ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 29:
| seats2 = 55
| seat_change2 = {{increase}} 16
| popular_vote2 =
| percentage2 =
 
บรรทัด 40:
}}
 
'''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512''' นับเป็น '''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย เป็นครั้งที่ 11''' มีขึ้นในวันที่ [[10 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2512]]
 
สืบเนื่องมาจากการที่[[จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ได้กระทำ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501|การรัฐประหารขึ้น]]ในวันที่ [[20 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2501]] ได้ประกาศให้[[รัฐธรรมนูญ]], [[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]]และ[[พรรคการเมือง]]ต่าง ๆ เป็นอันสิ้นสุดลง และได้ตั้ง[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]ขึ้นเมื่อวันที่ [[3 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2502]] โดยมี นาย[[ทวี บุณยเกตุ]] เป็นประธาน สภาร่างรัฐธรรมนูญใช้เวลาในการร่างรัฐธรรมนูญจนแล้วเสร็จและนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 ในยุคที่มี จอมพล[[ถนอม กิตติขจร]] เป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] และได้มีรัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 นอกจากนั้น ยังได้มีการประกาศใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน พ.ศ. 2511 จากนั้นรัฐบาลได้ประกาศกำหนดวันจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นไปตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 180 ซึ่งกำหนดให้ต้องมีการเลือกตั้งขึ้นภายใน 240 วัน
 
จากนั้นได้มีการจดทะเบียนก่อตั้งพรรคการเมืองต่าง ๆ ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยมีพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ [[พรรคสหประชาไทย]] และ[[พรรคประชาธิปัตย์]] การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งที่มีผู้คนตื่นตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยว่างเว้นการเลือกตั้งมาอย่างยาวนานถึง 11 ปีเต็มด้วยกัน
 
ซึ่งมีผู้สมัครลงเลือกตั้งเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] (ส.ส.) ทั้งหมด 1,522 คน จากทั้งหมด 12 พรรคการเมือง และไม่สังกัดพรรคการเมืองใด โดยที่มีจำนวน ส.ส.ได้ทั้งหมด 219 คน
 
ผลการเลือกตั้ง พรรคสหประชาไทย ที่มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค และพลอากาศเอก[[ทวี จุลละทรัพย์]] เป็นเลขาธิการพรรค ได้รับเลือกมาเป็นที่หนึ่ง โดยได้ ส.ส.ทั้งหมด 75 คน ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ที่มี [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] เป็นหัวหน้าพรรค ได้ ส.ส.ทั้งหมด 55 คน แต่การเลือกตั้งในเขต[[กรุงเทพมหานคร]] คือ [[จังหวัดพระนคร]]และ[[จังหวัดธนบุรี]] พรรคประชาธิปัตย์สามารถได้ ส.ส.ทั้งหมด เป็นจำนวน 21 คน<ref>[http://www.democrat.or.th/th/about/history/ ประวัติพรรคประชาธิปัตย์]</ref> ทำให้เป็นแกนหลักในการเป็นพรรค[[ฝ่ายค้าน]] ขณะที่ผู้สมัครจากพรรคอื่นและผู้สมัครอิสระรวมกันเป็น ส.ส.ทั้งหมด 72 คน
บรรทัด 54:
อนึ่ง การเลือกตั้งในครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองของ[[นักการเมือง]]หน้าใหม่หลายคนในขณะนั้น ซึ่งต่อมากลายเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญทางการเมืองในเวลาต่อมา เช่น นาย[[ชวน หลีกภัย]] ส.ส.จาก[[จังหวัดตรัง]], นาย[[พิชัย รัตตกุล]], นาย[[ดำรง ลัทธพิพัฒน์]] ส.ส.จากจังหวัดพระนคร และนาย[[อุทัย พิมพ์ใจชน]] ส.ส.จาก[[จังหวัดชลบุรี]] เป็นต้น<ref>หน้า 122, ''กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554'' โดย [[ชาญวิทย์ เกษตรศิริ]] ISBN 978-974-228-070-3</ref> <ref>[[โคทม อารียา]], ''สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่องที่ 5 ระบบการเลือกตั้ง'', กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2544</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==
*[[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 10]]
*[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514]]
*[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{การเลือกตั้งส.ส.ในไทย}}