ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขบวนการอาเจะฮ์เสรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EleferenBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: ru:Свободный Ачех
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 6:
 
== สงครามกองโจร ==
ในช่วงแรก สงครามกองโจรของขบวนการอาเจะห์เสรีไม่ประสบความสำเร็จและถูกรัฐบาลควบคุมได้ใน พ.ศ. 2520<ref>Schulze,K , 2003 The Free Aceh Movement (GAM): Anatomy of a Separatist Organization, East West Centre, Washington</ref> ต่อมา กลุ่มได้มีการปรับองค์กรใหม่เมื่อราว พ.ศ. 2523 โดยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากลิเบียและอิหร่าน แต่เนื่องจากกิจกรรมของกลุ่มไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง การดำเนินงานของกลุ่มเป็นเหตุให้รัฐบาลซูฮาร์โตส่งทหารเข้ามาปราบปรามอย่างรุนแรงจนเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอาเจะห์
 
ใน พ.ศ. 2539 รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศว่ากิจกรรมของขบวนการอาเจะห์เสรีในอาเจะห์สิ้นสุดลงแล้วแต่การปราบปรามอย่างรุนแรงยังคงดำเนินต่อไป พ.ศ. 2542 มีการประกาศถอนกำลังทหารออกจากอาเจะห์แต่ปรากฏว่ายังมีกองทหารราว 35,000 คนในอาเจะห์ในสมัยรัฐบาลของนาง[[เมกาวตี ซูการ์โนบุตรี]]เมื่อ พ.ศ. 2545 คาดการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตจากความขัดแย้งนี้ถึง 15,000 คน
 
== การเจรจาสันติภาพ ==
บรรทัด 15:
ความเสียหายที่เกิดขึ้นเนืองจากเหตุการณ์คลื่น[[สึนามิ]]เมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ทำให้ขบวนการอาเจะห์เสรีประกาศสงบศึกเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และยอมรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอินโดนีเซีย หลังจากนั้นได้มีการประชุมเจรจาสันติภาพระหว่างกันเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 <ref>Billon, P, Waizenegger,''Peace in the wake of disaster? Secessionist conflicts and the 2004 Indian Ocean tsunami''Blackwell Publishing A </ref>ที่ประเทศฟินแลนด์และมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 โดยรัฐบาลอินโดนีเซียยอมถอนกำลังทหารและตำรวจที่ไม่ใช่ของท้องถิ่นออกไปภายในสิ้นปี พ.ศ. 2548 และนิโทษกรรมให้สมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรีราว 500 คนที่ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ และปล่อยสมาชิกอีกราว 1,400 คนที่ถูกฝ่ายรัฐบาลคุมขัง ยอมให้มีการตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่นขึ้นในอาเจะห์ ต่อมา 27 ธันวาคม พ.ศ. 2548.<ref>http://www.unpo.org/news_detail.php?arg=05&par=3418 {{ลิงก์เสีย}}</ref> ผู้นำของขบวนการอาเจะห์เสรีประกาศยกเลิกกองกำลังติดอาวุธ โดยประกาศจะเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมเพื่อสร้างสันติภาพ<ref>http://abcnews.go.com/International/wireStory?id=1445520 {{ลิงก์เสีย}}</ref>
 
ในการเลือกตั้งเมื่อ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ขบวนการอาเจะห์เสรี แตกออกเป็นสองส่วน และต่างส่งผู้สมัครของตนเองลงรับเลือกตั้ง ทั้งนี้ อิรวันดี ยูซุฟที่เคยเป็นผู้เจรจาของขบวนการอาเจะห์เสรีได้รับการเลือกตั้ง
 
== อ้างอิง ==