ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การ์ตูนล้อการเมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Makecat-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: he:איור עיתונות
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 2:
{{มุมมองสากล}}
[[ไฟล์:ภาพล้อฝีพระหัตถ์-บุรฉัตรไชยากร.jpg|thumb|200px|ภาพการ์ตูนล้อ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน]] ขณะเป็นกรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย|กรมรถไฟหลวง]] ฝีพระหัตถ์โดย [[รัชกาลที่ 6]] ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนล้อการเมืองภาพแรก ๆ ของไทย]]
'''การ์ตูนล้อการเมือง''' ({{lang-en|Political Cartoon}}) หรือ '''การ์ตูนบรรณาธิการ''' ({{lang-en|Editorial Cartoon}}) คือ ภาพ[[การ์ตูน]]ที่วาดและตีพิมพ์ลงสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น [[หนังสือพิมพ์]], [[นิตยสาร]] โดยมีเนื้อหาล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์สภาพ[[สังคม]], [[เศรษฐกิจ]]และ[[การเมือง]] จุดประสงค์เพื่อความสนุกสนานและความ[[ตลก|ขบขัน]] ในบางครั้งอาจสอดแทรกถึงวิธีการแก้ปัญหานั้น ๆ จะมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ โดยนักวาดการ์ตูนล้อการเมืองนั้น ถือว่า เป็นคอลัมนิสต์หรือบรรณาธิการคนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ๆ เรียกว่า [[นักเขียนการ์ตูน|การ์ตูนนิสต์]] (Cartoonist)
 
การ์ตูนล้อการเมือง เกิดขึ้นครั้งแรกใน[[โลก]] ที่[[ประเทศอังกฤษ]] โดย[[ชาวอังกฤษ]] ชื่อ เจมส์ กิลล์เรย์ ([[ค.ศ. 1757]]-[[ค.ศ. 1815]]) ได้เขียนภาพล้อเลียนพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศอังกฤษ ที่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ศีลธรรมของชนชั้นสูง และการทำงานของรัฐบาล ทำให้ประชาชนคลายความเครียดจากภาวะสงครามในขณะนั้น
 
สำหรับใน[[ประเทศไทย]] การ์ตูนล้อการเมืองเริ่มขึ้นมาพร้อม ๆ กับวิวัฒนาการ[[การ์ตูน|การ์ตูนในประเทศไทย]] ยิ่งโดยเฉพาะในยุค[[รัชกาลที่ 6]] ที่สื่อสิ่งพิมพ์และ[[ประชาธิปไตย]]เฟื่องฟู ในยุคนี้มีการ์ตูนล้อการเมืองเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
 
การ์ตูนนิสต์การเมืองคนแรกของไทยคือ [[ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต]] (เปล่ง ไตรปิ่น) ซึ่งมีโอกาสเดินทางไปศึกษาวิชาศิลปะการวาดภาพที่[[ยุโรป]] ได้นำเทคนิคจากต่างประเทศ วาดภาพการ์ตูนเป็นลายเส้น ได้รับรางวัลการประกวดภาพล้อจากรัชกาลที่ 6 โดยการเขียนการ์ตูนล้อเลียนนักการเมืองสำคัญ ๆ ในยุคนั้น
 
นอกจากนี้แล้ว[[ชาวญี่ปุ่น]]ที่ชื่อ ไอ เคียว คาวา ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองไทยสนับสนุนให้ นักเขียนการ์ตูน วาดภาพการ์ตูนลงใน หนังสือพิมพ์ยาโมโต จวบจนสมัย[[รัชกาลที่ 7]] การ์ตูนเริ่มซบเซาเนื่องจากเกิด[[สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย|สงครามโลกครั้งที่สอง]] เกิดปัญหาการขาดแคลนกระดาษพิมพ์
 
จนกระทั่งยุค[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]] ในปี [[พ.ศ. 2475]] วงการการ์ตูนเริ่มฟื้นฟูขึ้นพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การ์ตูนนิสต์วาดภาพล้อเลียนจนเกินขอบเขต ทำให้มี[[กฎหมาย]]ของ[[คณะราษฎร]]ออกมาควบคุม
 
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง [[ประยูร จรรยาวงศ์]] ได้วาดภาพการ์ตูนที่มีตัวแสดงชื่อ ''"ศุขเล็ก"'' ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เขียนการ์ตูนขำขันและการ์ตูนล้อการเมือง ได้รับรางวัลจากการประกวดการ์ตูนสันติภาพโลก เมื่อ ปี [[พ.ศ. 2503]] ที่[[นิวยอร์ก]] ชื่อภาพ ''[[การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย]]'' (The Last Nuclear Test) และได้รับ[[รางวัลแมกไซไซ]] ที่[[ประเทศฟิลิปปินส์]]
[[ไฟล์:ทุ่งหมาเมิน.jpg|thumb|300px|right|การ์ตูนล้อการเมือง ในคอลัมน์''[[ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน]]'' โดย [[ชัย ราชวัตร]] ที่นับว่าเป็นการ์ตูนนิสต์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของไทยในยุคปัจจุบัน]]
ยุคทองของการ์ตูนล้อการเมืองไทย เริ่มต้นหลัง[[เหตุการณ์ 14 ตุลา|เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516]] เมื่อมีหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้นใหม่อีกหลายฉบับ ทำให้มีการ์ตูนนิสต์การเมืองที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นอีกหลายคน เช่น [[ชัย ราชวัตร]] กับคอลัมน์[[ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน]] ใน[[ไทยรัฐ]], หมื่น (ชูชาติ หมื่นอินกุล) ใน[[เดลินิวส์]], อรุณ วัชระสวัสดิ์ ใน[[กรุงเทพธุรกิจ]]และ[[เดอะ เนชั่น (ประเทศไทย)|The Nation]], [[เซีย ไทยรัฐ]] ในไทยรัฐ, [[จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์|อู้ดด้า]] เป็นต้น