ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การุณ เก่งระดมยิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยน หมวดหมู่:ผู้จัดรายการ วิทยุไทย → หมวดหมู่:นักจัดรายการวิทยุ ด้วยสจห.
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 2:
'''พันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง''' ([[11 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2461]] - [[18 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2547]]) อดีตสมาชิก[[ขบวนการเสรีไทย]] อดีตโฆษกรายการโทรทัศน์และวิทยุ เช่น รายการป๊อบท็อป รายการยี่สิบคำถาม และเป็นผู้ก่อตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงทหารสื่อสารและโทรทัศน์ไทย ซึ่งกลายเป็น[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5]] ในปัจจุบัน
 
== ประวัติ ==
การุณ เก่งระดมยิง เป็นบุตรของพลโท[[หลวงกาจสงคราม]] กับคุณหญิงฟองสมุทร เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2461 เป็นบุตรชายคนเดียวในจำนวนพี่น้อง 7 คน สมรสกับนาง[[ชื่นสุข โลจายะ]] มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน
 
การุณ เก่งระดมยิง ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] และ[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] แล้วเข้าศึกษาใน[[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ก่อนไปศึกษาแผนกวิศวกรรม [[มหาวิทยาลัยไมอามี่]] [[สหรัฐอเมริกา]]
 
ในระหว่าง[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]] พันเอก (พิเศษ) การุณได้เข้าร่วม[[ขบวนการเสรีไทย]] โดยเป็นเสรีไทยสายอเมริกันรุ่นแรก รหัส "เคน" กระทั่งสงครามสิ้นสุด รัฐบาลสหรัฐได้มอบเหรียญกล้าหาญเป็นเกียรติประวัติ
 
การุณ เก่งระดมยิง ได้รับทุนรัฐบาล ไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมเครื่องยนต์ มีความชำนาญพิเศษด้านเทคนิคต่างๆ และด้านวิทยุโทรทัศน์ แล้วกลับมารับราชการทหารที่[[กระทรวงกลาโหม]] กระทั่ง[[กองทัพบก]]ได้มอบหมายให้ร.อ.การุณ (ยศขณะนั้น) เป็นผู้จัดตั้งสถานีวิทยุ จส.ของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งเป็นสถานีวิทยุกองทัพบกแห่งแรก ติดตั้งเครื่องส่ง ดูแลการออกอากาศ และเป็นโฆษกออกอากาศ ด้วยการเปิดเพลง และอ่านข่าว ต่อมามีการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบก แบบขาวดำ และพันเอก (พิเศษ) การุณได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกระบบ และนำระบบโทรทัศน์สี เข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
บรรทัด 13:
ในปี พ.ศ. 2507 พ.อ.การุณ ได้มีโอกาสเป็นพิธีกรสัมภาษณ์ [[อาภัสรา หงสกุล]] เมื่อครั้งที่อาภัสราเดินทางกลับประเทศไทย หลังจากที่ได้รับมงกุฎ[[นางงามจักรวาล]] ต่อมาในปี 2509 พ.อ.การุณ ได้เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์มากมายเช่น "ป๊อบท็อป" "บันไดดารา" "ขายหัวเราะ" "ช่องนำโชค" "ยี่สิบคำถาม" ฯลฯ
 
ต่อมา พ.อ.การุณ ได้เปิดสอนการทำรายการโทรทัศน์ ได้ปั้นพิธีกรขึ้นมามากมาย เช่น [[ดำรง พุฒตาล]] [[ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ]] และ [[วิชิต แสงทอง]]
 
พันเอก (พิเศษ) การุณ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อคืนวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต ที่ [[โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า]] ด้วยวัย 86 ปี
 
== อ้างอิง ==
*http://www.sarakadee.com/feature/2001/12/free_thai.htm
*http://www.bbznet.com/scripts2/view.php?user=slum&board=1&id=9&c=1&order=numtopic
บรรทัด 25:
*http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=176673
 
{{เกิดปี|2461}}
{{ตายปี|2547}}
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]