] ช้างที่มีลักษณะเป็นมงคลซึ่งเป็นที่ปรารถนาอย่างยิ่งแต่โบราณ คือ ช้างเผือก หรือช้างสำคัญ ซึ่งเมื่อพบแล้วจะถูกนำน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระมหากษัตริย์เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีรับและขึ้นระวางสมโภชเป็นพระยาช้างต่อไป แต่เดิมคำว่าช้างต้นจะหมายถึงช้างหลวงของพระมหากษัตริ์ยกษัตริย์ ทั้งช้างเผือกและช้างทรงที่เป็นราชพาหนะ โดยตั้งแต่[[รัชกาลที่ 4]] เป็นต้นมา ช้างต้นจะหมายถึงช้างเผือกเป็นสำคัญ
 
จากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำริเห็นความสำคัญของช้างเผือกจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาดาราตราช้างเผือกขึ้น ใน [[พ.ศ. 2404]] เพื่อพระราชทานแก่ ผู้มี[[ยศ]]ต่างๆ ในราชอาณาจักรโดยให้ทำเป็นดาราทองคำ มีรูปช้างเผือกสลักตรงกลาง เหนือขึ้นไปเป็นพระมหามงกุฏมีทั้งดาราที่มีเครื่องสูงประดับและไม่มีเครื่องสูงประดับ และถ้าพระราชทานชาวต่างประเทศที่มีความดีความชอบ ดาราก็จะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น คือ มีรูปเสาธงอยู่บนหลังช้าง