ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โยงหน้าให้ถูกต้อง
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 7:
ในการรณรงค์ขับนี้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นหลาย ๆ กลุ่ม ในเรื่องกระบวนการและประเด็นในการขับ ส่วนในกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึง[[กลุ่มคาราวานคนจน]] และขบวนรถอีแต๋นเดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็ได้รวมตัวชุมนุมเพื่อสนับสนุนให้นายทักษิณ ชินวัตรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยปักหลักอยู่ที่[[สวนจตุจักร]] และตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย
 
ผลจาก[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2549|การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549]] ที่อดีตพรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ได้แก่ [[พรรคประชาธิปัตย์]] [[พรรคมหาชน]]และ[[พรรคชาติไทย]]ไม่ได้ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ปรากฏว่า[[พรรคไทยรักไทย]] ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค ยังคงได้รับคะแนนเสียงข้างมาก (56.45% ในผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ{{อ้างอิง}}) แต่ในหลายพื้นที่ได้เกิดปรากฏการณ์ "ไม่เอาทักษิณ" ด้วยการที่ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย แต่ในท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถูก[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]พิพากษาให้เป็นโมฆะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ [[15 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
 
ในวันเสาร์ที่ [[2 กันยายน]] พ.ศ. 2549 ได้มีกลุ่มเครือข่ายแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และอาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ล่าชื่อกว่า 92 คน ปลุกกระแส "ต้านทักษิณ" และออกแถลงการณ์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ยุติบทบาทจากการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทันที ซึ่งในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง ที่[[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เป็นการรวมตัวกันครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของแกนนำเครือข่ายการต่อต้าน
 
การประท้วงขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันที่ [[19 กันยายน]] พ.ศ. 2549 หลังจาก[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|การก่อรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] นำโดย พล.อ. [[สนธิ บุญยรัตกลิน]] ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] และเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน
บรรทัด 18:
** หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ
** โกงกินชาติบ้านเมือง
* การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะ[[การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย]] และ[[การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]]
** สำหรับกรณีของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เช่น เรื่องการกระจายหุ้นที่ไม่เป็นธรรม ราคาขายหุ้นที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐที่ลดลงมาก การถือหุ้นผ่านกองทุนของต่างชาติ กำไรจากการขายก๊าซให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในราคาสูง
** การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้น มีคำสั่งจาก[[ศาลปกครอง]]ว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย<ref>[http://www.admincourt.go.th/images/attach/20060323_egat.pdf คำสั่งศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาฯ]</ref>
บรรทัด 25:
* การใช้อำนาจรัฐแทรกแซงและคุกคามสื่อ
* ประเด็นที่กลุ่มเครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณใช้อ้างเป็นเหตุผลในการขับ<ref>[http://www.StopThaksin.com เว็บไซต์ของกลุ่มเครือข่ายฯ]</ref>
** ผลประโยชน์ทับซ้อน
** ทำผิดจริยธรรม
** รวยเพราะผูกขาดกีดกัน
** เอฟทีเอแลกผลประโยชน์
** สถานการณ์[[ความไม่สงบสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้]]
** แปรรูปผิด ไม่รับผิด
** นโยบายการค้าเสรีกับต่างประเทศ
 
บรรทัด 37:
[[ไฟล์:Khonpanfa.jpg|thumb|กลุ่มคนผ่านฟ้า เว็บไซต์ผู้สนับสนุนและให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการการเลือกตั้ง]]
 
กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม นำโดยกลุ่มคาราวานคนจนเพื่อประชาธิปไตย ที่เคลื่อนพลโดยรถอีแต๋นและเดินเท้ามาจากหลายจังหวัด โดยเฉพาะ[[ภาคเหนือ]]และ[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] มาปักหลักที่บริเวณ[[สวนจตุจักร]] โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งเป็นไปตามระบอบ[[ประชาธิปไตย]] ในวันที่ [[2 เมษายน]] [[พ.ศ. 2549]] ซึ่งได้มีการสมทบกับ ร.ต.[[ฉลาด วรฉัตร]] นักเคลื่อนไหวที่มีชื่อเสียงเรื่องการอดอาหารประท้วงในครั้งนี้ด้วย ร.ต. ฉลาด วรฉัตร กล่าวว่าจะทำการแขวนคอตายหากไม่มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนเกิดขึ้น{{อ้างอิง}}
 
กลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ และกลุ่มอื่น ๆ ที่สนับสนุนแนวทางการดำเนินการทางการเมือง ตามแบบที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กระทำไป มีหลายกลุ่มเช่นกัน เช่น กลุ่มผู้มาให้กำลังใจมอบดอกกุหลาบแดงให้ในหลายวาระ รวมทั้งการรวมพลปราศรัยครั้งใหญ่ที่สนามหลวงในวันที่ [[24 มีนาคม]] พ.ศ. 2549
 
กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น
บรรทัด 60:
* ฯลฯ
 
นอกจากนี้ได้มีบางส่วนของกลุ่มคาราวานคนจนมาปิดล้อมสำนักงาน[[หนังสือพิมพ์คมชัดลึก]] ในเครือ[[เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป]] เนื่องจากกล่าวหาว่ามีการตีพิมพ์ข่าวไม่เหมาะสม เกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งหมิ่นเบื้องสูง โดยอ้างอิงถึงคลิปวิดีโอการให้สัมภาษณ์<ref>[http://www.bangkapi.com คลิปวิดีโอ]</ref> จากการออกมาปฏิเสธของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก จึงทำให้เหตุการณ์บานปลายออกไปจนถึงขั้นมีเหตุการณ์ชุลมุน และมีการสันนิษฐานว่ากลุ่มเดียวกันนี้ เป็นขบวนรถมอเตอร์ไซด์หลายร้อยคันไปชุมนุมที่[[บ้านพระอาทิตย์]] สำนักงาน[[หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ]]ในวันเดียวกัน แต่การชุลมุนก็จบลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด
 
สำหรับผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของกลุ่มต่าง ๆ เห็นพ้องว่า การที่มีการชุมนุมขนาดใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งยาวนานต่อเนื่องกลางกรุงเทพมหานครนั้น เป็นการสร้างปัญหาขึ้นมากมาย เช่น [[ปัญหาจราจร]]ทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุให้เศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศหยุดชะงัก และเศรษฐกิจภายในประเทศพังทลาย
บรรทัด 71:
การวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน และการทุจริตในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เริ่มขยายสู่วงกว้างขึ้น ตั้งแต่กลางปี [[พ.ศ. 2548]] เมื่อ[[รายการเมืองไทยรายสัปดาห์]] ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยนาย[[สนธิ ลิ้มทองกุล]] เริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอความเห็นในเชิงสนับสนุนรัฐบาลมาตลอด จุดเปลี่ยนของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ อยู่ที่การออกอากาศในคืนวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เมื่อนายสนธิได้อ่านบทความเรื่อง ''[[ลูกแกะหลงทาง]]''{{อ้างอิง}} บทความซึ่งมีผู้โพสต์เข้าไปเข้าไปในเว็บไซต์ผู้จัดการ ออกอากาศทางโทรทัศน์ ส่งผลให้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถูกถอดออกจากผังรายการอย่างกะทันหัน โดยนาย[[ธงทอง จันทรางศุ]] บอร์ด อสมท. ให้เหตุผลว่าเป็นการจาบจ้วงสถาบัน <ref> http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9480000136574 อ้างอิงเว็บไซต์ผู้จัดการ </ref> ทั้งที่เนื้อหาใน[http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000123149 บทความเรื่องลูกแกะหลงทาง]นั้น มีเนื้อหายกย่องพระมหากษัตริย์ที่เปรียบเหมือนพ่อว่าเป็นผู้ที่เสียสละความสุขส่วนตัว และสอนหรือเตือนให้ลูกหลานชาวไทยในสิ่งที่ดีงาม แต่มีบางคนที่ไม่เชื่อฟังพ่อ (หรือพระมหากษัตริย์) ว่าคนเช่นนี้เปรียบเหมือนแกะดำหรือลูกแกะที่หลงทาง
 
โดยการกระทำเช่นนี้ นับว่าเป็นการคุกคามสื่อ เพราะพอไม่พอใจในสิ่งที่สื่อนำเสนอก็สั่งให้ปลดออกจากการออกอากาศ และเป็นการแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในการปลดรายการว่าจาบจ้วงสถาบันฯ ทั้งที่ๆความจริงเนื้อความดังกล่าวเป็นการยกย่องสถาบันพระมหากษัตริย์ และพูดถึงบางคนที่ไม่ฟังคำเตือนที่ปรารถนาดีของกษัตริย์ว่าเป็นลูกแกะหลงทางเท่านั้น โดยมิได้ระบุถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การปลดรายการดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในลักษณะที่ร้อนตัวหรือกินปูนร้อนท้องของฝ่ายที่กระทำการดังกล่าว
 
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ จึงปรับรูปแบบเป็นรายการ[[เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร]] จัดขึ้นนอกสถานที่ ทุกเย็นวันศุกร์ ที่หอประชุมศรีบูรพา [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] โดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม[[เอเอสทีวี]] และสื่ออื่น ๆ ในเครือผู้จัดการ ต่อมาเมื่อมีผู้ชมรายการมากขึ้นจึงขยับขยายมาจัดที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และย้ายไปจัดที่อาคารลีลาศ [[สวนลุมพินี]]
 
หลังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 14 ในคืนวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2549 มีการเปิดตัวผู้สนับสนุนคือ [[ประทิน สันติประภพ|พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ]] [[ประสงค์ สุ่นศิริ|นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ]] รวมไปถึง[[สมาชิกวุฒิสภา]]และ[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]หลายท่าน มีการเดินเท้าเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจากสวนลุมพินีมาที่[[ทำเนียบรัฐบาล]] โดยไม่มีการปิดล้อม ก่อนสลายตัวกลับ แต่ยังมีผู้ชุมนุมบางส่วนยังชุมนุมต่อและถูกใช้กำลังสลายตัวในเช้าวันรุ่งขึ้น<ref> http://www.thaipost.net/index.asp?bk=sunday&post_date=15/Jan/2549&news_id=118686&cat_id=110200 อ้างอิงเว็บไซต์ไทยโพสต์ </ref> เหตุการณ์นี้เป็นเหตุให้รัฐบาลเริ่มเพ่งเล็งและมีมาตรการเด็ดขาดขึ้น
 
[[ไฟล์:Sonti 4th feb.jpg|thumb|200px|left|[[สนธิ ลิ้มทองกุล|นายสนธิ ลิ้มทองกุล]] ขณะอ่านฎีกาทูลเกล้าฯ ในการชุมนุมวันที่ [[4 กุมภาพันธ์]] โดยมี [[สโรชา พรอุดมศักดิ์|น.ส.สโรชา พรอุมศักดิ์]] ยืนอยู่ข้างหลัง]]
บรรทัด 118:
ครั้งหนึ่งของการเดินทางช่วยผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยหาเสียงของรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร บริเวณ[[ซอยละลายทรัพย์]] [[ถนนสีลม]] ได้มีปรากฏการณ์[[การต่อต้านทางสังคม]]เกิดขึ้น โดยมีกลุ่มแม่ค้าในพื้นที่ อาทิ เจ๊ไก่ ออกมาตะโกนขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ และกลุ่มผู้ติดตาม ด้วยวลีที่ใช้ในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่ประชาธิปไตย<ref>[http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9490000042570/ เว็บไซต์ผู้จัดการ]</ref>
 
กิจกรรมการต่อต้านระบอบทักษิณ ยังรวมไปถึงการรณรงค์เรื่อง[[อหิงสา]]และ[[การดื้อแพ่ง|อารยะขัดขืน]] และนำไปสู่รูปแบบการต่อต้านในภาคประชาชน ในการเลือกตั้งที่กลุ่มผู้ต่อต้านอ้างว่า "ไม่ชอบธรรม" เริ่มต้นจากการรณรงค์ให้ไม่มี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2549]] ต่อมาเป็นการให้ออกมาเลือกตั้งแต่กาในช่อง "ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร" การกาด้วยปากกาแดง นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวจากปัจเจกชน เช่น การฉีกบัตรลงคะแนน ที่นำโดย [[ไชยันต์ ไชยพร|รศ. ดร. ไชยันต์ ไชยพร]] ซึ่ง[[แก้วสรร อติโพธิ|นายแก้วสรร อติโพธิ]]ได้กล่าวว่าการฉีกบัตรลงคะแนนเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือการกรีดเลือดที่ปลายนิ้วเพื่อกาบัตรลงคะแนนโดยนาย[[ยศศักดิ์ โกศัยกานนท์]] อาจารย์[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต]]
 
ส่วนในกรณี นพ. เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา อาจารย์[[คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] [[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์|วิทยาเขตหาดใหญ่]] แกนนำ[[กลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ กู้ประชาธิปไตย จังหวัดสงขลา]] และชาวบ้านอีก 6 คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีกระทำความผิดฐานทำลายบัตรเลือกตั้งและทำให้เสียทรัพย์ กรณีฉีกบัตรเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2549 ศาลได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นแล้ว และได้มี[[คำพิพากษายกฟ้อง]] โดยระบุว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีที่[[จังหวัดตรัง]] ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก [[อำเภอกันตัง]] จังหวัดตรัง เมื่อปี 2548 และหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] จำเลยในคดีฉีกบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 ใบ ทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ<ref>[http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0105240549&show=1&sectionid=0101&day=2006/05/24/ อ้างอิงข่าวมติชน], มติชน, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2549</ref>
 
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ จากหลายกลุ่มองค์กร เช่น{{อ้างอิง}}
* กิจกรรมต่อต้านทางสังคม ที่เสนอโดย[[เครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ]]
* กิจกรรมสัมมนา เวทีอภิปรายในสถานศึกษา หรือถ่ายทอดทางสถานีวิทยุ 92.25, 97.75 และเอเอสทีวี
บรรทัด 260:
* [[สมศักดิ์ โกศัยสุข]]
* [[เสนาะ เทียนทอง]]
* [[ประมวล รุจนเสรี]]
* [[อภิชาติ หาลำเจียก]]
* [[อภิชาติ ดำดี]]
บรรทัด 276:
 
=== ศิลปินเพลง ===
* [[คาราวาน (วงดนตรี)|คาราวาน]]
* [[พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ]]
* [[พงษ์สิทธิ์ คำภีร์]]
* [[แฮมเมอร์]]
* [[มาลีฮวนน่า]]
บรรทัด 350:
รวมวิดีโอการปราศรัยที่[[ท้องสนามหลวง]] จากเว็บ[[หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ]]
* [http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9490000040413 รวมคลิปเสียงการปราศรัย วันที่ 20 มีนาคม 2549]
* [http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9490000040435 รวมคลิปวิดีโอการปราศรัย วันที่ 24 มีนาคม 2549]
* [http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9490000040703 รวมคลิปวิดีโอการปราศรัย วันที่ 25 มีนาคม 2549]
* [http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9490000040695 ปราศรัยโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง และ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]