ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2553"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
ลบภาพ "Conservatives.png", ซึ่งถูกลบที่คอมมอนส์โดย INeverCry เพราะ Per commons:Commons:Deletion requests/File:Conservatives.png
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 5:
| ongoing = ไม่
| previous_election = การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2548
| previous_year = พ.ศ. 2548
| next_election =
| next_year =
บรรทัด 56:
}}
 
'''การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2553''' จัดขึ้นเมื่อวันที่ [[6 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2553]] แม้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคอนุรักษนิยมจะได้รับที่นั่งในสภาสามัญชนมากที่สุด แต่ไม่สามารถได้ที่นั่งมากกว่า 325 ที่นั่งเพื่อที่จะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ [[พ.ศ. 2517]] และครั้งที่สองนับตั้งแต่สิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ที่รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรไม่สามารถมีรัฐบาลเสียงข้างมากได้ จึงเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย พรรครัฐบาลเดิมอย่าง[[พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)|พรรคแรงงาน]]สูญเสียที่นั่งในสภาถึง 90 ที่นั่ง และจากการทำผลสำรวจพรรคแรงงานได้คะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคอนุรักษนิยมถึง 2 ล้านเสียง มีคะแนนเสียงเป็นลำดับที่สอง ส่วนพรรคเสรีประชาธิปไตยตามมาเป็นลำดับที่สาม สูญเสียที่นั่งในสภาไป 5 ที่นั่ง ซึ่งไม่ตรงตามผลการสำรวจของหลายสำนักก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าพรคคเสรีประชาธิปไตยจะได้รับที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามพรรคเสรีประชาธิปไตยก็ยังได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดนับตั้งแต่การก่อตั้งพรรคในปี [[พ.ศ. 2531]] และมีโอกาสที่จะเป็นพรรคร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่ง 4 วันหลังจากการเลือกตั้งที่นาย[[กอร์ดอน บราวน์]]ประกาศว่า "จะก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานในเดือนกันยายน"
 
ในการเลือกตั้งครั้งนี้แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่าน ๆ มาในหลายกรณี เช่น พรรคกรีนได้รับที่นั่งใน[[สภาสามัญชน]]เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกับพรรคสหพันธ์, ร้อยละ 35 ของคะแนนเสียงลงให้กับพรรคย่อยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พรรคคู่แข่งหลักอย่างพรรคแรงงานและพรรคอนุรักษนิยม, มีผู้ออกมาลงคะแนนเสียงมากที่สุดนับตั้งแต่การเลือกตั้งในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2461, เป็นครั้งแรกที่ทั้งสามพรรคหลักลงแข่งขันโดยที่ผู้นำของพรรคทั้งสามไม่เคยนำการหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้ามาเลยสักครั้งนับตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2522]] และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดให้มีการโต้วาทีกันทางโทรทัศน์ของผู้นำจากทั้งสามพรรค
 
== พื้นเพ ==
วันที่ [[6 เมษายน]] นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร นาย[[กอร์ดอน บราวน์]] ได้เข้าเฝ้า[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 2]] ใน[[พระราชวังบัคคิงแฮม]]เพื่อขอพระบรมราชโองการยุบสภาในวันที่ [[12 เมษายน]] หลังจากพิจารณามาเป็นเวลานาน และจัดงานแถลงข่าวยืนยันที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีในดาวนิงสตรีทว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ [[6 พฤษภาคม]] 5 ปีหลังจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้าในปี [[พ.ศ. 2548]] ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีเขตเลือกตั้งทั้งหมด 649 เขตในสหราชอาณาจักร ภายใต้ระบบผู้สมัครที่มีคะแนนเสียงสูงสุดจะเป็นสมาชิกสภาสามัญชนของแต่ละเขต การลงคะแนนเสียงในเขตเติร์สก์และมอลตันถูกยกเลิกเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากการเสียชีวิตของหนึ่งในผู้สมัคร นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีอุปสรรคในการลงคะแนนในเวลาเกือบ 22.00 นาฬิกา เนื่องจากเวลาในการลงคะแนนใกล้จะหมดลง เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งมีไม่เพียงพอ และการเข้าแถวรอลงคะแนนที่ยาวเหยียด อีกทั้งบัตรลงคะแนนส่งมาล่าช้าและไม่เพียงพอ
 
การหาเสียงของพรรครัฐบาลอย่างพรรคแรงงานในการเลือกตั้งครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อรักษาการเป็นรัฐบาลของตนในสภา ที่ดำรงตำแหน่งมาติดต่อกันเป็นสมัยที่ 4 และเพื่อฟื้นฟูคะแนนนิยมของตนที่ตกต่ำมาตลอดตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2540]] ส่วนพรรคอนุรักษนิยมก็ตั้งเป้าที่จะช่วงชิงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองของสหราชอาณาจักรหลังพ้ายแพ้ในการเลือกตั้งมาโดยตลอดตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2543 อีกทั้งยังตั้งเป้าที่จะช่วงชิงการเป็นพรรครัฐบาลมาจากพรรคแรงงาน ส่วนพรรคเสรีประชาธิปไตยหวังที่จะช่วงชิงที่นั่งในสภามาจากทั้งพรรคแรงงานและพรรคอนุรักษนิยม นอกจากนี้ยังหวังว่าจะเป็นพรรคที่ถ่วงอำนาจระหว่างพรรคใหญ่ทั้งสองในสภาสามัญชน นับตั้งแต่การโต้ว่าทีทางโทรทัศน์ของผู้นำจากทั้งสามพรรคนักวิเคราะห์จำนวนมากก็ได้ทำการทำนายระดับคะแนนความนิยมหลังการโต้วาที ผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่พรรคเสรีประชาธิปไตยจะได้ที่นั่งข้างมากในสภาและจัดตั้งรัฐบาล แต่ผลการวิเคราะห์หนึ่งวันก่อนวันเลือกตั้งชี้ว่าคะแนนความนิยมแกว่งจากพรรคเสรีประชาธิปไตยไปยังทั้งสองพรรคใหญ่จำนวนเล็กน้อย ซึ่งผลการสำรวจครั้งหลังสุดมีตัวเลขดังนี้
*พรรคอนุรักษนิยม - 36%
*พรรคแรงงาน - 28%
บรรทัด 89:
== ผลการเลือกตั้ง ==
 
ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง มีผู้ลงสมัครจำนวนมากทั้งผู้สมัครอิสระและผู้สมัครจากพรรคการเมือง โดยพรรคใหญ่ที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปมีทั้งสิ้น 3 พรรค ได้แก่
* พรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party)
* [[พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)|พรรคแรงงาน]] (Labour Party)
* พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrats)
 
ในสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร มีที่นั่งทั้งหมด 650 ที่นั่ง โดยแต่ละที่นั่งจะเป็นของผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดของแต่ละเขตพื้นที่ คล้ายการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทย ซึ่งพรรคและผู้สมัครที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภามีดังนี้
บรรทัด 124:
|-
| - || จอห์น เบอร์โคว์ <br> โฆษกสภาสามัญชน || [[ไฟล์:House of Commons logo.PNG|80px]] || [[จอห์น เบอร์โคว์]] || 1 || 0.15 || 22,860 || 0.08
|-
| colspan = "8"|'''หมายเหตุ''' จอห์น เบอร์โคว์ ในความเป็นจริงแล้วได้มีที่นั่งในสภาในฐานะสมาชิกสภาจากพรรคอนุรักษนิยม พรรคจึงมีสมาชิกในสภาจำนวน 307 คน แต่โดยธรรมเนียมปฏิบัติ โฆษกสภาจะไม่เข้าข้างพรรคใด ในการแจกแจงตารางพรรคการเมืองจึงไม่ควรนับรวมโฆษกเข้าในพรรค จึงแยกนายจอห์นออกจากสมาชิกพรรคอนุรักษนิยมอีก 306 คน
|}